วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พุทธแท้ 2

....

                                                           พุทธแท้ 2
                                  
ปัญหาธรรมข้อที่45   พระผู้หมดกิเลสแล้วสามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้หรือไม่
เหตุการณ์เพิ่มเติมที่จะเกิดขึ้นของประเทศไทยจากวิกฤตการเมืองของนายกทักษิณ  (28 ก.พ.49 )
                 เคยเข้ามาดูในเวปหลายครั้งก็ไม่มีการอัพเดท  แต่ได้เข้ามาดูในวันที่ 23 กพ. 49 พอดี ได้อ่านเรื่องที่คุณกล่าวถึงความเป็นไปของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นก็ทำให้รู้สึกหดหู่ใจ ได้อ่านเพียงวันเดียวเท่านั้นวันต่อมา(24 ก.พ. 49) นายกทักษิณก็ประกาศยุบสภา แต่การประท้วงในวันที่  26 (26 ก.พ. 49) ก็ไม่ยอมยุติ การประท้วงครั้งนี้มีอะไรแปลกๆ คือมีผู้ปฎิบัติธรรมและพระเข้าร่วมด้วย ก่อนหน้านั้นก็มีพระมาพูดกล่าวว่าคุณทักษิณไม่ดี
                 จึงอยากจะถามคุณเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปของประเทศไทย เพราะการกล่าวที่ผ่านมาของคุณในข้อที่ 44 นั้นคุณกล่าวเพียงพอสังเขปเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วลึกๆ คงมีอะไรอีก อยากให้คุณเล่าให้ละเอียดกว่านี้ 
                ขอถามเพิ่มเติมว่าพระผู้หมดกิเลสแล้วสามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้หรือไม่ พระควรหรือไม่ที่มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง หากพระทำเฉยๆ ก็เหมือนไม่รักชาติ แต่หากพระมายุ่งกับการเมืองมันเป็นการสมควรหรือไม่ จึงอยากจะถามว่าตามสภาวธรรมนั้นผู้มีจิตพ้นอย่างพระอรหันต์นั้นจะวางตัวอย่างไรตามสภาวะของพระอรหันต์
                ได้อ่านในข้อที่ 44 แล้วไม่เข้าใจที่คุณกล่าวเกี่ยวกับเรื่องทุกอย่างเกิดเพราะผู้ค้ายาเสพติดอย่างไร จึงอยากให้คุณอธิบายให้กระจ่าง
                ที่ถามมาทั้งหมด คิดว่าคุณน่าจะตอบได้ เพราะเห็นว่าคุณไม่มีอะไรต้องกลัว เพราะไม่มีใครรู้ว่าคุณคือใคร ไม่มีใครรู้ว่าอาจารย์ของคุณคือใคร จึงไม่น่าจะมีอะไรที่ต้องวิตกหรือกลัวอะไร จึงอยากให้คุณเล่าถึงความจริงแท้ๆอย่างกระจ่างได้หรือไม่                
ตอบ  
                รู้สึกลำบากใจเหมือนกันที่จะกล่าวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป เพราะ
1. รู้ว่าถึงกล่าวไปอย่างไรมันก็ต้องเกิดขึ้น
2. มันเป็นการย้อนกลับของการกระทำในอดีต

                เหตุใดจึงกล่าวเช่นนี้...คือ
ที่ได้กล่าวว่า  "อย่างไรมันก็ต้องเกิดขึ้น" และ "มันเป็นการย้อนกลับของการกระทำในอดีต" นั้น เพราะว่าในอดีตได้กระทำไปแล้ว(ตามที่ได้อธิบายใน " ปัญหาธรรมข้อที่ 44 " ) และผลก็กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งนี้เป็นเรื่องสามัญที่สุด เมื่อเหตุเกิด ผลก็ต้องเกิด
                 ขอกล่าวสั้นๆอีกครั้งว่า ในอดีตนั้นเราได้แย่งชิงบ้านเมืองของผู้อื่นมา การแย่งชิงบ้านเมืองของผู้อื่นนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรอยู่แล้ว แต่นี้เราได้แย่งชิงบ้านเมืองจากบุคคลที่มีบุญคุณนั้นยิงเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง 
                ซึ่งตามหลักธรรมนั้น ผู้ใดกระทำให้ผู้มีบุญคุณต้องเสียใจ ผู้นั้นย่อมจะไม่ได้รับความเจริญ กระทำการใดย่อมมีแต่อุปสรรค
                ลูกที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ  ทำสิ่งใดย่อมมีแต่อุปสรรค เพราะพ่อแม่นั้นเป็นผู้มีบุญคุณต่อลูกเป็นอย่างมาก แค่เถียงท่านก็ทำให้ชีวิตมีแต่อุปสรรคแล้ว 
                ่ในอดีตนั้นเราได้กระทำการมากกว่าการเถียงผู้มีบุญคุณ ในอดีตนั้นเราได้เข่นฆ่าผู้มีบุญคุณอย่างทารุณเพื่อแย่งแผ่นดินของเขา ..... นี้คือเหตุที่ได้กระทำไว้....และผลก็กำลังจะเกิดขึ้น...
                ขอย้ำว่า...ยาก..มันยากมากๆ...ที่จะหลีกเลี่ยงมันได้ 
ที่ถามว่าพระอรหันต์เข้ามายุ่งกับการเมืองได้ไหม 
                ขอตอบว่า ไม่ได้....  และไม่มีทางเป็นได้ เพราะสภาวะจิตของท่านไม่เกี่ยวเนื่องด้วยอะไรแล้ว การที่จะทำเช่นนี้เป็นไปไม่ได้เลย หากเป็นพระอรหันต์จริงๆ ย่อมเข้าใจในวาระของเหตุและผล เมื่อรู้ว่าเหตุเป็นเช่นไร ผลย่อมเป็นเช่นนั้น 
                พระอรหันต์ ย่อมรู้เหตุและปัจจัยของสิ่งต่างๆ ว่า สิ่งนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น มันเกิดจากเหตุจากปัจจัยที่ได้กระทำลงไปแล้ว ผลย่อมเป็นเช่นไร
                พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่อด้วยเหตุสิบประการ สอนถึงว่าอย่าได้เชื่อแก่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ สอนให้อย่าได้เชื่อแม้แต่พระพุทธเจ้า (ผู้เป็นอาจารย์ของพระสงค์ในขณะนั้น) พระพุทธเจ้าเคยถามพระสารีบุตรว่า พระสารีบุตรเชื่อพระองค์หรือไม่ พระสารีบุตรได้ตอบว่าไม่เชื่อ แต่ได้ปฎิบัติเมื่อเป็นจริงจึงเชื่อ  ที่บอกว่าอย่าได้เชื่อนั้นหมายถึงอย่าได้เชื่ออย่างงมงายตามที่มีผู้กล่าวอ้าง 
                อย่าได้เชื่อที่มีคำกล่าวอ้างว่าใครเป็นอะไรทั้งสิ้น จงใช้ปัญญา ดูเหตุและผลให้ดี .... ตัวอย่างจากที่เห็นในการประท้วง เห็นพระเข้าประท้วง ... ดูแค่นี้ก็รู้ว่ายังมีทิฐิอยู่ ยังมีกิเลสอยู่ ผู้มีกิเลสย่อมไม่เข้าใจในเหตุปัจจัยของมัน ....
                ผู้ที่รู้เหตุปัจจัยยอมวางตัวถูก ย่อมรู้ว่าจะวางตัวอย่างไร
                เอาเกลือใส่ในน้ำดื่ม เมื่อดื่มย่อมรู้สึกเค็มเป็นธรรมดา

                ชายคนหนึ่งเคยไปทำผิดไว้ วันต่อมาถูกตำรวจจับมันก็มีเหตุปัจจัยของมัน เราควรเข้าไปช่วยชายคนนั้นหรือไม่
                หากเป็นพระอรหันต์จริงๆ ย่อมรู้ว่าที่บ้านเมืองเป็นเช่นนี้เพราะอะไร การจะเข้ามายุ่งเกี่ยวนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะรู้ถึงที่มาที่ไปของมัน
                อยากจะขอกล่าวว่าจงใช้ปัญญาให้มากอย่างมง่ายในตัวบุคคล อย่างมงายในพระสงฆ์ที่กล่าวอ้าง จงใช้สติปัญญาให้มาก ที่กล่าวเช่นนี้เพราะวันข้างหน้ายังจะมีอะไรที่เกี่ยวกับพระสงค์อีกมากที่จะเกิดขึ้น และขอเตือนไว ณ. ที่นี้ว่าอย่าได้หลงผิดเข้าไปงมงายกับเขา เพราะต่อไปจะมีสงฆ์ออกมาอ้างความถูกต้อง ออกมาอ้างธรรมต่างๆ และจะมีพวกเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก และจะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงค์เอง ขอเตือนว่าอย่าได้เชื่อคำกล่าวต่างๆในหลักธรรมที่มีทิฐิของสงฆ์ผู้นั้น เพราะถ้าเป็นหลักธรรมที่แท้ย่อมไม่กระทำการเช่นนั้น ขออย่าได้ไปเชื่อ
                ที่เตือนเรื่องสงฆ์นี้เพราะเห็นว่าเป็นกรรมหลัก ถ้าได้กระทำลงไปนั้นย่อมได้รับกรรมแน่ กรรมที่ทำให้สงค์แตกแยก มีกรรมเท่ากับการฆ่าพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า..จงอย่าได้เชื่อผู้ที่กล่าวอ้างในหลักธรรม ที่นำสู่ความแตกแยก จงใช้ปัญญาให้มาก เมื่อเห็นว่านำไปสู่ความแตกแยกจงหยุดซะ
                ที่ได้เตือนเพราะเห็นว่ามันกำลังจะเกิดขึ้น และเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นแน่นอน จึงได้เตือนผู้เข้ามาเยี่ยมชมเวปว่า อย่าได้กระทำกรรมหนักนี้
               *การที่กล่าวว่าเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากพ่อค้ายาเสพรายใหญ่นั้นมันเป็นเช่นนั้นจริง แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถกล่าวได้ตรงนี้ มูลค่ายาเสพติดนั้นมีมูลค่ามหาศาล
                วันนี้ทุกคนยังมองไม่ออกว่ามันเกี่ยวกันอย่างไร แต่ในอนาคตทุกอย่างจะเด่นชัดขึ้น และจะเข้าใจเรื่องนี้เอง
              อยากจะให้ทุกคนสามัคคีกัน จะทำอะไรให้นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็มีพระชนพรรษามากแล้ว ...80 แล้ว เราเป็นคนไทยทำอะไรก็ให้นึกถึงพ่อ เราคนไทยมีพ่อคนเดียวกัน ถ้าคิดได้อย่างนี้ก็จะสามัคคี
             วันนี้มีผู้กล่าวอ้างว่าทำเพื่อในหลวง แต่วันข้างหน้าบุคคลผู้นี้จะทำความลำบากให้แก่คนทั้งประเทศและพ่อหลวงของคนไทย 

               อยากจะให้ยุติการประท้วง เพราะการกระทำเช่นนี้ เข้าเกมของบุคคลหนึ่ง และบุคคลผู้นี้รอโอกาสที่จะเข้าแทรกแซงอยู่ทุกขณะ
               ถ้าไม่หยุดการกระทำเช่นนี้ผลที่ตามมาจะเป็นดังนี้ .... ผู้แทรกแซงจะฉวยโอกาสนี้ยึดอำนาจการปกครองที่เราภูมิใจ ... และหากวันนั้นมาถึง จะเป็นวันที่คนไทยทั้งประเทศต้องตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนคนไทยจะตกอยู่ในความเสียใจ ตกอยู่ในยากลำบาก เงินบาทจะตกต่ำอย่างมาก คนไทยจะเป็นคนที่น่าสงสาร  พ่อหลวงของคนไทยต้องลำบากไปด้วย ... ข้าพเจ้าไม่อยากให้เหตุการณ์ที่ท่านพระอาจารย์ได้กล่าวไว้เกิดขึ้น  ถึงแม้ท่านพระอาจารย์จะสอนว่า "มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน" เนื่องด้วยข้าพเจ้าเป็นคนไทยผู้หนึ่งที่รักและเคารพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพเป็นอย่างมาก จึงไม่ต้องการให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง เพราะถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงคงเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อสองพระองค์ที่ข้าพเจ้าเคารพรักเป็นแน่แท้
               ข้าพเจ้าอยากกล่าวมากกว่านี้ แต่ก็กล่าวไม่ได้มาก ที่ทำได้คือ ได้แค่เตือน อยากให้ทุกคนระมัดระวังในการใช้จ่าย ระวังตลาดหุ้นให้มาก ถ้าทำได้หยุดเล่นหุ้นซะ เงินที่มีเอาไปซื้อทองเก็บไว้จะดีกว่า และหากคิดจะเปลี่ยนที่อยู่ ให้เลือกภาคเหนือถ้าเป็นภาคอีสานก็พอได้ ถ้าจะให้ระบุจังหวัด จังหวัดที่ควรเลือกเป็นอันดับหนึ่งควรเป็นจัง
หวัดลำพูน 
                ถึงแม้ข้าพเจ้าจะรู้ว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นมันไม่ทำอะไรให้ดีขึ้นได้เลย แต่ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไปแล้ว เพียงเพื่อให้คนดีได้เตรียมรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า คนที่เชื่อจงเตรียมตัวรับมือให้ดี คนไม่เชื่อนั้นก็เป็นไปตามกรรมของเขา คนมีกรรมนั้นย่อมตามืดตามัว คนตาบอดมองไม่เห็นแสงเช่นไร ผู้มีกรรมย่อมมองไม่เห็นแสงสว่างเช่นนั้น ถึงแม้ดวงอาทิตย์จะอยู่แค่ปลายจมูกคนตาบอดก็ย่อมมองไม่เห็นแสง ผู้มีทิฐิในคำสอนของบางครูบาอาจารย์ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ทำให้ตาของตนบอดด้วยทิฐิของตนเอง พระพุทธเจ้าสอนว่า จงอย่าเชื่อเพราะน่าศรัทธา จงอย่าเชื่อเพราะมีคนเชื่ออยู่แล้ว จงอย่าเชื่อเพราะผู้นั้นเป็นคนเชื่อถือได้
                 ปัจจุบันนี้ผู้มีกรรมมองเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด จะบอกจะกล่าวเช่นไรก็ไม่ฟัง ทิฐิแรงอย่างมาก คงต้องให้ประเทศชาติเสียหายซะก่อนจึงจะรู้ค่าของสิ่งที่มีอยู่ 

                อย่าได้คิดว่าข้าพเจ้ากล่าวเพราะเข้าข้างใคร แต่ที่กล่าวมาเพราะรู้เหตุปัจจัยจากท่านพระอาจารย์ได้กล่าวให้ฟังในครั้งที่ข้าพเจ้าได้บวช เรื่องของนายกทักษิณนั้นท่านพระอาจารย์ได้กล่าวไว้นานแล้ว กล่าวไว้ก่อนตัวท่านทักษิณจะเป็นนายกเสียอีก ข้าพเจ้ายอมรับว่าหากข้าพเจ้าไม่เคยได้ฟังเรื่องต่างๆ ที่พระอาจารย์ได้กล่าวไว้ ข้าพเจ้าก็คงมีใจเชื่อผู้นำกลุ่มการประท้วงเหมือนกับคนอื่นๆ เพราะเห็นว่ามันเป็นเช่นนี้จึงต้องการให้ผู้ปฎิบัติธรรมเข้าใจเหตุปัจจัยของมัน เพื่อปฏิบัติตนในฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันข้อมูลที่เติมแต่งเพื่อมุ่งหวังทำลายผู้อื่นโดยไม่เคารพกติกาของบ้านเมืองนั้นมีผู้คนจำนวนมากเชื่อ ... นี้ละนะ...เป็นจริงอย่างที่ท่านพระอาจารย์กล่าวไว้ว่า..จะมีอยู่กาลหนึ่งผู้คนจะเห็นดีเป็นผิด จะเห็นผิดเป็นชอบ...วันนั้นจะทำให้เกิดความวุ่นวาย คนไทยจะเป็นคนที่น่าสงสาร..บอกสิ่งดีให้ก็ไม่เห็นดี
                สิ่งที่ข้าพเจ้ายังคงห่วงอยู่นั้นก็ยังคงเหมือนเดิม นั้นคือกลัวท่านนายกทักษิณจะถูกลอบสังหาร เพราะผู้แทรกแซงคนนี้จะทำทุกวิธีทางเพื่อกำจัดผู้ขวางทางผลประโยชน์ของเขา
 ขอจบเพียงเท่านี้ (28 ก.พ.48)



ปัญหาธรรมข้อที่ 46  
.            เหตุใดการกล่าวว่า   ธรรมคืออัตตา”              จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
             เหตุใดการกล่าวว่า   “ธรรมคืออนัตตา”            จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
            เหตุใดการกล่าวว่า   “ธรรมคือความว่าง”          จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
            เหตุใดการกล่าวว่า   “ธรรมคือสูญญตา”           จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
           เหตุใดการกล่าวว่า   “ธรรมคือความเป็นหนึ่ง”    จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง  


          ตามที่ท่านได้เขียนไว้ในเวปพุทธแท้( www.reocities.com/buddhatatum )ของท่านว่าธรรมนั้นไม่ใช่ทั้งอัตตาและอนัตตา แต่ธรรมนั้นคือสภาวะที่พ้นอัตตาและอนัตตาไปแล้ว”     ขอรบกวนช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยว่าผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วเข้าใจว่าตนเองเห็นธรรม แล้วนำไปสอนผู้อื่นแบบผิดว่าเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา เป็นความมีอยู่ เป็นความไม่มีอยู่ เป็นความว่าง ผู้ที่เข้าใจผิดว่าสิ่งดังกล่าวเป็นธรรมนั้นเหตุใดพวกเขาเหล่านั้นจึงเข้าใจผิดเช่นนั้น ช่วยอธิบายให้ด้วย หากท่านมีเวลาช่วยอธิบายในกรณีอื่นที่ผู้ปฏิบัติเข้าไปหลงผิดให้ด้วย เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ปฏิบัติมือใหม่จะได้ไม่เข้าไปเดินหลงทางในครูที่สอนผิด ขอให้นำเนื้อหาลงเวปด้วย ขอช่วยตอบแบบตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ขอให้ธรรมเป็นธรรม ไม่เพื่อใครหรือกลุ่มใคร
              ด้วยความเขารบในธรรมของท่านและอาจารย์ของท่าน        
ตอบ
          ตกลงครับจะตอบธรรมเป็นธรรม แต่อาจจะผิดใจใครบ้าง ก็ถือว่าข้าพเจ้าตอบธรรมตามธรรมที่เป็น หากใครรู้สึกขัดใจ หรือ ไม่ขัดใจ ก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลของแต่ละคน เกิดมาชาตินี้ ทำบุญกุศลมามาก ก็จะทำให้เลือกทางเดินที่ถูกต้องได้ หากกรรมยังบังตาแล้วละก็ ถึงจะมีพระพุทธเจ้ามาอยู่เบื้องหน้า ก็ไม่ใส่ใจ ไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า  เปรียบดังกามนิตผู้ซึ่งนอนในห้องเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ไม่สนใจที่สนทนากับพระองค์  ทั้งที่ตนเองก็ปรารถนาที่จะฟังธรรมของพระพุทธองค์  แต่ไม่ให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ใกล้ตัว เลยไม่รู้ว่าพระองค์ได้อยู่ใกล้ตนมากกว่าที่ตนคิด ในใจอยากจะพบพระพุทธเจ้า แต่เมื่อพระพุทธเจ้ามาอยู่ตรงหน้าก็ไม่รู้จัก ยังจะออกไปแสวงหาข้างนอก สุดท้ายจนตายก็ไม่ได้พบพระองค์  แต่จริงๆแล้วเคยใกล้ชิดพระองค์มากกว่าใคร แต่กรรมบัง และมีทิฏฐิแรงกล้าในความเชื่อของตนเองว่าพระพุทธเจ้าต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ของจริงอยู่ต่อหน้ายังไม่รู้ 
          มนุษย์นั้นมีทั้งสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบในทางที่ถูก)  และมิจฉาทิฏฐิ (ความงมงายด้วยการยึดถือความเห็นที่ผิด)
สัมมาทิฏฐินั้นพระพุทธเจ้าได้นำมาสอนโลกแล้ว  แต่ปัจจุบันก็ยังมีมิจฉาทิฏฐิอยู่ เนื่องจากผู้ปฏิบัติธรรมแล้วไปติดใน “สัสสตทิฏฐิ” (ความเห็นว่าเที่ยง) และ “อุจเฉททิฏฐิ” (ความเห็นว่าขาดสูญ) ซึ่งทิฏฐิทั้งสองนี้ในปัจจุบันมีมากซะเหลือเกิน ผู้ที่ติดในทิฏฐิที่หลงผิดทั้งสองนี้เมื่อเข้าไปติดก็ถอนไม่ขึ้น หลงไปว่าสิ่งที่ตนเห็นนั้นคือธรรม คือนิพพาน แล้วนำไปสอนผู้อื่นให้หลงตามๆกันไป   
          ทิฏฐิทั้งสองต่างฝ่ายก็เข้าใจมาตนคือธรรมที่ถูกต้อง ต่างฝ่ายก็กล่าวหาว่าอีกฝ่ายสอนผิด สองฝ่ายกล่าวหากันอย่างรุ่นแรง ต่างก็ยกเหตุผล ยกหัวข้อธรรมในคัมภีร์มาเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้ตนเองถูกและเพื่อให้อีกฝ่ายนั้นผิด แต่จริงๆแล้วทั้งสองฝ่ายไม่เคยถอยออกมาดูตนเองเลยว่า ตนเองนั้นสอนถูกจริงหรือเปล่า ครูอาจารย์ของตนสอนถูกหรือเปล่า ทั้งสองฝ่ายมีความศรัทธาในครูอาจารย์จนไม่ลืมหูลืมตา ใครพูดอะไรก็ไม่ฟัง จนในที่สุดก็ไม่มีใครกล้าจะพูดความจริง จนปัจจุบันตนเองก็ยังเชื่อในสิ่งที่ผิดว่าเป็นสิ่งที่ถูก
อยากจะขอกล่าวก่อนว่าผู้ที่จะอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ควรเปิดใจเป็นอย่างมาก หากมีครูอาจารย์ที่ตนศรัทธาอย่างแรงกล้าอยู่แล้ว ขอให้เอาความศรัทธานั้นว่างไว้ก่อนที่จะอ่าน เพราะสิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้อาจจะขัดกับคำสอนของครูอาจารย์ท่านได้  ขอกล่าวก่อนว่า หากทำไม่ได้กรุณาอย่าอ่าน เพราะอาจทำให้ท่านไม่พอใจในตัวข้าพเจ้าผู้ซึ่งเป็นผู้เขียน แต่หากอ่านแล้วรู้สึกไม่ขัดกับคำสอนของครูอาจารย์ของท่าน ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาในบุญกุศลที่ท่านมี ทำให้ได้พบครูอาจารย์ที่ดีไว้ใน ณ.ที่นี้ด้วย
ขออธิบายดังนี้
          ในสภาวะธรรมชาตินั้นมีการ   เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป สภาวะนี้เป็นสภาวะพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เล็กที่สุด หรือสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ก็อยู่ในสภาวะนี้  มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดาสามัญที่สุด
          เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นผู้ที่เข้าไปเห็นว่ามันตั้งอยู่ ผู้นั้นยอมเห็นว่าธรรมตั้งหลายทั้งมวลมีตัวมีตนเพราะเป็นสภาพคงอยู่ เป็นความสุข เห็นอารมณ์ เห็นนิพพาน เห็นพระพุทธเจ้า เห็นอยู่อย่างนั้น ก็เข้าใจเอาเองว่าสภาวธรรมที่แท้นั้นเป็นของเที่ยง เห็นนิพพานเป็นของเที่ยง เมื่อเข้าใจเช่นนั้น ก็นำไปสอนผู้อื่นว่านิพพานเป็นของเที่ยง นิพพานนั้นมีจริง เพราะเห็นมาแล้วว่านิพพานเป็นสถานที่ สัมผัสได้ นิพพานเป็นเมือง นิพพานเป็นความสุขยิ่ง นิพพานคือความสะอาด สว่าง สงบ
          นิพพานของพวกเขาเหล่านี้เป็นอะไรที่จับต้องได้ทั้งนั้น นิพพานเป็นเมืองที่เห็นได้  เป็นความสุขที่สัมผัสได้ด้วยใจ  แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังเป็นตัวเป็นตนในเมืองนิพพาน พระพุทธเจ้าเป็นตัวเป็นตนพูดคุยกันได้ ถามธรรมได้    นี้คือลักษณะของผู้ที่จิตไปติดกับการตั้งอยู่ของสภาวะสามัญที่ได้กล่าวไว้
          พวกเขาเหล่านี้จึงกล่าวว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลเป็น อัตตา  
          สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วเข้าไปเห็นสภาวะของ “การดับ”  เมื่อเห็นแล้วก็เข้าไปติดในสภาวะของการดับนี้ ก็เข้าใจเอาเองว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลนั้นไม่เที่ยง ธรรมเป็นสภาวะขาดสูญ สิ่งที่เล็กที่สุดหรือใหญ่ที่สุดก็ไม่เที่ยง มันขาดสูญทั้งสิ้น แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ต้นไม้  ดวงอาทิตย์  จักรวาล เชื้อโรค ไวรัส อารมณ์ ความคิด รัก  ไม่รัก สุข ทุกข์ เฉย  และทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้ทนอยู่ได้ ดวงอาทิตย์ก็ดับ จักรวาลก็ดับ ภูเขาก็ดับ อารมณ์ก็ดับ พระพุทธเจ้าก็ดับ นิพพานก็นับ ไม่มีอะไรคงอยู่ได้ถาวร ทุกสิ่งย่อมดับสลาย
           ผู้ที่เข้าไปติดใน “การดับ” ของสภาวะสามัญย่อมกล่าวว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลนั้นไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งมวลนั้นขาดสูญ เพราะเข้าไปเห็นทุกสิ่งทุกอย่างคงอยู่ไม่ได้
          พวกเขาเหล่านั้นจึงกล่าวว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลนั้นเป็น อนัตตา  
          อยากจะขอกล่าวว่า มีผู้ที่ปฏิบัติผิดทางมากมายมองสุดสายตาออกไปก็เห็นแต่ผู้ปฏิบัติผิด พวกเขาเหล่านั้นครั้งที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นผู้ปรารถนาในนิพพาน ครั้งมีชีวิตอยู่ก็ติดในสองสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น “สัสสตทิฏฐิ” หรือ “อุจเฉททิฏฐิ” ถ้าเรารู้ ถ้าเราเห็น เราจะตกใจว่ามีมากขนาดนี้เลยหรือ ถ้าเห็นแล้วจะต้องตกใจเป็นแน่เพราะสุดสายตาก็มีแต่ผ้าเหลืองที่ติดในสองสิ่งนี้ ถึงกับตกใจว่าพระที่ติดในสองสิ่งนี้มีมากมายขนาดนี้ แล้วสิ่งที่ท่านติดก็นำไปสอนคนอื่นสืบต่อกันมาก ซึ่งปัจจุบันแม้ท่านเหล่านั้นจะไม่มีชีวิตอยู่แล้ว แต่คำสอนผิดเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ เห็นแล้วก็นึกสงสารผู้คนที่เป็นศิษย์   ไม่รู้เลยว่าอาจารย์ของตนนั้นสอนผิด  
          การปฏิบัติสมาธิคือการที่เรานำความรู้สึกไปวางนิ่งในจุดใดจุดหนึ่ง วางลงไป แล้วทำให้นิ่ง นิ่งมากที่สุด
          การวางนี้คือการวางความรู้สึกลงไปสัมผัสกับนิวเคลียสซึ่งเป็นสิ่งที่เล็กที่ประกอบเป็นตัวเรา เมื่อเอาความรู้สึกไปวางไว้ที่นิวเคลียสนี้แล้ว เมื่อทำจิตให้นิ่ง จิตก็ได้เข้าไปสัมผัสกับนิวเคลียส การได้สัมผัสกับพลังงานชั้นนอกของนิวเคลียสนี้จะทำให้เรารู้สึกมีอารมณ์สงบในระดับหนึ่ง จิตในอารมณ์ขณะนี้เรียกว่าดำรงหนึ่ง และเมื่อเราทำจิตให้สงบนิ่งเข้าไปอีก จิตก็จะทะลุชั้นแรกของนิวเคลียสไปเจอกับชั้นที่สองของนิวเคลียส เราก็จะได้สัมผัสกับพลังงานชั้นที่สองของนิวเคลียส เราจะรู้สึกถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่าชั้นที่หนึ่ง อารมณ์นี้เรียกว่าฌานสอง และเมื่อเราทำจิตให้สงบเข้าไปอีก จิตก็จะทะลุชั้นที่สองของนิวเคลียสไปสัมผัสชั้นที่สาม สัมผัสพลังงานชั้นที่สามของนิวเคลียส ชั้นนี้จะละเอียดกว่าสองชั้นที่ผ่านมา ชั้นนี้จะมีพลังงานมากกว่าสองชั้นที่ผ่านมา ชั้นนี้คนจะเข้าไปติดกันมาก เนื่องจากชั้นนี้มีพลังงานมาก เมื่อมีพลังงานมากมันก็จะไวต่อกิเลสของเรามาก หากเรามีความคิดอย่างจะเห็นนิพพานเราก็จะได้เห็น อยากจะเห็นพระพุทธเจ้า อยากจะเห็นนรก สวรรค์ ก็จะได้เห็น แต่สิ่งที่เห็นนั้นจะไม่ใช้ของจริง เป็นเพียงกิเลสของเราที่ปรากฏให้เห็น เนื่องจากมีพลังงานมาขยายให้มันปรากฏ เปรียบพลังงานของดำรงสามเหมือนแสงสว่างของเครื่องฉายภาพยนตร์ และกิเลสของเราเหมือนแผ่นฟิล์ม เมื่อกิเลสของเราปรารถนาอยากจะได้อะไร ก็จะปรากฏให้เห็น
          ผู้ที่ติดในอารมณ์ของดำรงเมื่อตายไปก็จะไปเกิดเป็นพรหมในชั้นที่เสพอารมณ์ของดำรงชั้นที่ตนติดอยู่
          ผู้ที่ติดและนำไปสอนผู้อื่น พวกนี้จะสอนให้นำจิตไปหยุดในที่ใดที่หนึ่ง เช่นที่หัวใจ หรือที่ศูนย์กลางกาย พวกเขาเหล่านี้ถูกสอนให้ทำอะไรก็ให้นำจิตไปไว้ที่จุดนั้นๆ เช่นหากเคยฝึกให้หยุดนิ่งที่ใจ จะทำอะไรก็ให้นำจิตไปหยุดนิ่งที่ใจ พวกนี้มีมโนหรือใจนี้เป็นฤทธิ์ หรือถ้าเคยฝึกที่ศูนย์กลางกาย ทำอะไรก็ให้นำจิตไปอยู่ที่ศูนย์กลางกาย แปล  ธรรมต่างๆก็เป็น
ไปตามทิฏฐิของตน เช่น พระพุทธเจ้ากล่าวว่ากับองค์คุลีมารว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านนั้นยังไม่หยุด” ก็นำไปแปลว่าที่ท่านพระพุทธเจ้ากล่าวว่าหยุดนั้นคือหยุดที่ศูนย์กลางกาย
         ผู้ที่ติดอย่างนี้  ใครจะเตือนก็ไม่ฟัง เพราะตนเชื่อเช่นนั้น หากใครเห็นผิดไปจากความเชื่อของตนก็คิดว่าคนอื่นผู้เตือนนั้นเป็นผู้เห็นผิด ท่านผู้อ่านเป็นเช่นนี้หรือเปล่า?  
          หากเราฝึกให้ยิ่งลึกเข้าไปใกล้ใจกลางนิวเคลียสมากเท่าใด พลังงานในชั้นที่ใกล้ใจกลางของนิวเคลียสก็จะมีความละเอียดมากขึ้น ชั้นพลังงานที่มากขึ้นนี้จะทำให้เราเข้าไปติดได้ เพราะอารมณ์ของเราจะละเอียดมากขึ้นและสุขมากขึ้นตามชั้นที่เข้าใกล้ศูนย์กลางของนิวเคลียส
          ผู้คนส่วนใหญ่จะติดในชั้นพลังงานของนิวเคลียส แต่ก็มีบางคนที่ผ่านเข้าไปได้ เมื่อเข้ามาถึงใจกลางของนิวเคลียส พวกเขาเหล่านั้นไม่พบอะไรเลยเห็นแต่ความว่างเปล่า เมื่อพวกเขาเหล่านั้นเข้ามาสุดแล้วไม่พบอะไรเลย พวกเขาเหล่านั้นก็เข้าใจว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลคือความว่าง
          ซึ่งจริงๆแล้วความว่างนั้นเป็นสิ่งสามัญของทุกสิ่งที่เป็นนิวเคลียสเช่นนี้อยู่แล้ว  ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจกลางเป็นความว่างเป็นเรื่องปรกติ สิ่งเล็กๆ หรือสิ่งใหญ่อย่างเช่นดวงอาทิตย์นั้นก็มีใจกลางเป็นความว่าง ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ อย่างหลุมดำนั้นก็มีใจกลางเป็นความว่าง แม้แต่โลกของเราก็มีใจกลางเป็นความว่าง เราเห็นโลกเป็นแผ่นดิน ลึกลงไปใต้แผ่นดินก็เป็นชั้นหิน ผ่านชั้นหินก็เป็นชั้นของเหลวที่เป็นลาวา  ลึกลงไปแต่ละชั้นจนถึงใจกลางของโลกก็จะพบความว่าง
          ใจกลางของสรรพสิ่งนั้นเป็นความว่าง เมื่อจิตเข้าไปสัมผัสกับความว่างนี้แล้ว ก็เข้าใจผิดว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลคือความว่าง เขาเหล่านั้นเข้าใจเช่นนั้นจึงนำมาสอนผู้อื่น สอนให้อยู่กับความว่าง สอนให้ว่างจากตัวตน ของตน เพราะเชื่อว่างจากตัวตนคือธรรมคือนิพพาน ทำอะไรก็ให้ว่างไว้ จะกิน จะนอน จะเดิน จะนั่ง จะคิด จะทำงาน ก็ให้ทำงานด้วยจิตว่าง
          พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์นั้นท่านพ้นโลกไปแล้วท่านก็ไม่ได้ทำงานด้วยจิตว่าง แต่ท่านทำงานด้วยจิตที่น้อมลงมากับสมมุติ จะทำอะไรก็อยู่ในสมมุตินั้น ทำแล้วก็แล้วกัน ไม่ติดในสมมุติเหมือนพวกเรา หากท่านไม่อยู่ในสมมุติท่านก็คือพ้นไปหรือเรียกว่าอยู่ในทาง(มรรค) ในสภาวะมรรคนั้น ไม่มีของคู่
 ...ไม่มีผู้รู้   และผู้ถูกรู้
....ไม่มีผู้รู้ว่ามีความว่าง   และไม่มีความว่างที่จะให้ถูกรู้...
....มรรคคือสภาวะที่พ้นไปจากทุกสิ่งแล้ว พ้นไปแม้ทั้งความว่าง แม้แต่สภาวะที่ลึกกว่าความ 
     ว่างก็พ้นไปทั้งสิ้น
          ความว่างเป็นเพียงอารมณ์ที่จิตเข้าไปเสพเท่านั้น หากเข้าไปเห็นแล้วปล่อยไปได้ก็จะคิดว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลคือความว่าง
          ผู้ที่เข้าไปติดในความว่างนี้จะยึดมั่นถือมันในความว่างมาก เหตุเพราะเคยปฏิบัติธรรมพบเห็นอะไรก็ปล่อยไปได้หมดแล้ว ไม่ว่าจะฌานหนึ่ง ตนก็ปล่อยได้  เมื่อถึงดำรงสองก็ปล่อยได้ เมื่อถึงฌานสามก็ปล่อยได้ เห็นสวรรค์ เห็นนรก เห็นพระพุทธเจ้า เห็นนิพพานก็ปล่อยได้ ผ่านฌานต่างๆมาได้หมด จนในที่สุดก็ไม่เห็นอะไรอีกแล้ว ไม่เห็นว่ามีอะไรให้ปล่อย ก็เลยคิดว่าหมดแล้ว มันหมดแล้ว ตนปล่อยได้หมดแล้ว ไม่เหลืออะไรเลย ก็เคยคิดเอาว่าธรรมคือความว่าง ความว่างคือนิพพาน  ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งที่ตนยังปล่อยไม่ได้นั้นก็คือความว่างนั้นเอง เพราะมองไม่เห็นมัน เลยคิดว่ามันไม่มีอะไรก็เลย ไม่รู้จะปล่อยอะไร ซึ่งจริงๆแล้วไอ้ความว่างที่ตนเห็นนั้นละก็ต้องปล่อยด้วย
          ไม่ว่าสมาธิหรือปัญญาที่ผิดทางไปติดในความว่าง ก็ต้องปล่อยความว่างนั้นด้วย อย่าคิดว่าไม่เห็นอะไรเลยแล้วจะไม่มีอะไรเลย แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เห็นก็คือความว่างนั้นไง เห็นแล้วก็ต้องปล่อย ถ้าไม่ปล่อย หรือปล่อยไม่ได้ ก็จะคิดเอาเองว่าความว่างคือธรรม แล้วจะนำไปสอนกันผิดว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลคือความว่าง ว่างนี้ละคือธรรม เพราะมั่นว่างมันจึงมีสิ่งอื่นเกิดขึ้นได้  เช่นแก้วต้องว่างก่อนจึงจะใส่น้ำได้  จักรวาลต้องว่างก่อนจึงจะมีสิ่งอื่นมาได้ ตีความหมายของธรรมต่างๆเป็นความว่าง เช่น พุทธศาสนานิกายเซนเขียน วงกลมแทนสภาวะเซน ผู้ติดในความว่างก็จะตีความว่า เซนเขียนวงกลมแทนความว่าง ซึ่งจริงๆไม่ใช่เช่นนั้น เซนเขียนวงกลมแทนสภาวะ สภาวะหนึ่งซึ่งก่อนที่จิตจอมปลอมของเราจะเกิดมา และเป็นสภาวะเดียวกันกับสภาวะที่เราจะกลับไป ซึ่งทั้งสองสภาวะนี้เป็นสภาวะเดียวกัน
          มาจากจุด จุดหนึ่งและกับไปสู่จุดๆหนึ่ง ซึ่งจุดๆนั้นคือจุดเดียวกัน ดังเช่นวงกลมมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดคือจุดเดียวกัน
          สภาวะหนึ่งไม่ขึ้นกับอะไรทั้งสิ้น ไม่มีไป ไม่มีมา  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังเช่นวงกลม จะมองมุมไหนก็กลม จะกลับหัวก็ยังกลม
          ท่านคิดว่าวงกลมที่ตั้งตรง กับวงกลมที่กลับหัวนั้นแตกต่างกันหรือไม่?
          เราเกิดมาจากสภาวะหนึ่งและก็มีชีวิตอยู่ เที่ยวไปในสามภพ เมื่อเห็นธรรมได้บรรลุอรหันต์เราก็กลับสู่สภาวะนั้น ดังเช่นวงกลมที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเป็นจุดเดียวกัน
          นี้ละคือผู้ที่ติดในความว่างจะมีความเห็นที่เป็นทิฏฐิที่แรงกล้าเช่นนี้ ใครพูดอะไร ใครจะเตือนก็ไม่ฟัง เพราะตนเชื่อเช่นนั้น หากใครเห็นผิดไปจากความเชื่อของตนก็คิดว่าคนอื่นผู้เตือนนั้นเป็นผู้เห็นผิด ท่านผู้อ่านเป็นเช่นนี้หรือเปล่า?
          หากเราเห็นความว่างเป็นสิ่งที่รองรับทุกสิ่งทุกอย่างอย่างนั้นแล้ว
          ผู้คนที่จิตว่างก็จะติดไปเช่นนั้น ตายไปจิตก็จะไปเกิดเป็นพรหม พรหมชั้นที่เสพความว่างเป็นอารมณ์  เมื่อเสพอารมณ์จนหมดสิ้นก็ตกจากพรหมชั้นนั้น กล่าวสั้นคือยังต้องเวียนวายตายเกิดอยู่ มาเกิดอีก จิตเคยติดในความว่างเมื่อมาปฏิบัติอีกก็จะน้อมนำเข้าหาความว่างอีก ถ้าไปติดอีก ตายไปก็ไปเกิดเป็นพรหมอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้ ไม่รู้จักจบสิ้น จนกว่าจะเห็นธรรมแท้หรือได้พบครูอาจารย์ที่เป็นอริยบุคคลที่แท้สอนจึงจะพ้นไปได้
        เมื่อพ้นความว่างไปก็จะพบกับความเป็นสูญ เมื่อพบความเป็นสูญก็เข้าใจเอาเองว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นสูญไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับอะไรผู้นั้นก็เห็นว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลนั้นเป็นสูญ
          เมื่อพ้นความว่างและความเป็นสูญนั้นไปก็พบกับความเป็นหนึ่ง เมื่อพบว่าทุกสรรพสิ่งนั้นเป็นหนึ่งเดียว ก็เข้าใจเอาเองว่าธรรมทั้งหลายทั้งมวลเป็นหนึ่ง
          การวนรอบของสิ่งต่างๆนี้ละเอียดมาก ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถอธิบายได้ละเอียดเพราะธรรมที่ลึกซึ้งขนาดนี้ภูมิธรรมของข้าพเจ้ายังไม่ถึง ธรรมที่ยังเข้าไม่ถึงจะให้อธิบายอย่างไรข้าพเจ้าก็ไม่สามารถทำได้ แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนั้นเป็นความรู้ที่ได้มาจากพระอาจารย์ ข้าพเจ้าก็จำได้เพียงเท่านี้ ถ้าจะให้ได้ลึกซึ้งกว่านี้ก็อยู่ที่บุญกุศลของแต่ละคน  หากในวันข้างหน้าได้พบครูอาจารย์ที่กระจ่างในปฏิจจสมุปบาทก็นำคำถามนี้ไปถามท่านได้ ท่านจะให้ความกระจ่างแก่พวกท่านมากกว่าที่ข้าพเจ้าอธิบายหลายหมื่นหลายล้านเท่า  
          และด้วยเหตุที่ได้อธิบายมาทั้งหมดคงจะทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจได้ว่า เหตุใดเราจึงไม่ควรกล่าวอ้างว่าธรรมคือสิ่งอะไรทั้งสิ้น         หวังว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจแล้วว่า
        เหตุใดการกล่าวว่า     “ธรรมคืออัตตา”     จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
        เหตุใดการกล่าวว่า
     “ธรรมคืออนัตตา”   จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
        เหตุใดการกล่าวว่า    “ธรรมคือความว่าง”   จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
     เหตุใดการกล่าวว่า       “ธรรมคือสุญญตา”       จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
      เหตุใดการกล่าวว่า      “ธรรมคือความเป็นหนึ่ง” จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
          เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเราจะได้มีความรู้พอ หากเมื่อเราได้ยินได้ฟังผู้ที่กล่าวว่าธรรมเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ว่า เหตุใดเขาเหล่านั้นจึงกล่าวเช่นนั้น จะได้อธิบายให้เขาเข้าใจได้ว่าเขาติดในอะไร
          มีคำกล่าวของอาจารย์เซนผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า
เพียงท่านเชื่อในเซน  มันก็ไม่ใช่เซนซะแล้ว
          ธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมจึงยังไม่ควรจะสอนธรรม
          แต่หากไม่มีใครสอน  ธรรมนั้นก็จะมีผู้ปฏิบัติกันน้อย ธรรมนั้นจึงสอนได้ตามภูมิของผู้รู้ เช่นเรารู้เรื่องสมาธิเบื้องต้น เราก็สอนแค่เบื้องต้น อย่าไปสอนเรื่องนิพพาน   เรารู้เรื่องศีลเราก็สอนเรื่องศีล  เรารู้เรื่องสมาธิขั้นสูงเราก็สอนได้  แต่หากเรายังไม่เห็นธรรมด้วยตนเอง หากเราสอนเราอาจจะสอนผิดได้  ตัวข้าพเจ้านั้นหากมีใครมาถามธรรม ข้าพเจ้าก็มักจะปฏิเสธก่อนเลยว่า มาถามข้าพเจ้าทำไม่ และบอกให้ไปถามพระอาจารย์ (เพราะข้าพเจ้าไม่ได้รู้อะไรที่จะสอนใครได้ รู้แค่นิดๆหน่อย ไม่มีบารมีพอที่จะสอนให้ใครเห็นธรรมได้)  ผู้ที่จะสอนให้ผู้อื่นเห็นธรรมตามตนได้นั้นต้องมีบารมีสูงมาก อย่างข้าพเจ้าเทียบชั้นกับพระอาจารย์นั้นไม่ได้เลย เรียกว่าอย่าเอามาเทียบกันจะง่ายกว่า เอาไปเทียบกันไม่ได้ดอก พระอาจารย์สูงเกิดที่จะเทียบได้
          เมื่อธรรมกล่าวอ้างอะไรไม่ได้เลยแล้วจะให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไรละ?
หากอยากจะเข้าใจธรรมก็ให้กล่าวว่า
 “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี      เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
          หากท่านได้อ่านในหัวข้อเรื่องข้าพเจ้ามีดวงตาเห็นธรรมได้เช่นไรนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ดวงตาเห็นธรรมจากการที่พระอาจารย์ได้อธิบายถึง “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี      เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
ช่วงที่ข้าพเจ้าได้พิจารณาธรรมจากในขณะที่เขียนบันทึกนั้นจิตก็ได้พิจารณาเมื่อพระอาจารย์กล่าวว่า   เมื่อแสงกระทบจิต จิตหลงผิดคิดว่าเป็นผู้เห็นจึงเกิดเป็นจิตขึ้น
เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาถึงจุดนี้จิตมันก็ปล่อย เพราะจิตมันเกิดปัญญากระจ่างแจ้งขึ้นมาว่า
เพราะสิ่งนี้มี   สิ่งนี้จึงมี           เพราะสิ่งนี้ไม่มี    สิ่งนี้จึงไม่มี
          จิตตอนนั้นมันคิดได้ว่า ถ้าเราไม่หลงผิดก็คงไม่มีเรา จิตมันก็เลยปล่อย  พอปล่อย มันก็เข้าใจในธรรม ช่วงเวลานั้นมันเร็วมาก เร็วเพียงชั่วเห็นแสงฟ้าแลบเท่านั้น  เพราะข้าพเจ้าไม่ได้บรรลุธรรมในขั้นอรหันต์  ซึ่งถ้าเห็นธรรมแล้วดำรงมรรคนั้นได้เลย แต่ข้าพเจ้ายังไม่ถึงขั้นนั้น
          ปัญญาตอนนั้นมันรู้ว่าเป็นเพราะจิตตอนถูกแสงมากระทบ มันหลงผิดคิดว่าตนเป็นผู้เห็นแสง พอหลงผิดจึงเกิดเป็นตัวเป็นตนเราขึ้นมา   จิตมันมาเป็นตัวเป็นตนของเราก็เพราะอย่างนี้นี้เอง เพราะมันไม่รู้(อวิชชา)  มันไม่รู้มันจึงหลงผิดเกิดกำเนิดเป็นดวงจิตของเราขึ้นมาเพราะอย่างนี้นี้เอง  อ๋อ!  อย่างนี้ นี่เอง  (เมื่อรู้แล้ว ก็ปล่อย เมื่อปล่อยก็มีดวงตาเห็นธรรม) 
          ข้าพเจ้าขออธิบายเกี่ยวกับ  “เพราะสิ่งนี้มี  สิ่งนี้จึงมี      เพราะสิ่งนี้ไม่มี  สิ่งนี้จึงไม่มีของจิตที่หลงผิดยึดในแรงดึงของตันหาพอสังเขปเพื่อให้เข้าใจว่าคืออะไรดังนี้   เพราะความไม่รู้ว่าตนเองเกินขึ้นได้อย่างไร   ( อวิชชา )     เป็นปัจจัยทำให้เกิดสิ่งต่างๆ (สังขาร)
เพราะจิตหลงยึดติดใน  สังขาร    เป็นปัจจัย  ทำให้เกิด                 ความรู้สึก   (วิญญาณ)       
เพราะจิตหลงยึดถือ      วิญญาณ  เป็นปัจจัย ทำให้เกิดความรู้ละเอียด(นาม)  ความรู้หยาบ(รูป)    (นามรูป)        
เพราะจิตหลงยึดถือ      นามรูป    เป็นปัจจัย ทำให้เกิดความรู้ทางประสาทสัมผัสมากขึ้น (อายตนะ)
เพราะจิตหลงยึดถือ      อายตนะ   เป็นปัจจัย ทำให้เกิดการกระทบจากจุดสัมผัสจากประสาท (ผัสสะ)     
เพราะจิตหลงยึด       “ ผัสสะ    เป็นปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึก สุข  ทุกข์ เฉย    (เวทนา)      
เพราะ จิตหลงยึด      เวทนา     เป็นปัจจัยทำให้เกิดแรงรัดให้จิตไปรัดสิ่งต่างๆไว้   (ตัณหา”)  
เพราะจิตหลงยึดถือ    ตัณหา      เป็นปัจจัยทำให้เกิดความสำคัญว่ามีตัวตน (อุปทาน)
เพราะจิตหลงยึด     อุปทาน    เป็นปัจจัยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เทียบตัวตนจากเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต (ภพ)           
เพราะจิตหลงยึดถือ      ภพ     เป็นปัจจัยทำให้เกิดมีตัวตนมีการเกิดขึ้น (ชาติ)    
เพราะจิตหลงยึดถือ      ชาติ               เป็นปัจจัยความแก่ ความตาย ความโศก  ความร่ำคราญ  ความไม่สบายใจ  (ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสา”)       
          สิ่งเหล่านี้วนรอบไม่รู้จักจบสิ้น การวนรอบของปฏิจจสมุปบาทนั้นลึกซึ้งยิ่งนัก ภูมิธรรมระดับครูอาจารย์เท่านั้นจึงจะกระจ่าง อริยะเจ้าขั้นต้นหรือบุคคลธรรมดาอ่านจากตำราแล้วบอกว่าเข้าใจนั้น ก็ยังเป็นความเข้าใจที่ไม่กระจ่างแจ้ง  จะกระแจ้งได้นั้นจะต้องเข้าถึงด้วยตนเอง  
          ขอสรุปตอนท้ายนี้อีกครั้งว่า ธรรมนั้นอยู่เหนือสมมุติไม่สามารถที่จะหาสิ่งใดมาอธิบายได้ แต่หากถ้าไม่อธิบายก็ไม่เข้าใจ
          เพราะการอธิบายธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คืออธิบายโลกให้เข้าใจ ว่าโลกคืออะไร แล้วเมื่อพ้นโลกไปนั้นละคือธรรม
          โลกคืออะไร ? และจะอธิบายว่าเป็นอย่างไร
          โลกนั้นคือของคู่  คือมีของที่ตรงกันข้าม
เช่น   
           มีความว่าง              ก็มี        ความไม่ว่าง             เป็นของคู่
           มีความเป็นหนึ่ง       ก็มี       ความไม่เป็นหนึ่ง      เป็นของคู่
           มีความสะอาด         ก็มี       ความไม่สะอาด         เป็นของคู่
           มีความสว่าง            ก็มี       ความไม่สว่าง           เป็นของคู่
           มีความสงบ              ก็มี      ความไม่สงบ             เป็นของคู่
โลกนั้น    มีผู้เสพ   และผู้ถูกเสพ
          มี        ความว่าง          และมี         ผู้เสพความว่าง  
          มี        ความสะอาด     และมี         ผู้เสพความสะอาด
          มี        ความสว่าง       และมี          ผู้เสพความสว่าง
          มี        ความสงบ        และมี          ผู้เสพความสงบ
โลกนั้นสรุปง่ายๆคือ มีสิ่งที่ตรงข้ามกัน ,มีผู้รู้ และผู้ถูกรู้
            มีขาว             ก็ต้อง      มีดำ
            มีมืด              ก็ต้อง      มีสว่าง
            มีความว่าง     ก็ต้อง      มีความไม่ว่าง
ธรรมนั้นกล่าวอ้างไม่ได้  เพราะถ้ากล่าวอ้างสิ่งหนึ่งที่ตรงข้ามจะปรากฏทันที่เช่น
       กล่าวว่า   ธรรมคือความสงบ    ความไม่สงบก็จะปรากฏขึ้นทันที
 กล่าวว่า ธรรมคือความมีอยู่  ความไม่มีอยู่จะปรากฏขึ้นทันที่
 กล่าวว่า ธรรมคือความว่าง    ความไม่ว่างจะปรากฏขึ้นทันที่
             กล่าวว่า ธรรมคือความเป็นหนึ่ง ความไม่เป็นหนึ่งจะปรากฏขึ้นทันที่
หากกล่าวอ้างของคู่จะปรากฏขึ้นทันที่ อริยเจ้าจะไม่กล่าวอ้างว่าธรรมคืออะไร เพราะถ้ากล่าวอ้างธรรมย่อมไม่ใช่ธรรม ผู้ที่กล่าวอ้างว่าธรรมคือสิ่งต่างๆ ผู้นั้นเป็นผู้เห็นธรรมจริงหรือ ขอให้ท่านใช้ปัญญาพิจารณาให้มาก ขอให้จงเข้าใจว่าธรรมแท้นั้นกล่าวอ้างไม่ได้ แล้วอริยะเจ้าที่แท้จะกล่าวอ้างถึงธรรมได้อย่างไร
โลกคือของคู่ ธรรมคือการพ้นของคู่ไปแล้ว หากยังมีของคู่อยู่ย่อมไม่ใช่ธรรม
           แม้แต่  มีนิพพาน      ก็ต้องมี    ไม่มีนิพพาน   เป็นของคู่    นี้ก็ถือว่าเป็นโลก เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น ที่กล่าวว่า แม้แต่นิพพานก็ยังเป็นโลก เหตุเพราะนิพพานของผู้ที่ติดในมีทิฏฐินั้นยังไม่พ้นโลก จึงไม่ใช่นิพพานแท้ ไม่ใช่ธรรมแท้ เป็นนิพพาน เป็นธรรมที่มีทิฏฐิของตนเข้าไปเกี่ยวเนื่องด้วย
          เมื่อเห็นธรรมแล้ว ไม่ปล่อยธรรมนั้น เขาผู้นั้นจึงยังไปเข้าถึงธรรม เพราะไปยึดอยู่กับธรรมที่ตนเห็น    เช่น   
          เห็นว่าธรรมเป็นอัตตา  ก็ไม่ปล่อยอัตตานั้นไป จึงติดอยู่กับอัตตา
          เห็นว่าธรรมเป็นอนัตตา  ก็ไม่ปล่อยอนัตตานั้นไป จึงติดอยู่กับอนัตตา
          เห็นธรรมเป็นความว่าง   ก็ไม่ปล่อยความว่างนั้นไป จึงติดอยู่กับความว่าง
          การที่เข้าไปติดหรือปล่อยว่างไม่ได้ แล้วเข้าใจว่าเป็นธรรมนั้นมีอยู่มาก มีมาก่อนพระพุทธเจ้ากำเนิดอีก สิ่งนี้ต้องแก่ด้วยปัญญา ต้องแก้ด้วยวิปัสสนา  ซึ่งศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นเพราะมีวิปัสสนา  พวกฤษีก็มีสมาธิ  และก็ติดในสมาธิ เพราะไม่มีวิปัสสนา แต่พระพุทธเจ้าเป็นคนแรกที่ค้นพบวิปัสสนา และนำมาสอนโลกเพื่อให้ผู้คนถึงซึ่งความพ้นทุก หากเราต้องการพ้นทุก เราก็ต้องทำวิปัสสนา อย่าทำแต่สมาธิเพียงอย่างเดียว  
บุคคลที่เข้าใจว่าตนเองหลุดพ้นแล้ว  ยังไม่ละความหลุดพ้นนั้น ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น  
                                  ขอธรรมจงมีแด่ท่าน




ปัญหาธรรมข้อที่ 47
          ในเมื่อธรรมอันพ้นโลกที่เรียกกันว่าโลกุตระนั้น ไม่พึงสามารถอธิบายแล้ว ด้วยอุปมาดั่งรสแห่งอาหาร แต่ว่ารสอาหารนั้นย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้รู้รสแล้ว ผู้รู้รสอาหารนั้นเสวนากันย่อมถึงความเข้าใจกันได้เพราะรับรู้ธรรมตรงกัน
         อันว่า ศัพท์"โสดาบัน" นี้ ภาวะนับเป็นโลกุตระ ในเมื่อโสดาบันเราพึงอธิบายด้วยว่าเป็น"ผู้ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ3ประการอันได้แก่วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส และสักกายทิฐิได้แล้ว" ผู้ฟังที่เป็นปุถุชนอยู่ย่อมรับฟังและจดจำอยู่ได้เป็นเบื้องต้น แต่ยังไม่เข้าถึงธรรมนั้นก่อน แต่พระอริยเจ้าย่อมทราบธรรมข้อนี้ด้วยญาณทัสสนะด้วยดีแล้ว ย่อมถึงแก่ความเข้าใจแจ่มแจ้งได้ดังนี้ และข้ออันพระอริยเจ้าเรียกอยู่สนทนาถึงอยู่และผู้รู้ย่อมรู้ได้เฉพาะตนดังนั้นไฉนจึงอธิบายแต่เบื้องแรกว่าไม่พึงอธิบายได้เล่า?
ตอบ
          สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องขออภัยเป็นอย่างมากที่ตอบช้ามากๆ ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง อย่างยิ่ง
          เป็นคำถามที่ดีมากครับ และก็เป็นคำถามที่ตอบยากมากครับ จริงๆรู้ว่าคำตอบคืออะไรแต่ยากที่จะอธิบายออกมา อธิบายยากมาก ถ้าจะทำก็ดังการเปรียบดังสมมุติของรสชาติอาหารเช่นนั้น หรือดังคนที่เคยไปพระราชวังของพระราชา คนที่เคยเข้าไปพอเขาคุยกัน เขาก็เข้าใจเหมือนกันว่าต้นไม้เป็นอย่างไร กระถางเป็นอย่างไร ว่างตรงไหน แสงเป็นอย่างไร อะไรทำให้พระราชวังดูสวย คนเหล่านี้ที่เคยเห็นมาเล่าให้คนไม่เคยเห็นฟัง คนไม่เคยไปได้ฟังก็รู้ว่ามันใหญ่ ก็รู้ว่ามันสวย แต่สวยอย่างไรก็ไม่อาจรู้ได้ รู้แต่ว่ามันสวยงามมากๆ
          ธรรมนั้นอธิบายไม่ได้ แต่สามารถสอนให้คนเข้าถึงได้ อริยะเจ้านั้นท่านก็ไม่ได้สนทนากันถึงสภาวะแห่งนิพพานนั้นเลยนะครับ เพราะนิพพานนั้นไม่มีอะไรให้อธิบาย แต่ที่ท่านอธิบายก็เป็นสภาวะที่เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง ธรรมชาติของจิตที่มีแต่ความเป็นเช่นนั้นเอง ท่านสนทนากันถึงวิธิการเข้าถึงธรรม แต่ท่านไม่ได้สนทนากันว่าธรรมเป็นอย่างไร เพราะว่าธรรมนั้นมันอธิบายไม่ได้ อย่างเช่นหากพระอริยะเจ้าได้มาอ่านธรรมของข้าพเจ้าที่เขียนในเวป ท่านอ่านธรรมเดียวกับที่พวกคุณอ่านกัน ท่านก็เข้าใจ เช่นท่านอ่านว่า "มี...แต่ไม่มี     ไม่มี....แต่มี" แค่นี้ท่านก็เข้าใจว่าคือสภาวะที่คนนั้นเข้าถึงแล้ว นี้ท่านเข้าใจ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้บอกว่าธรรมเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เลย บอกแค่ว่า มี...แต่ไม่มี ไม่มี...แต่มี    ดังคนที่เคยเข้าไปในพระราชวังเหมือนกัน พอพูดถึงต้นไม้หน้าห้องพระราชาทุกคนก็เข้าใจเหมือนกัน โดยไม่ต้องบอกว่าเป็นอย่างไร ไม่ต้องอธิบายอะไร แต่บอกว่าต้นไม้หน้าห้องพระราชา อริยะเจ้าก็เช่นกันบอกแต่ทางเข้าถึงธรรม ธรรมชาติที่เข้าถึงเท่านั้น หากจะบอกถึงธรรมจริงๆ พระอรหันต์ท่านก็บอกไม่ได้ว่าธรรมเป็นอย่างไร แต่อรหันต์นั้นหรืออริยะเจ้านั้นบอกได้แต่ว่ามันไม่ใช่สิ่งนั้น ไม่ใช่สิ่งนี้ และมันก็ไม่ใช่อะไรเลย เมื่ออริยะเจ้าด้วยกันมาอ่านหรือมาฟัง ก็เข้าใจเหมือนกันว่ามันไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น ก็เข้าใจว่าสภาวะที่ไม่ใช่อะไรเลยนี้คือสภาวะเดียวกัน จึงรู้ได้ว่าเป็นสภาวะเดียวกันและสภาวะนี้สมมุติทางโลกเรียกว่านิพพานท่านก็เรียกว่านี้คนนี้เห็นนิพพานแล้ว
          หากข้าพเจ้าจะถามท่านผู้ซึ่ง e-mail มาถามคำถามนี้แก่ข้าพเจ้าว่า หากข้าพเจ้าให้ท่านช่วยอธิบายสภาวะ สภาวะหนึ่งซึ่งไม่ใช่อะไรเลยท่านจะอธิบายว่าอย่างไรให้คนเข้าใจ ท่านช่วยอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้หรือไม่ถึงสภาวะที่ไม่ใช่อะไรเลย แม้แต่คำว่าไม่ใช่อะไรเลยก็ไม่ใช่สภาวะนั้น
          และขอบอกว่าสภาวะที่กำลังให้ท่านอธิบายนี้ สภาวะที่ไม่ใช่อะไรเลยนี้ละที่สมมุติทางโลกเรียกว่านิพพาน ซึ่งสภาวะที่ไม่ใช่อะไรเลยนี้ เมื่อมันไม่ใช่อะไรเลยแล้วมันจะใช่นิพพานไปได้อย่างไร  มันไม่ใช่อะไรเลยแม้แต่คำว่า "ไม่ใช่อะไรเลย" มันก็ไม่ใช่มัน  เพราะมันไม่ใช่อะไรเลย แล้วเหตุไฉนจึงเรียกมันว่านิพพาน มันไม่ใช่อะไรเลยแม้แต่คำว่า "ไม่ใช่อะไรเลย" ก็ไม่ใช่มัน แล้วเราจะกล่าวอ้างมันได้อย่างไร
          เพราะมันไม่ใช่อะไรเลยคำนี้(แม้แต่คำว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่ใช่มัน) นี้เพราะมันเข้าใจยากเราก็ทำให้มันเข้าใจง่ายโดยตั้งชื่อสมมุติทางโลกมันว่านิพพาน นี้พอเราตั้งสมมุติมันว่านิพพาน คนก็ไปติดในคำที่เป็นสมมุตมันว่ามันเป็นนั้นเป็นนี้ทั้งที่จริงๆมันคือความ "ไม่ใช่อะไรเลย"  นี้เรารู้อย่างนี้เราก็จะไม่ไปติดในนิพพาน เพราะนิพพานคือไม่ใช่อะไรเลย แล้วไอ้ความไม่ใช่อะไรเลยนี้ละที่มันอธิบายไม่ได้ เพราะถ้าเราอธิบายมัน มันก็จะกลายเป็นความที่เป็นอะไรซักอย่างหนึ่ง ซึ่งมันก็ไม่ใช่ความไม่ใช่อะไรเลยไปเสียแล้ว ความไม่ใช่อะไรเลยนั้นมันไม่ใช่ ความสว่าง ความสะอาด ความสงบ ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่ความมีอยู่ ไม่ใช่ความไม่มีอยู่ ไม่ใช่ความว่าง แต่มันเป็นความไม่ใช่อะไรเลย ถ้าบอกว่ามันเป็นความว่าง มันก็จะไม่ใช่ความไม่ใช่อะไรเลย ความเป็นสิ่งสิ่งนี้มันก็จะเพี้ยนไป เพราะว่ามันได้กลายเป็นความว่างไปเสียแล้ว
          ดังนั้นจึงไม่อธิบายมันเลย เพราะอธิบายไปมันก็กลายเป็นอะไรไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ไม่ใช่อะไรเลย นี้มันเป็นอย่างนี้แค่ข้าพเจ้าใช้คำว่า "ไม่ใช่อะไรเลย"  ก็สามารถทำให้คนอ่านงงได้เพราะรู้สึกว่าอ่านไปแล้วมันวนไปวนมา เพราะอย่างนี้เข้าถึงมีสมมุติให้มันว่านิพพานแทนสิ่งสิ่งที่ไม่ใช่อะไรเลย จงทำความเข้าใจให้มากว่าธรรมหรือนิพพานนั้นมัน "ไม่ใช่อะไรเลย" แล้วจะมาบอกว่ามันเป็นนั้น เป็นนี้ เป็นความสะอาด ความสว่าง ความสงบ เป็นความว่างได้อย่างไร ถ้ามันเป็นสิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่ใช่ความ "ไม่ใช่อะไรเลย"
          ความไม่ใช่อะไรเลยนี้มันอธิบายไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่อะไรเลย แต่ว่ามันเป็นสภาวะที่มีอยู่จริง อธิบายไม่ได้แต่สามารถสอนให้ผู้อื่นเข้าถึงมันได้ เข้าถึงได้นั้นไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสถานที่นะ  เข้าถึงได้ในที่นี้หมายถึงกระจ่างในความสงสัยว่าอะไรเป็นอะไร หรือกระจ่างในความจริงของกฏธรรมชาติ หรือภาษาธรรมเรียกว่าตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ3ประการอันได้แก่วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส และสักกายทิฐิได้แล้ว
          เมื่ออริยะเจ้าสนทนากันท่านฟังการสนทนาต่อกันท่านก็รู้ว่า อ๋อ! มัน "ไม่ใช่อะไรเลย " นี้นา "แต่เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง"  มันก็เป็นสิ่งเดียวกับที่เราเข้าถึงเหมือนกันนิ
เช่นเมื่ออริยะเจ้าท่านหนึ่งท่านใดมาอ่านธรรมของข้าพเจ้าที่ว่า
    "มี...แต่ไม่มี     ไม่มี......แต่มี"
เมื่อท่านได้ท่านจบท่านก็จะรู้ขึ้นมาว่า    อ๋อ! มัน "ไม่ใช่อะไรเลย"
    "มี...แต่ไม่มี     ไม่มี......แต่มี" อ๋อ! มัน "ไม่ใช่อะไรเลย"
เป็นก็เป็นสภาวะเดียวกับที่เราเข้าใจนี้นา คนคนนี้เข้าถึงสภาวะเดียวกับเรา เขาผู้นี้ก็เป็นอริยะเจ้าเช่นกัน นี้อริยะเจ้าเขาเข้าใจกันเช่นนี้
 ข้าพเจ้าขอบคุณในคำถามข้อนี้เป็นอย่างมากเพราะรู้สึกว่าเป็นคำถามที่ดีมากข้อหนึ่ง และขออภัยที่ตอบช้าไปมากๆ
 ขอธรรมจงมีแก่ท่าน

ปัญหาธรรมข้อที่ 48
          มรรคนั้นหากสังเกตจะพบว่า ปัญญาขึ้นก่อนจะเกิดศีลเอง จากนั้นจิตใจจะเป็น ธรรมชาติเดิมจะเกิดสติ และสมาธิเองตามลำดับ ถ้ามองลึกซึ้งจะพบว่าไม่ต้องทำอะไรเลย  ตรงกับเซ็นไม่ต้องทำ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องกำหนด ไม่ยึดธรรม ตัดจิตปรุงแต่ง จิตจะเป็นสภาพเดิมของมัน  ผิดกับหลักเถรวาทต้องใช้อุบายกับธรรมใช้ศึกษาสภาพจิตจนรู้แจ้งใช้เวลานานมาก
          -อยากถามว่าถ้าแต่ละวันเราตัดจิตปรุงแต่งออกเหลือแต่สติรับสิ่งกระทบจากอายตนะ 6 เท่านั้น คือไม่คิดเพิ่มเมื่อมีสิ่งมากระทบตลอดเวลาจะบรรลุธรรมได้ไหม ? ขอเจริญในธรรม
         ตอบ
          ตามแบบเซ็นนั้นก็ใช่...ไม่ผิดหรอกครับ ตัวข้าพเจ้าเองก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ปัญญา นั้นจะมาก่อน พอปัญญามันรู้มันก็จะวางเอง เมื่อวางแล้ว ศีลมันก็เป็นของมันเอง สติที่ได้มันก็มาจากปัญญาที่เห็นว่ามันมีแค่นี้เอง ไม่เห็นต้องไปวุ่นวายกับมันเลย(แต่สตของข้าพเจ้ายังไม่สมบูรณ์นะครับ ไม่ใช่อรหันต์ครับ) ....วิธีของเซ็นนั้นเป็น ปัญญาวิมุติ คืออาศัยปัญญาอย่างเดี่ยว....แต่ของเถรวาทของเรานั้นมีทั้งอาศัย ปัญญา("ปัญญาวิมุติ")และก็อาศัยกำลังจากสมาธิ ( "เจโตวิมุติ”)
          "วิปัสสนา" นั้นหมายถึง อุบายเรื่องปัญญาให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น
          ในเถรวาทของเราก็ใช้อุบายหลายอย่าง เช่นพิจารณาซากศพ  พิจารณาอารมณ์  การดูจิตของตน พิจารณา การกระทบนอกและใน การมีสติทุกอริยบท  ฯลฯ ...ในการพิจารณาของเราอาจจะทำการนั่งสมาธิแล้วพิจารณาไปด้วย แต่ในวิถีของเซ็นนั้นเขาอาศัยปัญญาในการพิจารณาเลย เรียกว่าใช้ปัญญาตัดกิเลสกันเลย ใครตัดได้ก็เห็นธรรม นั้นก็คือวิปัสสนาของเซ็นเหมือนกัน อย่าเข้าใจผิดว่า วิปัสสนาคือการนั่งสมาธินะครับ "วิปัสสนา" นั้นหมายถึงอุบายเรื่องปัญญาให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์...วิธีไหนที่ทำ ให้พ้นทุกข์ได้ วิธีนั้นก็คือวิปัสสนาครับ เซ็นเขาก็มีวิธีของเขา ส่วนเรื่องศีลของเซ็นนั้นเขาก็มีศีลของเขาเหมือนกัน แต่ที่เรารู้จักกันก็ เป็นศีลโดยสามัญสำนึกอยู่แล้ว คือเขาไม่ได้คิดจะไปทำอะไรผิด เขาก็ไม่ต้องไปกังวนกับมัน มันก็เหมือนคนดีที่ทำตามกฎหมายโดยไม่ได้นับถือกฎหมาย อย่างเช่นเราไม่เคยคิดจะขโมยของใคร เราก็ไม่ต้องไปกังวนกับศีลข้อที่ห้ามลักขโมย หรือเราไม่เคยคิดที่จะไปมีอะไรทางเพศกับหญิงที่ไม่ใช่เมียของเรา เราก็ไม่เห็นต้องไปกังวนกับศีลข้อนี้ เราไม่กินเหล้าอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวนกับศีลข้อนี้ เซ็นนั้นเป็นอะไรที่ เป็นสามัญสำนึกอยู่แล้ว คือเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ....อย่างเช่น ศีล 5 ของชาวพุทธ แต่หากฝรั่งที่นับถือศาสนาอื่น เขาเป็นคนดี ไม่เคยขโมยของใคร ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ดื่มเหล่า ไม่นอกใจคู่รัก ไม่พูดโกหก อันนี้เขาก็มีศีลครบทุกข้อทั้งๆที่ เขาไม่รู้เรื่องศีลของชาวพุทธเลย ถามว่าเขาเคยกังวลเรื่องศีลไหม ถามว่าเขาถือศีลไหม ถ้าเราไปถามเขา ว่าเขาถือศีลหรือเปล่า เขาก็จะตอบว่า ไม่ได้ถือศีลอะไร ( เพราะเขาไม่รู้จักศีลแต่เขาเป็นคนดีอยู่แล้ว) เซ็นนั้นเขาก็มีศีลของเขาเหมือนกัน สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรม ครูอาจารย์ของเขาไม่ท่านเนื้อสัตว์ เขาก็ไม่ท่านตาม อันนี้ก็เป็นศีลเหมือนกันนะ แต่สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว จิตมันจะรู้เองว่าควรทานหรือไม่ควรทานเพราะอะไร พอถึงธรรมแล้วจิตจะรู้ว่าอะไรควรไม่ควร สิ่งที่ไม่ควรแล้วไปทำจิตมันจะไม่ยอมรับ เหมือนกับเราไปมีอะไรกับเมียคนอื่น ถามว่าจริงๆเรารู้ไหมว่ามันไม่ควร ตอบได้เลยว่า จริงๆเราก็รู้อยู่ว่ามันไม่ควร นี้ก็เป็นเรื่องของสามัญสำนึกเหมือนกัน พุทธอย่างเถรวาทของเราก็เหมือนกันหากบรรลุธรรมแล้วก็ไม่ได้ต่างอะไรกับเซ็นเลย ครองศีลเหมือนไม่ครอง ไม่ได้ครอง แต่ก็ไม่ทำผิดศีล บุคลคลใดก็ตามเมื่อเห็นธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเซ็นหรือเถรวาท ก็ไม่ต่างอะไรกัน มีการทำตามสมมุติเหมือนกัน ไม่ทำอะไรขัดกับสมมุติ จะเห็นการดำรงของชีวิตเป็นแค่เรื่องสมมุติ เราจะเห็นว่าพระบ้านเรานั้นมีศีลมากถึงสองร้อยกว่าข้อ แต่ถ้าเป็นอริยะเจ้าท่านไม่ได้ไปสนใจมัน เพราะท่านไม่ทำอะไรผิดสามัญสำนึกอยู่แล้ว เพราะสามัญสำนึกมันจะบอกเองว่าอะไรควรไม่ควร แต่พระบ้านเราที่เคร่งศีลกันก็มี เรียกว่าเคร่งเกินไปก็มี แต่เชื่อได้เลยว่าสำนักนั้นยังไม่ถึงธรรมแน่นอน เพราะถ้าถึงธรรมแล้วจะไม่ทุกข์กับศีล อริยะเจ้าท่านมีศีลแต่ไม่ถือให้มันหนัก เรียกว่าไม่ถือศีลแต่ไม่เคยทำผิดศีลเพราะรู้ว่าอะไรควรไม่ควร
          ที่ถามว่า ถ้าแต่ละวันเราตัดจิตปรุงแต่งออกเหลือแต่สติรับสิ่งกระทบจากอายตนะ 6 เท่านั้น คือไม่คิดเพิ่มเมื่อมีสิ่งมากระทบตลอดเวลาจะบรรลุธรรมได้ไหม ขอตอบว่าได้ แต่เราจะทำเช่นนั้นได้ตลอดเวลาหรือไม่ เพราะเรายังอยู่ในสมมุติ แม้แต่พระอรหันต์ท่านก็ต้องลงมากับสมมุติเมื่อต้องสอนโลก ถ้าไม่ลงมาอยู่กับสมมุติก็สอนไม่ได้ ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์หากทำอย่างที่คุณกล่าวให้ได้มากที่สุดก็ดีครับ ตัดการปรุงแต่งให้ได้ เห็นการกระทบจนเป็นปรกติ เมื่อทำเป็นปรกติมรรคก็จะได้เอง
                                                                                        ขอธรรมจงมีแก่ท่าน


ปัญหาธรรมข้อที่ 49
          ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วยังไม่ถึงธรรมตามคำที่พระท่านว่านั้นหมายถึงอะไร
         ตอบ
          ผู้ปฏิบัติแล้วจิตเห็นสภาวธรรมว่า ธรรมเป็นเช่นนี้เอง ธรรมเป็นเช่นนั้นเอง แต่ยังไม่ปล่อยวางสภาวะที่ตนเข้าถึงนั้น ผู้นั้นก็จะไปติดในสภาวะที่คนเข้าถึง
          ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว แล้วปล่อยวางสภาวะที่ตนเข้าถึงได้ ไม่ไปติดกับการเข้าถึงของตน ผู้นั้นจึงพร้อมที่จะปล่อยวางจากการยึดมันถือมันว่า นี้คือธรรม นั้นคือธรรม ผู้นั้นจึงเป็นผู้ที่เข้าถึง
          ผู้ที่เห็นว่าธรรมคือสิ่งที่ตนเข้าถึง ผู้นั้นยังมีการยึดมันถือมันในสิ่งที่ตนเข้าถึงนั้น เข้าผู้นี้ยังติดในตัวรู้ เพราะยังรู้อยู่ว่าตนเขาถึงอะไร เมื่อตนเข้าถึงธรรมก็ต้องปล่อยการรู้ว่าเข้าถึงธรรมนั้นด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเข้าไปยึดในสิ่งที่ตนเข้าถึง เมื่อเข้าไปยึดก็จะไม่ไปไหน เพราะติดในการยึดในสิ่งที่ตนเข้าถึง
          เมื่อเข้าถึงแล้วเห็นว่าธรรมคือการมีอยู่ เมื่อไม่ปล่อยการมีอยู่ จิตก็เข้าไปติดในการมีอยู่ จิตจึงหลงว่าการมีอยู่นั้นคือธรรม
         เมื่อเข้าถึงแล้วเห็นว่าธรรมคือความว่าง เมื่อไม่ปล่อยวางความว่าง จิตก็เข้าไปติดในความว่าง จิตจึงหลงว่าความว่างนั้นคือธรรม
         เมื่อเข้าถึงแล้วเห็นว่าธรรมคือความสว่าง เมื่อไม่ปล่อยวางความสว่าง จิตก็เข้าไปติดในความสว่าง จิตจึงหลงว่าความสว่างนั้นคือธรรม
         เมื่อเข้าถึงแล้วเห็นว่าธรรมคือความสะอาด เมื่อไปปล่อยวางความสะอาด จิตก็เข้าไปติดในความสะอาด จิตจึงหลงว่าความสะอาดนั้นคือธรรม
         เมื่อเข้าถึงแล้วเห็นว่าธรรมคือความสงบ เมื่อไม่ปล่อยวางความสงบ จิตก็เข้าไปติดในความสงบ จิตจึงหลงว่าความสงบนั้นคือธรรม
         เมื่อเข้าถึงแล้วเห็นว่าธรรมเป็นความสุขยิ่ง เมื่อไม่ปล่อยวางความสุข จิตก็เข้าไปติดในความสุข จิตจึงหลงว่าความสุขนั้นคือธรรม
         เมื่อเข้าถึงธรรมแล้ว แต่ไม่ปล่อยวางในธรรมที่ตนเห็นเขาผู้นั้นยังติดในตัวรู้ ยังติดในของคู่ คือผู้รู้และผู้ถูกรู้
               ***ของคู่คือผู้ที่เข้าไปติดใน
                ธรรมที่มีอยู่...................   กับผู้ที่รู้ว่าธรรมมีอยู่
                ธรรมคือความว่าง.............กับผู้ที่รู้ว่ามันว่าง
                ธรรมนั้นคือความสว่าง.... กับผู้ที่รู้ว่ามันสว่าง
                ธรรมนั้นคือความสะอาด......กับผู้ที่รู้ว่ามันสะอาด
                ธรรมนั้นคือความสงบ......กับผู้ที่รู้ว่ามันสงบ
                ธรรมนั้นคือความสุข......  กับผู้ที่รู้ว่ามันสุข
ผู้ที่ยอมรับสิ่งหนึ่งว่าเป็นธรรมแล้วปฏิเสธอีกสิ่งหนึ่งว่าไม่ใช่ธรรม    ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้เห็นว่าธรรมคือความมีอยู่แล้วปฏิเสธความว่าง            ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้เห็นว่าธรรมคือความว่างแล้วปฏิเสธความมีอยู่            ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้เห็นว่าธรรมคือความสว่างแล้วปฏิเสธความไม่สว่าง      ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้เห็นว่าธรรมคือความสะอาดแล้วปฏิเสธความไม่สะอาด  ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้เห็นว่าธรรมคือความสงบแล้วปฏิเสธความไม่สงบ         ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้เห็นว่าธรรมคือความสุขแล้วปฏิเสธความทุกข์              ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
             ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วเข้าใจว่าตนเข้าถึงธรรม                    ผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรม
ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วเห็นว่าตนเข้าถึงธรรมเหตุใดจึงกล่าวว่ายังไม่ถึงธรรม ขอตอบว่าผู้นั้นจะยังไม่พ้นกระแสโลกหากยังติดในตัวรู้ว่าตนเข้าถึงอริยะเจ้าเบื้องตนเข้าถึงธรรมแล้วแต่มรรคยังไม่สมบูรณ์ นั้นก็ยังมีการเปรียบเทียบ จิตจึงยังมีมานะอยู่
   อริยะจ้าเบื้องสูงผู้บรรลุอรหันต์ทำมรรคให้สมบูรณ์ได้นั้นพ้นไปแล้วจากการเปรียบเทียบ ธรรมจึงไม่เป็นอะไรเลย แม้แต่คำว่าไม่เป็นอะไรเลยก็ไม่สามารถให้ความหมายสภาวะที่สมบูรณ์นั้นได้ ธรรมที่อรหันต์เข้าถึงนี้จึงหาคำใดที่จะกล่าวอ้างไม่ได้ เหตุนี้เองธรรมที่เข้าถึง จึงเข้าไม่ถึง แต่เป็นการเข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง   แต่สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเข้าถึงนั้นมันกลับกลายเป็นการเข้าไม่ถึง เพราะยังตกอยู่ในของคู่เมื่อเข้าถึงธรรมแล้วรู้ว่าตนเข้าถึง เขาผู้นั้นยังไม่พ้นจากตัวรู้ ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วไม่รู้อะไรเลย ผู้นั้นก็ยังไม่เข้าถึงธรรม เพราะยังติดในตัวรู้ที่ไปรู้ว่าไม่รู้อะไรเลย
ผู้ที่..........ผู้นั้นได้พ้นไปแล้ว ผู้นี้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง (จุดๆนั้นเป็นสภาวะที่อธิบายอะไรไม่ได้เลย)
               อ่านแล้วก็เข้าใจยาก 
แล้วเช่นนั้นท่านผู้บรรลุธรรมอรหัตผลท่านรู้ได้อย่างไรว่าตัวท่านบรรลุอรหันต์แล้ว
พระอรหันต์เมื่อท่านบรรลุอรหันต์นั้นสิ่งที่แจ้งกระจ่างในตัวท่านก็คือ 
                 "กิจของเรานั้นเสร็จสิ้นแล้ว กิจอื่นที่ควรทำให้ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว"
สิ่งนี้เองที่เกิดกับท่านผู้เป็นพระอรหันต์ ในช่วงเวลาที่ท่านบรรลุอรหันต์นั้นมันเป็นเช่นนี้
               "กิจของเรานั้นเสร็จสิ้นแล้ว กิจอื่นที่ควรทำให้ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว"
พระอริยะที่ต่ำกว่าพระอรหันต์นั้นสิ่งนี้จะไม่เกิดกับท่านเพราะกิจที่ท่านต้องทำนั้นยังมีอยู่ อย่างตัวข้าพเจ้าเองนั้นในขณะนั้นก็ได้แต่กระจ่างในจิตว่า ธรรมคือสิ่งนี้เอง หนทางแห่งธรรมเป็นเช่นนี้เอง นั้นตอนนั้นมันเป็นเช่นนี้ แต่ข้าพเจ้าก็ยังพ้นมันไปไม่ได้ จึงยังต้องทำความเพียรต่อไป ชาติภพใดที่สิ่งนี้เกิดแก่ข้าพเจ้า หรือตัวท่านผู้อ่าน หรือเกิดแก่ผู้ใด ผู้นั้นไม่มีการกลับมาเกิดอีก คือพ้นไปแล้วจากโลก สภาวะเช่นนี้จะทำให้เรากระจ่างเองว่าเราพ้นทุกข์แล้ว สภาวะนั้นคือ
             "กิจของเรานั้นเสร็จสิ้นแล้ว กิจอื่นที่ควรทำให้ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว"
(ธรรมข้อนี้อ่านแล้วอาจจะเข้าใจยากอยู่บ้าง แต่ที่อธิบายมานั้นถูกต้องแล้ว ไม่ได้เขียนคำใดหรือประโยคใดผิด)
                                                          ขอธรรมจงมีแก่ท่าน

ปัญหาธรรมข้อที่ 50
          สภาวะโลกร้อนนั้นมีผลต่อการทำสมาธิหรือไม่ มีผลต่อจิตใจคนหรือไม่ ได้ดูในสารคดี เห็นภัยธรรมชาติ และภัยจากคน รบกวนช่วยให้ความกระจ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยว่าต่อไปโลกจะเป็นอย่างไร คนจะอยู่กันอย่างไร โลกและประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ตลอดจนเวลาที่จะเกิดขึ้น
ตอบ
          สภาวะโลกร้อนนั้นมีผลต่อการทำสมาธิเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสนามแม่เหล็กและคอสมิค ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไม่สมดุล สนามแม่เหล็กที่รุ่นแรงและไม่คงที่ จะทำให้จิตสงบไม่ได้ และหากถ้าทำได้ก็จะทำให้ป่วย เนื่องด้วยสนามแม่เหล็กนั้นเข้าไปรบกวนถึงชั้นภายในของเซลในร่างกาย ลึกลงไปถึงนิวเคลียส ทำสมาธิสงบมากจะทำให้ป่วยได้ ดังที่เราได้เห็นว่าพระเกจิที่มีสมาธิสูงจะป่วยและทยอยตายกันมากขึ้น บางคนก็ไม่มีแรง หรือเส้นเลือดสมองแตกไปเลยก็มี อันนี้มีผลมาจากสนามแม่เหล็กมีมาก และรังสีคอสมิกที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลยในสภาวะปัจจุบัน จะมีแต่รังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
          ส่วนเรื่องอื่นๆนั้น ข้าพเจ้าลำบากใจที่จะกล่าว ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยจากคน ของโลกและของประเทศไทย เหตุเพราะหากกล่าวไปมันจะมีการคลาดเคลื่อนขึ้น แต่อย่างไรมันก็ต้องเกิด ยึ่งเรื่องภายในประเทศ ยิ่งกล่าวไม่ได้เลย ถึงรู้ก็กล่าวไม่ได้
           แต่จะข้อกล่าวในสิ่งที่จะสามารถเชื่อมโยงกันได้ดังนี้
           ก่อนอื่นผู้อ่านต้องเปิดใจก่อนว่า ในโลกใบนี้มีบางสิ่งที่เราไม่รู้ จะบางสิ่งที่เราไม่รู้นั้น ก็มีคนที่ไม่รู้บอกว่าตนรู้ แล้วเอาความรู้ผิดนั้นมาสอนเรานั้นก็มีมาก ดังเช่นเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ 
           เราเคยได้เรียนมาว่ามนุษย์เราเริ่มต้นจาก สิ่งมีชิวิตเดินสองขา มีชื่อเรียกว่า "โฮโมซาเปียน(Homo-sapiens)"  เมื่อ 30,000  ถึง  40,000 ปีก่อน และก็วิวัฒนาการ ร่างกายและความคิดจนมาเป็นมนุษย์ในยุคที่เจริญอย่างเราในปัจจุบันนี้ 
          ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าเราใช้เวลาประมาณ  40,000 ปี จากโฮโมซาเปียนมาถึงยุคของเรา และถือว่ายุคของเราเจริญที่สุด มีเทคโนโลยี่ที่ดีที่สุดที่เคยมีมาในโลกใบนี้
          นั้นคือเรื่องที่เราได้เรียนมาเป็นอย่างนั้น ต่อไปข้าพเจ้าจะขอกล่าวว่าโลกของเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยุคของเราที่มีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำโลก เป็นผู้นำเทคโนโลยี นั้นไม่ใช่ยุคที่เจริญที่สุดในโลกใบนี้
           โลกมีระยะเวลาที่ยาวนาน มีความเจริญสูงสุดและก็ล้มสลายถึงต่ำสุด เป็นอย่างนี้หลายครั้งเกินที่จะนับได้
          การล้มสลายของมนุษย์ที่เจริญด้วยเทคโนโลยีแต่ละครั้งนั้นไม่มีอะไรที่ต่างกันมากนัก
           ในแต่ละยุคนั้นเริ่มแรกด้วยมนุษย์อยู่กันอย่างสงบได้ระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อกิเลสเข้าครอบงำมนุษย์ และสังคมมนุษย์ก็เปลี่ยนไป จากเคยอยู่กันอย่างสงบก็วุ่นวาย ในเรื่องภัยธรรมชาติก็รุนแรงเกินที่จะแก้ไขได้ ในด้านสังคม จิตใจมนุษย์ก็เห็นแก่ตัว เอาแต่ประโยชน์ตัวเองเป็นใหญ่ เอาความคิดตนเองเป็นใหญ่    ก่อนสิ้นแต่ละยุคก็เหมือนๆกัน คนจะแย่งกันเป็นใหญ่ โอ้อวดในความดีที่เป็นหน้ากากเท่านั้น ทั้งโลกตึงเครียดด้วยสงคราม ในแต่ละประเทศก็มีความขัดแย้งภายใน ผู้นำก็ไม่มีศีลธรรม ทำทุกอย่างขอให้ได้เป็นใหญ่ แม้แต่วรรณะกษัตริย์นั้นก็มีการสืบทอดอำนาจด้วยการแย่งชิง ลูกชิงบัลลังค์พ่อ  พ่อต้องหนีออกนอกประเทศเพราะลูกอยากเป็นกษัตริย์ ศีลธรรมจะกลับจากดำเป็นขาว การทำแท้งเคยเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่รู้สึกผิด แต่ก็จะกลายเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล คำว่าสิทธิเสรีภาพจะถูกนำมาใช่อย่างผิดๆ ผู้มีอำนาจในแต่ละประเทศจะทำร้ายประชาชนของตนเอง ภาพลักษณ์ของคนจะตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ประเทศที่อ้างศีลธรรมเพื่อทำลายประเทศอื่นจะเกิดขึ้น ผู้ที่ควรกราบไหว้ในประเทศต่างๆ จีมีฉากหลังที่สกปรก คนพวกนี้ทำทุกอย่างเพื่ออำนาจของตน ฆ่าคนอื่นอย่างไม่กลัวบาป คนไม่ดีจะใช้ความฉลาดและอำนาจทำให้ตนเองตกนรก ฉากหลังเป็นคนทำร้ายประชาชน แต่ฉากหน้าเป็นคนช่วยเหลือ ผู้เฒ่าผู้แก่จะถูกทอดทิ้ง จิตใจจะต่ำจนไม่สามารถแยกถูกกับผิดได้  ความเจริญจะไปในทางวัตถุ ด้านจิตใจจะไร้ศาสนา ใช้เงินตราและกำลังเป็นที่ตั้ง
          ผลสุดท้ายของยุคนั้นๆ จะจบลงด้วยการล่มของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ และทั้งโลก ความตึงเครียดของสงครามก็ยุติด้วยมหาสงคราม    
          ส่วนเรื่องวิกฤตภัยธรรมชาติก็จบลงด้วยภัยธรรมชาติรุนแรงเพียงวันเดียว ทำให้ผู้คนล้มตายลงไปมากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ด้วยแผ่นดินไหว 12 ริกเตอร์ เกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 100 เมตร โลกไหวถึง 12 ริกเตอร์ ทำให้แผ่นที่โลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว แผ่นดินที่อยู่ข้างบนจะเคลื่อนตัวลงทะเล แผ่นดินที่อยู่ใต้ทะเลจะเคลื่อนตัวมาอยู่ข้างบน
          นี้โลกเป็นมาอย่างนี้ หากใครเคยศึกษาปรัชญามาบ้างคงจะรู้จักนักปรัชญากรีกที่ชื่อว่า เพลโต ได้เขียนไว้ในบันทึกว่ามีแผ่นดินหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองได้จมลงในมหาสมุทรภายในข้ามคืน
          ดินแดนที่เพโตบันทึกไว้นั้นเป็นยุคที่มีความเจริญมากกว่าสหรัฐอเมริกาในสมัยของเราซะอีก ในยุคนั้นจบลงด้วยมหาสงครามที่ใช้อาวุธที่มีอนุภาพมากทำลายล้างกัน และหลังจากสงครามหนึ่งเดือนก็เกิดแผ่นดินไหว 12 ริกเตอร์ ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้แผ่นดินที่เจริญนั้นเคลื่อนตัวลงทะเลและลมหายไป เกิดสึนามิ 100 เมตร ประชากรบนโลกล้มตายมากกว่า 90 เปอร์เซ็น ที่รอดตายบางคนก็เสียสติ ผู้คนสิบเปอร์เซ็นที่รอดชีวิตและไม่เสียสติก็สืบทอดกันมาจนถึงยุคของเรา และเรื่องเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็กลายเป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมานาน จนปัจจุบันคิดว่าไม่ใช่เรื่องจริง คิดว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์หลาคนก็พยามพิสูจน์ เพื่อหาดินแดนแอตแลนติกที่เพโตบันทึกเอาไว้
          สงครามในยุคนั้นทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก สองกลุ่มใหญ่ที่ทำสงครามกัน ผูกใจเจ็บกันไม่รู้จักจบสิ้น ตายแล้วเกิดใหม่ก็ทำมหาสงครามกันอีก จนมาถึงยุคของเรา สองกลุ่มนี้ก็ได้กลับมาอีกครั้ง กลุ่มหนึ่งไปเกิดที่อเมริกา ส่วนอีกกลุ่มมาเกิดที่ตะวันออกกลาง อยู่ห่างคนละซีกโลกก็ต้องเดินทางมาฆ่า นี้มันสืบกรรมกันมา
          กี่ยุคๆ ก็เป็นอย่างนี้ จองเวรกันไม่รู้จักจบสิ้น
          ผลที่เกินขึ้นในยุคของเราก็เป็นเช่นเดียวกัน คือเมื่อเกิดมหาสงคราม ต่อมาก็จะเกิดแผ่นดินไหว 12 ริกเตอร์ และอื่นๆ ตามมาเหมือนๆกันทุกยุค
          แผ่นดินไหว 10.5  ริกเตอร์อย่างในภาพยนตร์นั้นนักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ซักวันหนึ่งหลังจากประเทศอิสราเอลถูกโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียสคนตายทั้งประเทศ นับจากนั้นไม่เกินสามวัน เจ็ดวัน แผ่นดินจะไหว 12 ริกเตอร์ และเหตุการณ์อื่นที่เคยเกิดในยุคต่างๆจะเกิดตามมา เหมือนกันไม่มีผิดเพี้ยน       
            สำหรับวันเวลาที่จะเกิดนั้นไม่ว่าจะทั้งโลกหรือในประเทศของเรา ภัยธรรมชาติ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม มันกำลังจะเกิดขึ้น เวลามันอยู่ใกล้แต่ปลายจมูกเรานี้เอง วันนี้ วันที่เขียนนี้ก็อยู่ในช่วงสงกรานต์( 17 เมษายน 2550 ) นับจากนี้อีกไม่กี่วันจุดเริ่มต้นใหญ่กำลังจะเกิด ในประเทศของเราเอง จะเป็นอะไรนั้นก็ต้องดูเอาเอง ไม่สามารถกล่าวได้ในที่นี้
           หากอยากจะมีชีวิตรอดจากเหตุการณ์ร้ายนี้ ก็ขอให้ปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรม ศีลธรรมที่ท่านมีจะทำให้รัศมีในตัวท่านสว่างขึ้น ซึงจะเป็นสิ่งที่ให้ท่านรอดพ้นจากนสิ่งร้าย ๆนี้ไปได้
          หากจะถามว่ารอดแล้วจะพบกับอะไร อย่าได้คิดว่า ตายน่าจะดีกว่าอยู่ ขอตอบสั่นๆว่า หากรอดไปได้ชีวิตในยุคใหม่นั้นจะมีแต่คนดีๆอยู่กัน เป็นสังคมที่น่าอยู่ พุทธศาสนาแท้จะกลับมา เราจะปฏิบัติธรรมได้รวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่างที่มีในยุคนั้นซึ่งในยุคปัจจุบันของเราไม่มี       
                        และนี้คือภาพ (รูปไม่ขึ้นในเวป


ปัญหาธรรมข้อที่  51
                ได้กล่าวถึงจิตเดิมแท้ ขอสอบถามท่านว่าที่อยู่ของจิตเดิมแท้นั้นอยู่ที่ไหนในกายเราครับ
ตอบ
         (คำว่า จิต,จิตเดิมแท้, คำว่า มรรค, คำว่านิพพาน คำเหล่านี้มีความหมายเดียวกัน)
             น้ำในมหาสมุทร มีมากมาย น้ำบางส่วนถูกความเย็นเป็นน้ำแข็ง  น้ำแข็งบางก่อนมีรูปร่างเหมือนสิ่งต่างๆ บางก่อนเหมือนคน บางก่อนเหมือนสัตว์  บางก่อนเหมือนภูเขา ไม่ว่าจะเหมือนอะไร เหมือนคน เหมือนสัตว์ เหมือนภูเขา มันจะเหมือนอะไร มันก็คือน้ำจากมหาสมุทรนั้นอยู่ดี
              คนเราก็เช่นเดียวกัน จะเกิดเป็นอะไร ก็ยังเป็นสิ่งเดิมแท้อย่างนั้น
              น้ำแข็งที่เหมือนสิ่งต่างๆ ถามว่าน้ำอยู่ที่ไหนในก้อนน้ำแข็ง ก็ตอบได้ว่าน้ำอยู่ทุกที่ในก้อนน้ำแข็งนั้น
              คนก็เช่นเดียวกัน สิ่งเดิมแท้ก็อยู่ทุกที่ที่เป็นเรา
              น้ำมีอยู่ในก้อนน้ำแข็ง และก็มีอยู่ในทะเลที่น้ำแข็งลอยอยู่ น้ำมีอยู่ทั้งในน้ำแข็ง และนอกน้ำแข็ง
              สิ่งๆหนึ่งก็มีอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเราเช่นกัน
              น้ำเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของน้ำแข็ง
              สิ่งๆหนึ่งนี้ก็เป็นทุกอย่างของเรา
              น้ำยังคงเป็นน้ำถึงจะเป็นน้ำแข็งเมื่อถูกความเย็นหรือเป็นของเหลวถูกความร้อน
              สิ่งๆหนึ่ง นี้ยังคงเป็น สิ่งๆหนึ่ง ไม่ว่าจะมีอวิชชามีตัณหาร้อยรัดเป็นจิตเราขึ้นมา หรือว่าไม่มีอวิชชาไม่มีแรงตัณหาร้อยรัดเป็นจิตเราขึ้นมาก็ตาม สิ่งๆ หนึ่ง นี้ ก็ยังคงเป็นสิ่งๆเดิมของมัน
              เมื่อน้ำแข็งเกิดจากน้ำ ถามว่าน้ำอยู่ตรงส่วนไหนของน้ำแข็ง ตอบได้ว่าอยู่ทุกส่วนของน้ำแข็ง
              การที่เราเกิดจากสิ่งๆหนึ่ง ถามว่าสิ่งๆหนึ่ง นี้อยู่ตรงส่วนไหนของเรา ตอบว่าอยู่ทุกส่วนของเรา
              ถามว่าหากน้ำแข็งบางส่วนแตกหักไป แล้วน้ำอยู่ที่ไหน ตอบได้ว่าน้ำก็อยู่ในส่วนที่ยังไม่แตกหัก และอยู่ในส่วนแตกหัก และอยู่ในที่น้ำละลายไปแล้ว
              เราก็เหมือนกันเมื่อวันที่เราแตกหักไปบ้าง แขนขาขาด สิ่งๆหนึ่งนี้ก็มีอยู่ในส่วนที่ยังไม่ขาดและอยู่ในส่วนที่ขาด และอยู่ในส่วนที่สลายหายไปไม่เป็นชิ้นเป็นอันนั้นด้วย
              จริงๆแล้ว เราเป็นผู้เข้าใจผิดคิดว่าสิ่งๆนี้อยู่ในเรา แต่จริงๆแล้ว เรานั้นอยู่ในสิ่งๆนี้ ประดุจดัง เราเข้าใจว่าน้ำอยู่ในน้ำแข็ง แต่จริงๆแล้วน้ำแข็งนั้นอยู่ในน้ำ น้ำแข็งลอยอยู่ในมหาสมุทรหรือว่ามหาสมุทรลอยอยู่ในน้ำ
            จิตเดิมแท้มีอยู่แล้วในจักรวาล มีอยู่ทุกที่ไม่มีที่ใดว่างจากจิตเดิมแท้ ดุจดังเช่น น้ำอยู่ทุกที่ในมหาสมุทร ก้อนน้ำแข็งอยู่ในมหาสมุทรหรือมหาสมุทรอยู่ในก้อนน้ำแข็งให้คิดดูให้ดี
               "จิตเดิมแท้"  นั้นมีอยู่ทุกที  ไม่มีที่ใดเลยที่ไม่มีจิตเดิมแท้
 น้ำกลับมหาสมุทรอะไรใหญ่กว่ากัน ตอบว่าเสมอกัน น้ำสุดที่ใดมหาสมุทรก็สุดที่นั้น
                จิตกับจักรวาลอะไรใหญ่กว่ากัน ตอบว่าเสมอกัน จักรวาลสุดที่ใดจิตก็สุดที่นั้น
 น้ำอยู่ในทุกอณูของน้ำแข็งรูปคน น้ำอยู่ในทุกอณูของน้ำแข็งรูปสัตว์และรูปอื่น  เช่นเดียวกัน  จิตเดิมแท้ ก็อยู่ในทุกที่ ของเรา และในทุกที่ของสิ่งอื่นๆ
                สรุปง่ายๆก็คือ น้ำแข็งมันเป็นส่วนหนึ่งของน้ำมหาสมุทร เราก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตเดิมแท้ ส่วนหนึ่งของจักรวาล         
                หวังว่าคงพอเข้าใจแล้วว่า ตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของจิตเดิมแท้ อย่าได้เข้าใจผิดคิดว่าจิตเดิมแท้เป็นส่วนหนึ่งของเรา
               เราเกิดมามีตระกูล หรือว่าตระกูลมีเรา
               ตระกูลอยู่ในเรา หรือเราอยู่ในตระกูล
               เราเกิดมาตระกูลของเราก็มีอยู่แล้ว
               เรามีตระกูล หรือตระกูลมีเรา
               ไม่มีเราตระกูลก็ยังเป็นตระกูล เพราะตระกูลนั้นมีมาแต่เดิมอยู่แล้ว เราจะเกิดมาหรือไม่เกิดมา ตระกูลก็ยังมีอยู่
              หากข้าพเจ้าถามท่านว่าตระกูลจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่หากท่านไม่ได้เกิดมา
              หากท่านตอบว่าตระกูลยังคงมีอยู่ หากท่านตอบเช่นนั้นท่านยังตอบไม่ถูก
              แต่หากท่านตอบว่าตระกูลไม่มีอยู่  หากท่านตอบเช่นนี้ท่านก็ยังตอบไม่ถูก
              เอ้า?....อย่างนี้มันกวนกันนี้นา ตอบว่ามี ก็ไม่ใช้  ตอบว่าไม่มี ก็ไม่ใช่
              ตอบอะไรก็ไม่ถูกแล้วให้ตอบว่าอย่างไร
        คำเฉลยก็คือ เมื่อท่านไม่ได้เกิดมา แล้วท่านจะมาฟังคำถามนี้ได้อย่างไร  เมื่อท่านไม่ได้ฟังคำถามนี้ แล้วท่านจะตอบได้อย่างไร ...สรุปคือเมื่อ ท่านไม่ได้เกิดมา แล้วท่านจะตอบคำถามได้อย่างไร ทำถามนี้จึงไม่มี
      มันไม่มีทั้งคนตอบและคนถาม เพราะเมื่อท่านไม่ได้เกิดมา แล้วคนถามจะเอาคำถามมาถามท่านได้อย่างไร
สรุปก็คือ ไม่มีสิ่งที่เกี่ยวเนื่องที่ว่ามานี้ได้เลยหากท่านไม่ได้เกิดมาในโลกนี้
หวังว่าท่านจะพอเข้าใจในคำตอบที่ได้อธิบายมานะครับ
***  ครั้งหนึ่ง เคยมีคนถามท่านพระอาจารย์ว่า
ผู้ถาม : ......................   "ท่านพระอาจารย์ จริงๆแล้วนิพพาน คืออะไรกันแน่คะ"
ท่านพระอาจารย์ : ......."นิพพานมันก็เหมือนห้องนี้ละคุณโยม ในห้องนี้มีเก้าอี้ มีโต๊ะ มีที่นั่ง    นิพพานมันก็เป็นอย่างนี้ละคุณโยม"  

ขอธรรมจงมีแต่ท่าน  


ปัญหาธรรมข้อที่ 52
         พระบางรูปสามารถรู้วาระจิต หลวงปู่หลวงตาบางท่านก็สามารถรู้ว่าคนที่มาหาคิดอะไรอยู่ในใจ มีความทุกข์อะไรมา
       อยากจะถามว่าในเมื่อความคิดอยู่ในสมองของเรา แล้วทำไมพระท่านรู้ความคิดเราได้อย่างไร
ตอบ
          การรู้ความคิดคนอื่นนั้นข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่าเขาทำกันได้กี่แบบ ไม่รู้ว่าอาศัยดำรงระดับใด แต่จะขอกล่าวถึงวิธีที่พระอริยะเจ้าท่านทำกัน
   ก่อนอื่นเราควรจะมีความรู้ก่อนว่าความคิดนั้นคืออะไรและอยู่ที่ใด?
   ตามที่เราเรียนทางโลก ความคิดของเรามันก็คือการทำงานของระบบประสาททางสมอง และก็อยู่ในสมอง ในทางโลกมีความรู้เพียงแค่นี้ จึงคิดว่า ความคิดของคนคนหนึ่งน่าจะอยู่ในสมองของคนคนนั้นเท่านั้น ความคิดของคนคนนั้นนอกจากคนผู้นั้นแล้วย่อมไม่มีใครไปรู้ได้ว่าเขาคิดอะไร นี้ละคือความรู้ทางโลกที่ยังไม่รู้ถึงที่สุด
     แล้วความรู้เรื่องความคิดนั้นเป็นเช่นไร  ทางธรรมนั้นสามารถเข้าถึงที่สุดนั้นแล้ว จึงสามารถไปรู้ความคิดผู้อื่นได้
     ในทางธรรมสามารถอธิบายเรื่องความคิดให้เราเข้าใจดังนี้
    เมื่อเราคิด ความคิดไม่ได้อยู่แค่ในสมองเท่านั้น พลังงานความคิดไหลวนอยู่รอบกายเรา  เป็นพลังงานที่เรามองด้วยตาไม่เห็น  พลังงานความคิดของเรานี้ไม่ได้อยู่แต่ในสมองหรือในร่างกายเราเท่านั้น มันยังไหลวนอยู่นอกกายเป็นพลังงานอยู่รอบตัวเรา พลังงานความคิดเหล่านี้ที่พระอริยะเจ้าท่านสามารถรับรู้ได้  ยิ่งอริยะเจ้าระดับครูอาจารย์นั้นท่านสามารถรับรู้ทุกอย่างในความคิดของเรา ครูอาจารย์ระดับนี้สามารถรู้ความคิดเราแม้เราจะอยู่ห่างไกลเป็นพันเป็นหมื่นกิโลเมตร ท่านก็สามารถทำได้ แล้วนับประสาอะไรกับระยะแค่ไม่กี่เมตร ในห้องศาลาวัดท่านทำไมจะไม่รู้
      ยกตัวอย่างง่ายๆ  ขอถามท่านว่า ท่านเคยรู้สึกอึดอัดเมื่ออยู่ใกล้ใครบ้างคนที่เราไม่เคยรู้จัก และท่านเคยรู้สึกดีเมื่ออยู่ใกล้คนบางคนที่เราไม่รู้จักบ้างไหม   แม้เราพบคนคนนั้นครั้งแรกก็ทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นได้ สิ่งเหล่านี้ละคือการเปลี่ยนถ่ายพลังงานจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง โดยที่มีใจเป็นตัวรับรู้
       มีผู้มีดวงตาเห็นธรรมท่านหนึ่งท่านเดินทางด้วยเครื่องบิน ก่อนขึ้นเครื่องบินท่านก็เป็นปรกติดี แต่พอขึ้นเครื่องท่านก็รู้สึกปวดหัว ท่านจึงถามคนข้างๆที่นั่งใกล้ๆท่าน โดยที่ท่านไม่เคยรู้จักกับคนคนนั้นมาก่อนเลย ท่านถามเขาว่า “น้อง  นี้น้องเป็นมายเกรนใช้ไหม”    น้องคนนั้นตอบว่าใช้  และท่านจึงถามต่อว่า “แล้วตอนนี้น้องหายปวดแล้วใช้ไหม”  น้องคนนั้นตอบว่าใช้ แล้วถามว่า พี่รู้ได้อย่างไรว่าเป็นมายเกรน และตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว ท่านผู้นั้นจึงตอบว่า เพราะตอนนี้มายเกรนของน้องมาอยู่ที่พี่แล้วพี่ก็เลยรู้และน้องก็เคยดีขึ้น
       ตัวอย่างที่ยกมานี้คือพลังงานของอารมณ์   เราจะรู้สึกดีถ้าอยู่ใกล้คนที่ดี เราจะสึกอีดอัดเมื่ออยู่ใกล้คนที่มีอารมณ์อึดอัน
        อีกตัวอย่างหนึ่งไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเคยเป็นหรือเคยได้ยินมาหรือเปล่าว่าเมื่อผู้เป็นภรรยาตั้งท้อง และเกิดอาการแพ้ท้อง  จะมีสามีบางคนเกิดอาการแพ้ท้องแทนเมีย   เรื่องนี้แถวบ้านข้าพเจ้ามีคุณน้าอยู่ท่านหนึ่ง ในช่วงที่เมียแกท้อง เมียแกจะไม่รู้สึกแพ้ท้อง แต่ตัวสามี มีอาการอาเจียน เหมือนคนท้องทุกอย่าง  ถามผู้เฒ่า ผู้แก่ แกบอกว่าน้าคนนั้นแกแพ้ท้องแทนเมีย  นี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยกมาให้เห็น นี้เป็นแค่เรื่องการถ่ายเทพลังงานทางอารมณ์เท่านั้น
     แต่ถ้าหากอยากจะรู้ความคิดของคนอื่นละก็ อริยะเจ้าท่านจะทำจิตนิ่งๆ ให้พลังงานความคิดของคนอื่นไหลเขาหาท่าน และท่านก็จะรู้ได้เลยว่าคนคนนั้นคิดอะไรอยู่  อริยะเจ้าบางท่านก็ใช้ใจของท่านทาบทับไปบนใจของผู้อื่น เท่านี้ท่านก็จะรู้ความคิดของผู้อื่น การรู้ความคิดนี้ท่านก็รู้เหมือนกับคนคนนั้น ไม่ว่าเขาคิดอะไร เห็นภาพอะไรท่านก็เห็นด้วย และท่านยังสามารถรู้ลึกได้ยิ่งกว่าความคิดของคนคนนั้นลงอีก ท่านสามารถรู้ได้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เป็นมาด้วยกรรมอันใดจึงเป็นเช่นนั้น
       พลังงานอารมณ์และความคิดนี้คนธรรมดานั้นไม่สามารถทำได้ ยิ่งละเอียดลงไปมากๆ แม้แต่อริยะเบื้องต้นก็ไม่สามารถรับรู้ได้ จะต้องเป็นอริยะเบื้องสูงอย่างพระอรหันต์เท่านั้นจึงจะสามารถรับรู้ได้
      ดังตัวอย่างสมัยพุทธการ เมื่อพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  ความละเอียดของพลังงานของพระพุทธเจ้านั้นละเอียดมาก บุคคลธรรมดาหรืออริยะขั้นต้นนั้นไม่สามารถรับรู้ได้  ผู้ที่สามารถรับรู้ได้ก็มีแต่พระอรหันต์   แม้จะอยู่ไกลพระอรหันต์เหล่านั้นก็สามารถรับรู้พลังงานนี้ได้ พระอรหันต์เจ้าจึงเดินทางมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายในคืนวันเพ็ญเดือนสาม ซึ่งมีพระอรหันต์ที่เป็นเอหิภิกขุ(พระที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง) และเป็นผู้ได้อภิญญา6    มาประชุมพร้อมกัน 1,250 รูป ในคืนวันเพ็ญเดือนสาม (วันมาฆบูชา)
     เรื่องพลังงานอารมณ์และความคิดเป็นเช่นนี้  สิ่งนี้เองที่กล่าวได้ว่า  “ความลับไม่มีในโลก” คนเราทำความชั่วอะไรไว้อย่าคิดว่าคนอื่นไม่รู้
       ขอให้เราทำดีทั้ง กาย วาจา และใจ
       อย่าดีแต่พูด ใจ การกระทำต้องดีด้วย
       ธรรมนั้นโกหกกันไม่ได้  คนที่ไม่ได้ธรรมแล้วบอกว่าตนได้ธรรม วันใดที่พบกับอริยะบางท่าน อริยะบางท่าน ท่านสามารถรู้ได้ว่าเราเห็นธรรมจริงหรือเปล่า ได้โดยไม่ต้องใช้ดำรง ท่านเพียงดูจากพลังงานที่กระทบกับจิตของเราท่านก็รู้ว่าเราเห็นธรรมหรือยัง และรู้ด้วยว่าเราติดอะไร และจะแก้ได้อย่างไร อริยะเจ้าระดับสูงท่านรู้ได้ถึงขนาดนี้  
        มีครั้งหนึ่งผู้มีดวงตาเห็นธรรม ท่านหนึ่ง ได้ไปวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าสำนักนั้นมีชื่อเสียงมาก คนบางคนบอกว่าเจ้าสำนักนั้นเป็นอรหันต์แล้วก็มี บางก็ว่าท่านเป็นโพธิสัตว์  ท่านผู้มีดวงตาเห็นธรรมท่านนั้นท่านก็แต่งตัวเหมือนชาวบ้านทั่วไป ท่านก็เข้าไปนั่งฟังธรรมรวมกับคนอื่น ท่านก็เห็นเจ้าสำนักและลูกศิษย์ออกมาด้วยอาการสำรวม นั่งเป็นระเบียบดูงดมาก ท่านผู้มีดวงตาเห็นธรรมท่านนั้นก็มองไปที่ใจของพระแต่ละรูปในสำนักนั้น ท่านก็รู้ว่า สำนักนี้ดูภายนอกงดงาม แต่ภายในยังไม่ถึงธรรม ยังต้องปฏิบัติอีก สำนักนี้ยังไม่เห็นทางสายกลาง  ยังไม่เห็นมรรคผลนิพพาน ท่านเห็นดังนั้นท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร ท่านก็ยังฟังธรรมของท่านไปตามสมมุตติ เพราะสมมุตติของท่าน ท่านเป็นแค่นักศึกษาที่มาฟังธรรมกับหมู่คณะเท่านั้น สำนักนี้ปัจจุบันก็ยังคงอยู่และก็มีคนนับถืออยู่มาก สำนักนี้เป็นวัดอยู่ในจังหวัดใกล้กับกรุงเทพ ท่านเจ้าอาวาสมีชื่อเสียงจากการฝึกสติแม้ขณะนอนหลับในถังอุจจาระ ท่านยังดูไม่แก่ แต่เป็นหลวงปู่แล้ว
       นี้ความจริงแห่งธรรมโกหกกันไม่ได้  เราจะบอกว่าคนนั้นเป็นอรหันต์ คนนี้ไม่ใช้อรหันต์ เราจะมายกย่องกันเองไม่ได้ อรหันต์ไม่ใช่ยศศักดิ์ที่จะแต่งตั้งกันได้ อรหันต์เป็นสภาวะที่เข้าถึงธรรมและพ้นโลกไปแล้ว
       เราคนธรรมดาไม่ควรจะไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าคนนั้นเป็นอรหันต์ หรือว่าคนนั้นไม่ใช่อรหันต์ เพราะถ้าหากท่านเป็นอรหันต์หรืออริยะเจ้าจริงแล้ว หากเราไปวิจารณ์ กรรมนั้นจะมีแก่เราได้  แม้แต่ข้าพเจ้าก็ยังไม่อยากจะพูดถึง หากไม่แน่ใจ แต่ที่พูดถึงก็แน่ใจว่าไม่ใช่อรหันต์จึงกล้าที่จะพูดแต่ก็ไม่เอ่ยนามให้ท่านเสียหายถึงท่านเหล่านั้นจะไม่ใช่อรหันต์ก็ตาม  อริยะเจ้าท่านไม่อยากจะพูดอะไรที่มันขัดกับโลกมากนักถ้ามันไม่จำเป็น แต่หากท่านจะพูดก็เพื่อทางธรรมเท่านั้น ท่านไม่ได้พูดวิพากษ์วิจารณ์ด้วยอารมณ์เมามัน
      “ความลับไม่มีในโลก”  แม้แต่ความคิดเราก็ยังไม่เป็นความลับ   ฉะนั้นหากไปกราบพระ นอกจากสำรวมกายวาจาแล้วละก็ เราต้องสำรวมความคิดด้วย เพราะความคิดเราพระท่านรู้นะ แต่อยู่ที่ว่าท่านจะพูดหรือเปล่า
 ขอธรรมจงมีแต่ท่าน   16 กย 50        
ปัญหาธรรมข้อที่ 53
                    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า "ธรรมนั้นไม่จำกัดกาล" หมายความว่าเราสามารถบรรลุธรรมได้ทุกเวลาใช้หรือไม่ แล้วเหตุใดธรรมจึงไม่จำกัดกาล
ตอบ
              อดีต ปัจจุบัน อนาคต สิ่งเหล่านี้คือเวลา เมื่อมีเวลา ก็มีโลก
  อดีต ปัจจุบัน อนาคต จึงยังไม่พ้นโลก สิ่งเหล่านี้ละเป็นเวลา และเวลานี้ละที่ทำให้เกิด ภพ เกิดชาติ ชรา และมรณะ
            เวลาคืออะไร  อะไรคือเวลา ?
 เวลาคือแรงสืบต่อ เวลาแต่ละที่ก็ไม่เท่ากัน โลกมีแรงสืบต่อโดยประมาณ 1 วินาที นั้นหมายถึงโลกมีแรงสืบต่อเป็นจังหวะที่คงที่ จังหวะละ 1 วินาที

แรงสืบต่อนี้ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็น ก็ให้ดูที่หัวใจของเรา หัวใจของแต่ละคนในสภาวะปกติ ก็จะคงที่ เป็นจังหวะคงที่ เต้น ตึบ ตึบ 
เวลาที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คืออะไร
       เวลาที่เป็นอดีต   ก็คือ    จังหวะการเต้นหรือการสืบต่อที่ผ่านไปแล้ว
       เวลาปัจจุบัน        ก็คือ    จังหวะการเต้นหรือการสืบต่อในขณะนั้น
       เวลาอนาคต        ก็คือ     จังหวะการเต้นหรือการสืบต่อไปข้างหน้าจากปัจจุบัน
แรงสืบต่อหรือในภาษาธรรมเรียก สันตติ
อดีตที่จิตเราได้ผ่านมาแล้วนั้น มันไม่ได้หายไปไหน ข้อมูลทุกอย่าง มันยังคงถูกเก็บไว้ที่จิตของเรานี้เอง
หากใครต้องการพิสูจน์ ก็จะบอกวีธีให้นำไปพิสูจน์กัน และวิธีที่จะกล่าวนี้หากทำจนเห็นแรงสืบต่อจนเป็นปรกติ ก็สามารถดับขันธ์ นิพพานกันในชาตินี้ได้เลย
วิธีมีดังนี้
  อันดับแรก ต้องหาแรงสืบต่อของธรรมชาติให้พบก่อน
              เราอาจใช้จับชีพจร หรือจับจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ ให้เห็นเป็นจังหวะหัวใจเต้น ตึบ ตึบ ตึบ ตึบ ....ดูจังหวะการเต้นให้ชัดเจน  ให้เห็นการสืบต่อ ตึบ ตึบ ตึบ ดูแรงสืบต่อให้จัดเจน ทำไปเรื่อยๆ เมื่อชัดเจนขึ้น แรงสืบต่อจะมีจังหวะเป็นแรงสืบต่อตามธรรมชาติหรือสันตตินั้นเอง และเมื่อเห็นสันตติเป็นปรกติชัดเจนแล้ว หากเราทำแรงสืบต่อนี้ให้เป็นปรกติ และดำรงความเป็นปรกนี้ได้ มรรคผล นิพพาน จะปรากฏแก่เราในชาตินี้เอง
สำหรับการย้อนเวลาเพื่อดูอดีตชาตินั้น ให้เราใส่เจตนาเข้าไปว่าอยากรู้อดีต เมื่อเราทำได้ดังนั้นแล้ว สัตติหรือแรงสืบต่อนี้ ก็จะสืบต่อไปยังอดีต เหตุการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแก่เราจะปรากฏให้เราเห็นชัดเจน เหมือนดังเรากำลังนั่งชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เรื่องที่เราได้เห็น แรกๆเราจะไปเข้าใจ แต่พอซักครู่หนึ่ง เราก็จะรู้ขึ้นมาในจิตเราว่า คนที่เราเห็นอยู่ข้างหน้านั้น คือตัวเราเอง อดีตที่เกิดขึ้นปรากฏให้เราเห็นในชาติต่างๆ เราอาจชอบใจ หรือไม่ชอบใจบ้าง เพราะบางชาติก็เกิดมาสูงศักดิ์บ้าง ต่ำศักดิ์บ้าง เป็นกษัตริย์ เป็นเจ้าชาย เป็นเจ้าหญิง เป็นคนจน หรือเป็นขอทาน เป็นคนขาว เป็นคนดำ
      การได้เห็นอดีตชาติของตัวเองก็ถือเป็นสิ่งที่ดีในทางธรรม เพราะจะให้เราเห็นว่าโลกนั้นเป็นทุกข์ เกิด แล้วก็ตาย เกิดแล้วตาย อยู่อย่างนี้ ทุกข์ทรมานเหลือเกิน
ทำให้เราลดความอยากลงได้ เพราะอะไรก็เป็นมาหมดแล้ว ชาตินี้ก็อยากจะพอแล้ว อยากจะจบแล้ว คนจนหรือขอทานก็เคยเป็น กษัตริย์ก็เคยเป็น เทวดา หรือพรหมก็เคยเป็น เงินทองก็เคยมีมากมาย แต่สุดท้ายเมื่อตายก็เอาไปไม่ได้ เกิดมาใหม่ก็ทุกข์วนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
      สำหรับผู้ที่อยู่กับสมมุติของโลก ก็ดำรงสมมุติให้ถูกต้อง เพราะเมื่อได้เห็นอดีต อาจทำให้เราเห็นความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่น หากเราเห็นเช่นนั้นก็อย่าไปติดกับมัน ปล่อยมันไป เพราะถ้าเราไปติดกับมัน สมมุตติทางโลกของเราจะวุ่นวาย เพราะหากเราไปเห็นอดีตชาติว่า คนนั้นเคยเป็นพ่อเรา คนนั้นเคยเป็นแม่เรา คนนั้นเคยเป็นพี่น้องเรา คนนั้นเคยเป็นสามีหรือภรรยาของเรา หากเรารู้เช่นนี้แล้วเราต้องวางเฉย เพราะมันอยู่คนละชาติกัน ชาตินี้มันไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว คนที่เคยเป็นสามีหรือภรรยาเราในอดีตชาติ ชาตินี้เขาอาจเป็นสามีหรือภรรยาผู้อื่น เราจะไปมีความรู้สึกกับเขาไม่ได้ มันจะทำให้โลกสมมุติในชาติปัจจุบันสับสนวุ่นวาย และจะไปเพิ่มกรรมให้แก่ตัวเองเสียเปล่า หรือเราไปเห็นว่าชาติที่แล้วคนนั้นหรือคนนี้เคยทำร้ายเรา เคยทำไม่ดีต่อเรา ในชาตินี้เราจะนำความรู้สึกเจ็บแค้นกับเขาไม่ได้ เพราะมันจะจองเวรกันไม่สิ้นสุด ขอให้เราให้อภัยแก่เขา กรรมมันจะได้หมดๆกันไป เพราะหากไปจองเวรกันอีก มันจะไม่จบสิ้น จองเวรกันไปจองเวรกันมา ไม่ต้องไปไหนกันเลย ไม่ได้พัฒนาจิตกันเสียเลย  
     การดูแรงสืบต่อนี้ประโยชน์สูงสุดที่แท้จริงเพื่อความหลุดพ้น มรรคผล นิพพาน เพราะเมื่อจิตเห็นแรงสืบต่อชัดเจน จนอยู่เหนือแรงสืบต่อนี้ได้ เมื่อจิตพ้นแรงสืบต่อนี้ไปได้ ในสภาวะนั้นจะไม่มี อดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต เป็นทางสายกลางโดยสมบูรณ์ สภาวะนั้นคือมรรค คือนิพพานนั้นเอง 
     จากที่ได้อธิบายไปแล้วนั้นคงจะพอตอบคำถามท่านได้บ้างว่าเหตุใดธรรมจงไม่จำกัดกาล เหตุใดธรรมจึงพ้นไปจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ธรรมนั้นคงที่ เสมอกันหมด ไม่เป็นอดีต ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอนาคต ไม่ติดข้างใดข้างหนึ่ง ธรรมจึงไม่จำกัดกาลด้วยเหตุดังที่กล่าวมา
    หากเราเข้าใจว่าธรรมคือเวลาในปัจจุบัน นั้นหมายความว่า อดีตนั้นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว เราได้สร้างเหตุไว้แล้ว ปัจจุบันเราจึงได้เสวยผลการกระทำหรือผลกรรมที่ได้สร้างไว้ในอดีต
     หากเราเข้าใจว่าธรรมคือเวลาในปัจจุบัน นั้นหมายความว่า อนาคตย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เพราะในปัจจุบันที่เรารู้สึกนี้ย่อมเป็นเหตุ ให้เกิดผล อนาคตที่รับผลการกระทำหรือผลกรรมจะเกิดขึ้นแก่เราทันที่
    เวลาอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นแค่การสืบต่อเท่านั้น การสืบต่อตามธรรมชาติหรือสันตตินี้ หากยังมีอยู่ย่อมมีชาติ มีภพ มีชรา มีมรณะ
    เมื่อมีชาติ มีภพ มีชรา มีมรณะ แล้วจะมีธรรมได้อย่างไร
 “ธรรมนั้นไม่ใช่อะไรเลย ไม่ใช่อะไรเลย แม้แต่ตัวธรรมที่กล่าวอยู่นี้ก็ไม่ใช่ธรรม   แล้วธรรมคืออะไร ก็ยังขอยืนยันอีกครั้งว่า ไม่ใช้อะไรเลย สิ่งทั้งหลายทั้งมวล ไม่มีอะไรเป็นธรรมได้เลย ให้เลิกคิดถึงมันซะ แล้วมันกระจ่างในตัวของมันเอง
          ขอธรรมจงมีแก่ท่าน

ปัญหาธรรมข้อที่ 54
        ผมรู้จักพุทธแท้ จากเพื่อนทางธรรมของผมคนหนึ่ง  ผมจึงได้อ่านจนเรื่อง วัฏฏะแห่งจักรวาล ( ขออนุญาตตั้งชื่อเรื่องให้ครับ ) ที่คุณได้กล่าวไว้ ขณะที่อ่านนั้นผมรู้สึกทึ่งและอึ้งมากครับ  เพราะก่อนหน้านั้นเพียงแต่ศรัทธาว่าจักรวาลนี้คงไม่เที่ยงแต่อนุมานไม่ถูกจริง ๆ ว่าจักรวาลจะเกิดและดับได้อย่างไร  อาจเพราะปัญญายังน้อยจึงทำให้มีความสงสัยอยู่มากเช่นกัน เช่น ถามไม่มีสมาธิแล้วจะบรรลุธรรมได้อย่างไร  แต่ตัวผมไม่เคยสงสัยเลยว่าคุณบรรลุธรรมหรือไม่ หนำซ้ำยังคงมีแต่ความศรัทธา
        จากนั้นผมก็ได้ศึกษาธรรมมาเรื่อย ๆ มา ผมไม่มีครูอาจารย์คอยแนะนำ การศึกษาธรรมจึงเป็นการศึกษาธรรมด้วยตัวเองกับเพื่อนธรรมของผมคนหนึ่ง  โดยศึกษาจากหนังสือตำราต่าง ๆ ที่คิดเอาเองว่าผู้เขียนหนังสือนั้น สอนธรรมแท้ ๆ เช่น (ขออนุญาตเอ๋ยชื่อครับ) อาจารย์สุจินต์ บริหารวรเขตน์หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภหลวงปู่ดุลย์หลวงตาวัดป่าโสมพนัส สกลนคร, อาจารย์ พ.นวลจันทร์ และอื่น ๆ อีกมาก ทำให้ผมมีความเข้าใจในธรรมมากขึ้น ซึ่งผมขอสรุปความเข้าใจธรรมในตัวผมได้ดังนี้ 
         ช่องว่างของจิต ไม่ใช่ จิต   ช่องว่างของ จักรวาล ไม่ใช่ จักรวาล
         ช่องว่างของจิต จะไปร่วมอยู่กับช่องว่างของจักวาล
         จิต  คือ  จักรวาล
        โดยผมได้ความเข้าใจนี้มาจากการพิจารณาจากอนุภาคของอะตอมต่าง ๆ  ซึ่งมี โปรตอน นิวตรอน และอิเล็คตรอน โปรตอน กับ นิวตรอน จะหมุนรอบตัวเอง  โดยมีอิเล็คตรอน  หมุนอยู่รอบ ๆ อะตอมต่าง ๆ เมื่อรวมกันเป็นโมเลกุล เช่น น้ำ ( H2) อะตอมของ Hและ O จะดึงดูดกันอยู่ ไม่ได้รวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน อะตอมแต่ละอะตอมที่ดึงดูดกันจะมีช่องว่างระหว่างอะตอมอยู่  แต่เราไม่สามารถสัมผัสช่องว่างนี้ด้วยอายตนะของเรา เพียงแต่สัมผัสได้ว่าแต่ละอันเป็นสสารเป็นสิ่งของ และเพราะมันมีช่องว่างนี้แหละจึงทำให้สิ่งทั้งหลายในจักรวาลนี้ไม่เที่ยง   สิ่งของ สสาร และพลังงานทุกอย่างในจักรวาลนี้ล้วนเกี่ยวเนื่องด้วยจิตทั้งนั้น โดยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่ในระดับอนุภาค ( โปรตอน นิวตรอน และอิเล็คตรอน )  “ช่องว่างอีกในความหมายของผม ก็คือการคืนสู่ธรรมชาติของ จิต สสาร และพลังงานต่าง ๆ  ในสภาวะเดิมของมัน
        จากสิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้น  เนื่องด้วยผมไม่มีครูอาจารย์คอยแนะนำ  ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือผิด  เพราะยังไม่บรรลุธรรม จึงขอความกรุณาจากท่านช่วยชี้แนะในสิ่งที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นว่าถูกผิดประการใด  ตามที่เห็นสมควร       
    ด้วยความเคารพศรัทธาอย่างสูง
 ตอบ 
สำหรับสิ่งที่คุณสรุปเรื่องการเข้าใจธรรมของคุณ เกิดจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของคุณนั้น ยังมี  “ มานะ ” อยู่
“ มานะ ” นั้นหมายถึงการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งๆ หนึ่งกับสิ่ง ๆ หนึ่ง ว่าเหมือนกันหรือต่างกัน เปรียบเทียบว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นคนละสิ่ง
           ธรรมนั้นพ้นจากการเปรียบเทียบทั้งหลายทั้งมวลไปแล้ว
 ขออธิบายให้เข้าใจดังนี้
          เล็กลงไปในระดับอะตอม  เช่น โปรตอน นิวตรอน อิเล็คตรอน  ทั้งหมดนี้ก็เกิดจากจิต  
 ช่องว่างระหว่างอิเล็กตรอน นั้นว่างจริงหรือ
หากว่างจริงแล้วเหตุใดอิเล็คตรอนจึงไม่หลุดลอยออกไปจากนิวตรอน เหตุใดอิเล็คตรอนยังคงหมุนอยู่รอบนิวตรอนเช่นนั้น
ดังดวงอาทิตย์กับโลก ระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์นั้นว่างจริงหรือ
หากว่างจริง แล้วเหตุใดโลกจึงไม่หลุดลอยออกไปจากดวงอาทิตย์ เหตุใดโลกยังคงหมุนรอบดวงอาทิตย์อยู่เช่นนั้น มันต้องมีพลังงานอะไรบางอย่างเป็นแน่แท้ที่ดึงดูดให้มันอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะใหญ่ระดับจักรวาลอย่างดวงอาทิตย์กับโลก หรือระดับที่เล็กลงไปในอะตอมระหว่างนิวตรอนกับอิเล็กตรอน
ตลอดจนการรวมตัวกันของอะตอมที่มากกว่าหนึ่งอะตอมขึ้นไป การที่มันรวมตัวกันได้ ย่อมมีพลังงานใดพลังงานหนึ่ง เป็นแรงดึงให้มันอยู่รวมกันได้และช่องว่างของการรวมตัวระหว่างอะตอมนั้นย่อมไม่ได้ว่างอย่างที่เข้าใจ เพราะถ้ามันว่างมันจะต้องหลุดแยกออกจากกัน เมื่ออะตอมตั้งแต่สองตัวขึ้นไปสามารถอยู่รวมกันได้ นั้นแสดงย่อมว่ามีพลังงานใดพลังงานหนึ่งทำหน้าที่ดึงดูดให้มาอยู่รวมกัน
 “สิ่ง ๆ หนึ่ง” ที่เป็นสิ่งตั้งต้นของทุกสิ่ง แม้แต่จักรวาลนี้ก็เกิดขึ้นจากสิ่ง ๆ นี้   ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ โลก ต้นไม้ ก้อนหิน ก็เกิดจากสิ่งเดิมแท้นี้ และเช่นเดียวกันกับทุกสิ่งในจักรวาลเมื่อดับสลายไปก็จะกลับสู่สิ่งตั้งต้นเดิมของมัน
หากจะแยกตามหลักวิทยาศาสตร์ จักรวาลก็มีเพียงพลังงานและสสารเท่านั้น และหากจะให้ลึกลงไปอีก สสารหรือวัตถุต่าง ๆ ก็เกิดจากพลังงาน และเมื่อดับสลายไปก็จะกลับคืนสู่พลังงาน
สรุปได้ง่าย ๆ ก็คือทั้งจักรวาลเป็นแค่  “พลังงาน” และ
          “พลังงาน” ก็เป็น “จิต”       “สสาร”  ก็เป็น “จิต
ฉะนั้น ทั้งจักรวาลก็เป็นเพียงแค่สิ่งหนึ่งเท่านั้น สิ่งหนึ่งนี้ ที่พุทธศาสนาให้สมมติว่า จิต ( จิตเดิมแท้ )  “สิ่งนี้” มีภาษาทางโลกมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน แต่มีความหมายเดียวกันไม่ว่าจะเป็น จิตเดิมแท้ มรรค นิพพาน  ตถาตา ธรรม  สภาวะเซน  ใช้เรียกแทนสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งเดิมแท้ ๆ ของทุกสิ่ง
       เมื่อนิวตอน คือจิต
      เมื่ออิเล็คตรอน คือจิต
      เมื่อช่องระยะทางระหว่างอิเล็คตรอนและนิวตรอนก็ คือจิต
       ดังนั้นจิตก็อยู่ในจิต
       และจิตก็หมุนรอบจิตที่อยู่ในจิต
      จิต ( นิวตรอนและอิเล็คตรอน ) อยู่ในจิต
      จิต ( อิเล็คตรอน ) ก็หมุนรอบจิต ( นิวตอน ) ที่อยู่ในจิต
      และจิต ( อิเล็คตรอน ) ที่ต่างอะตอมกันก็เชื่อมโยงกันด้วยจิต
 สรุปได้ง่าย ๆ ว่าในจักรวาลตลอดจนอนันตจักรวาลนี้ มีเพียงจิตหนึ่งเดียวเท่านั้น จึงไม่มีเขา ไม่มีเรา เพราะทุกคนก็เหมือนกันเป็นแค่ “จิต” นึกแล้วทำให้รู้สึกตลกในธรรม เพราะอะไร ๆ ก็คือจิต คนนั้นก็คือจิต คนนี้ก็คือจิต คนนั้นทะเลาะกับคนนั้น จิตทะเลาะกับจิต แต่จิตทะเลาะกับจิตไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งเดียวกัน สิ่งเดียวกันทะเลาะกันไม่ได้ ที่ทะเลาะกันได้เพราะเราเข้าใจผิดว่ามันไม่เหมือนกัน เราคิดว่าเขากับเรามันคนละคนกัน เลยทะเลาะกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือสิ่งเดียวกัน
เปรียบได้ว่า เมื่อนำน้ำใส่ภาชนะที่ปิดทุกด้าน  แล้วนำไปแช่เย็น  จนน้ำเย็นเป็นน้ำแข็งที่ส่วนบนและส่วนล่าง แต่ส่วนกลางนั้นยังเป็นน้ำธรรมดาเหลวๆ  จากนั้นเขย่าภาชนะนั้น ผลจากการเขย่าจะทำให้น้ำแข็งทั้งสองก้อนชนกัน “น้ำแข็งจากด้านบน” กระทบกับ “ก้อนน้ำแข็งด้านล้าง” ทำการเขย่าจนน้ำแข็งกลิ้งไปกลิ้งมาทั่วภาชนะนั้น จนไม่สามารถบอกได้ว่าน้ำแข็งก้อนใดมาจากก้อนบนหรือก้อนล้าง เขย่าจนน้ำแข็งละลายกลับไปเป็นน้ำเหมือนเติม ในที่สุดก็มีแต่น้ำ เริ่มต้นมีแต่น้ำต่อมามีน้ำแข็ง และสุดท้ายน้ำแข็งละลายก็เหลือแต่น้ำ สิ่งต่าง ๆ ตลอดจนคนก็เกิดมาเช่นเดียวกับน้ำนี้ เดิมมีสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเดิมแท้ ( จิตเดิมแท้ ) แล้วคนก็เกิดจากสิ่งเดิมแท้นี้ และสุดท้ายก็กลับสู่สิ่งเดิมแท้นี้
เปรียบได้ดังน้ำเป็นน้ำแข็ง และน้ำแข็งกลับมาเป็นน้ำ จิตเปรียบได้ดังน้ำ ตัวเราเปรียบได้ดั่งน้ำแข็ง  การเขย่าจนน้ำแข็งชนกันหรือกระทบกันก็เหมือนการทะเลาะกัน เมื่อน้ำแข็งละลายเป็นน้ำ  สุดท้ายก็มีแต่น้ำ  เมื่อเราดับขันธ์นิพพาน ตัวเราก็ไม่มี มีแต่จิต ขอถามว่า แล้วสุดท้ายเราทะเลาะกับใคร ตอบได้ว่า ไม่มีใครทะเลาะกับใคร เพราะไม่มีใครเลยนอกจากจิต  อริยะเจ้าคิดเช่นนี้ได้  คนธรรมดาก็คิดเช่นนี้ได้เหมือนกัน แต่คิดแล้วอย่าเข้าใจผิด  เข้าใจผิดแล้วไปทำผิด จะตกนรกได้ เพราะเข้าใจไม่จริง อย่างนี้อันตราย
อริยะเจ้าท่านรู้สมมติ ท่านรู้แล้วท่านก็วางตัวถูก คนธรรมดานั้นวางสมมติไม่ถูกต้อง เข้าใจไม่ถูกต้องแล้วปฏิบัติผิด อย่างนี้เป็นอันตราย

ขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่าในจักรวาลมี  สิ่ง ๆ หนึ่ง” ที่เป็นสิ่งเดิมแท้ เป็นสิ่งตั้งต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ดวงดาว จักรวาล นรก สวรรค์ ต้นไม้ ก้อนหิน แม่น้ำ ตลอดจนสิ่งที่เราคิดว่ามีอยู่หรือสิ่งที่เราคิดว่าไม่มีอยู่ จะเป็นสิ่งใดก็ตามที่อยู่ในความคิดของเราหรือนอกความคิดของเรา สิ่งเหล่านั้นก็คือจิต และก็อยู่ในจิต สรุปก็คือมีแต่จิต
การที่เราเข้าใจธรรมชาติด้วยหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์นั้น ยังไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ดับขันธ์หรือนิพพานได้  เหตุเพราะการอธิบายธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ นั้นยังมี “มานะอยู่ คือ ยังมีการเปรียบเทียบ  มีการเปรียบเทียบระหว่างผู้รู้และผู้ถูกรู้
รู้ว่ามีพลังงาน เลยเกิดการแยกออกมา เป็น “ผู้รู้” และ “ผู้ถูกรู้” ผู้รู้คือตัวเราที่ไปรับรู้ว่ามีพลังงาน    ผู้ถูกรู้คือพลังงาน
แม้จะรู้ว่าตัวตนของมนุษย์เป็นแค่พลังงาน และทุกสิ่งคือพลังงาน การรู้เช่นนี้ก็ยังทำให้เกิดการยึดติดว่าตัวเราเป็นพลังงาน นี้ย่อมเป็นการเปรียบเทียบ ( มานะ )
การเปรียบเทียบว่าตนเองเป็นสิ่งนั้น เป็นสิ่งนี้  หรือเปรียบเทียบว่าตนไม่ได้เป็นสิ่งนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งนี้   เพราะมีการเปรียบเทียบจึงทำให้วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้
มานะ”  เป็นสิ่งที่ละได้ยากมาก แม้แต่ผู้เห็นธรรมแล้วอย่างพระโสดาบัน พระสกิทาคามี         พระอนาคามี ก็ยังไม่สามารถละกิเลสตัว “มานะ” นี้ได้  คงมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีการเปรียบเทียบเลยแม้แต่น้อย
          พระอรหันต์ไม่เห็นความต่างของคนกับก้อนหิน  และก็ไม่เห็นความเหมือนของคนกับก้อนหิน   ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรเหมือนกับอะไร และก็ไม่มีอะไรต่างจากอะไร
          พระอรหันต์ท่านไม่มีความรู้สึกว่า ท่านเป็นอรหันต์ แล้วก็ไม่มีความรู้สึกว่าท่านไม่ใช่อรหันต์
          พระอรหันต์ไม่มีความรู้สึกว่า ท่านเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล และก็ไม่มีความรู้สึกว่าแตกต่าง ออกไปจากจักรวาล
           พระอรหันต์ไม่มีความรู้สึกว่าท่านเป็นพลังงานหรือไม่เป็นพลังงาน  
พระอรหันต์ท่านพ้นจากการเปรียบเทียบจากทุกสิ่งทุกอย่างไปแล้ว ไม่มีการเปรียบเทียบว่านี้จิตเดิมแท้ หรือว่านี้จิตไม่เดิมแท้ ไม่มีความเห็นว่าแตกต่างหรือความเห็นว่าเหมือนกันของอวิชาและวิชา
            ขอยกตัวอย่างเรื่อง ”มานะ” อีกครั้งดังนี้
          ท่านพระโพธิธรรมหรือที่เรารู้จักกันในนาม “ตั๊กม้อ” ผู้ให้กำเนิดเซนในประเทศจีน ท่านพระอาจารย์ตักม้อท่านบรรจุพระอรหันต์แล้ว  ท่านพระอาจารย์ตักม้อเดินทางจากอินเดียไปเผยแพร่พุทธศาสนาที่ประเทศจีน ก่อนที่ท่านจะจากไปท่านได้เรียกศิษย์ของท่านสี่คนเข้ามาพบเพื่อทดสอบภูมิธรรม โดยท่านให้ศิษย์แต่ละคนอธิบายธรรมที่ตนเข้าถึง
 ศิษย์คนแรกอธิบายธรรมโดยกล่าวว่า
 “ สิ่งที่อยู่เหนือการยอมรับและปฏิเสธนั่นแหละคือธรรมที่แท้จริง
ท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวแก้ศิษย์ผู้นั้นว่า  เจ้าได้เพียงหนังของเราไป
  ศิษย์คนที่สองอธิบายธรรมโดยกล่าวว่า
 “ สิ่งที่เห็นแจ้งแค่ครั้งเดียวแล้วก็เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
  ท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวแก้ศิษย์ผู้นั้นว่าเจ้าได้เนื้อของเราไป
 ศิษย์คนที่สามอธิบายธรรมโดยกล่าวว่า
 “ว่างเปล่าไม่มีอะไรนั่นแหละ คือธรรมะที่แท้จริง
ท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวแก้ศิษย์ผู้นั้นว่า  เจ้าได้กระดูกของเราไป
 ศิษย์คนที่สี่อธิบายธรรมโดย
 นมัสการท่านตักม้อผู้เป็นอาจารย์แล้วนิ่งอยู่เช่นนั้นไม่กล่าววาจาใดเลย
ท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวแก้ศิษย์ผู้นั้นว่า   เจ้าได้ไขกระดูกของเราไป
ก่อนที่ท่านพระอาจารย์ตักม้อจะจากไปท่านได้มอบตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเซาหลินและตำแห่งสังฆปรินายกให้แก่ศิษย์คนที่สี่ผู้มีนามว่าฮุ่ยเข้อ(ซิ่งกวง)

ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
 ศิษย์คนแรกกล่าวว่า“ สิ่งที่อยู่เหนือการยอมรับและปฏิเสธนั่นแหละคือธรรมที่แท้จริง
           ศิษย์คนนี้ละสังโยชน์สามตัวได้เป็นอย่างน้อย ผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต้นคือ  1.สักกายทิฏฐิ  2. วิจิกิจฉา  3.สีลัพพตปรามาส ผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต้นนี้ได้คืออริยบุคคลระดับพระโสดาบันและพระสกิทาคามี ศิษย์คนที่หนึ่งจึงเป็นอริยะบุคคลแล้ว
 ศิษย์คนที่สองกล่าวว่า“ สิ่งที่เห็นแจ้งแค่ครั้งเดียวแล้วก็เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ศิษย์คนนี้ก็บรรลุธรรมแล้วเช่นเดียวกัน ศิษย์ผู้นี้ละสังโยชน์เบื้องตนได้เท่ากับศิษย์คนที่แรกแต่สามารถทำอารมณ์ให้เบาบางลงได้มากกว่าคนแรก  ศิษย์คนที่สองเป็นอริยบุคลระดับสกิทาคามีเพราะละสังโยชน์เบื้องต้นลงได้และยังมีอารมณ์เบาบางกว่าศิษย์คนที่หนึ่งซึ่งเป็นโสดาบัน ดังนั้นท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวว่าได้เนื้อของท่านไป
 ศิษย์คนที่สามกล่าวว่า ว่างเปล่าไม่มีอะไรนั่นแหละ คือธรรมะที่แท้จริง 
    ศิษย์คนนี้ละสังโยชน์ได้มากกว่าคนที่สอง ท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวว่าได้กระดูกของท่านไป
   ศิษย์คนที่สี่ไม่กล่าวอะไรเลย ท่านพระอาจารย์ตักม้อจึงกล่าวว่าได้ไขกระดูกของท่านไป

ความแตกต่างระหว่างศิษย์สามคนแรกกับศิษย์คนที่สี่นั้นคือศิษย์คนที่สี่ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 ตัว ศิษย์คนที่สี่นี้เป็นบรรลุอรหันต์แล้ว สภาวะทุกอย่างจึงไม่มีการเปรียบเทียบ พระอรหันต์จึงไม่กล่าวเปรียบเทียบธรรมกับสิ่งใด
สำหรับศิษย์คนที่สามนั้นละสังโยชน์ได้มากกว่าคนที่สอง คือศิษย์คนที่สามนี้ละสังโยชน์ได้ห้าตัวคือ1.สักกายทิฏฐิ  2. วิจิกิจฉา  3.สีลัพพตปรามาส   4. กามฉันทะ  5.ปฏิฆะ  แต่คนที่สามนี้ยังละสังโยชน์กลุ่มสุดท้ายไม่ได้(สังโยชน์กลุ่มสุดท้ายมีห้าตัวคือ รูปราคะ ,อรูปราคะ,มานะ,อุทธัจจะ,อวิชชา )
ศิษย์คนที่สามนี้บรรลุธรรมสูงกว่าโสดาบันและสูงกว่าสกิทาคามี แต่ธรรมที่บรรลุนั้นต่ำว่าอรหันต์ ธรรมที่ท่านบรรลุคืออนาคามี
 ศิษย์คนที่สามนี้เป็นพระอริยบุคคลระดับพระอนาคามีแล้ว เป็นผู้เห็นธรรมแล้วแต่ยังพ้นไปไม่ได้เพราะจิตเมื่อเห็นแล้วยังเข้าไปรับรู้ในการเห็น จิตของศิษย์คนที่สามนี้ยังมีการเปรียบเทียบอยู่ มีการเปรียบเทียบระหว่างผู้เห็นละผู้ถูกเห็น ผู้เห็นก็คือท่าน ผู้ถูกเห็นก็คือธรรมหรือนิพพานที่ท่านเห็น เมื่อเห็นธรรมหรือนิพพานนี้แล้วจิตเข้าไปยึดในการเห็น จิตจึงยังปล่อยไม่ได้
ศิษย์คนที่สามผู้ถึงพร้อมด้วยอนาคามีแม้จะบรรลุธรรมแล้วแต่ก็พ้นไปไม่ได้ เหตุเพราะมีการเปรียบเทียบในธรรมที่ตนเข้าไปเห็น การเปรียบนั้นบางท่านก็เปรียบนิพพานเป็นความว่าง บางท่านก็เปรียบนิพพานเป็นสูญตา  บางท่านก็เปรียบนิพพานเป็นหนึ่ง ฯลฯ
ดังตัวอย่างศิษย์คนที่สามได้เปรียบเทียบธรรมหรือนิพพานเป็นความว่าง การเปรียบเทียบธรรมของศิษย์คนที่สามนี้ความหมายที่เปรียบเทียบจะผิดหรือจะถูกนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญต่อตัวท่าน แต่สิ่งสำคัญมันอยู่ที่ว่าการเปรียบเทียบนั้นทำให้เกิดการเข้าไปยึดในสิ่งที่กำลังเปรียบเทียบ  ซึ่งหากยังมีการเปรียบเทียบธรรมหรือนิพพานว่าเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ นิพพานที่ท่านเห็นก็ยังเป็นนิพพานที่มีเหตุมีปัจจัยอยู่ เมื่อมีเหตุย่อมมีผลตามมา นั้นก็คือตัวตนยังมีอยู่ ”ตัวกู ของกู” ยังมีอยู่
หากศิษย์คนที่สามผู้ถึงพร้อมด้วยพระอนาคามีปรารถนาที่จะละ ”ตัวกู ของกูก็พึงละการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆนั้นลงให้สิ้น ตราบใดที่ยังกล่าวว่าธรรมหรือนิพพานเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้เช่นการกล่าวว่าธรรมเป็นความว่าง เป็น สูญตา เป็นความเป็นหนึ่ง เป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมีการเปรียบเทียบย่อมเกิดตัวกูของกูขึ้นมาทันที่ คือนิพพานของกู นิพานของกูเป็นความว่าง นิพพานของกูเป็นสูญตา นิพพานของกูมีความเป็นหนึ่ง ฯลฯ
ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่การให้ความหมายนิพพานนั้นว่าถูกหรือผิด แต่ความสำคัญมันอยู่ที่ว่ามันมีการยึดในความหมายที่ให้  เมื่อมันยึดมันจึงปล่อยวางไม่ได้

มานะ” นี้เป็นสิ่งที่ละเอียดมาก แม้แต่อนาคามีผู้รู้ในธรรมและสอนให้คนอื่นรู้ในธรรม สอนให้คนอื่นละ ”ตัวกู ของกู” แต่ตัวพระอนาคามีเองก็ยังละได้ไม่หมด เนื่องด้วยมันละเอียดมากแม้การละก็ยังเป็นการยึด เป็นการเสพในเจตนาที่จะละ มันละเอียดจนวนกับมาที่เดิมเหมือนงูกินหาง เปรียบได้ดังคนธรรมดาห้ามตนเองไม่ให้คิด แต่ไอ้ความคิดที่เข้าไปห้ามมันก็คือความคิดเหมือนกัน มันจึงหยุดคิดไม่ได้ แต่กิเลสที่พระอนาคามีมีละเอียดยิ่งกว่านั้น เป็นกิเลสที่เบาบางมากจนดูเหมือนว่าไม่มีกิเลสอยู่เลย แต่แท้จริงนั้นกิเลสที่ละเอียดยังมีอยู่ กิเลสของสังโยชน์กลุ่มสุดท้ายอันมี ”มานะ” รวมอยู่ด้วย เมื่อพระอนาคามีต้องการละ ”ตัวกู ของกูแต่ตัวกูนี้ละที่กำลังเป็นผู้ละ ตัวกูก็เลยยังอยู่ ตราบจนเมื่อพระอนาคามีปล่อยวางธรรมที่เห็น ตัวกูของกูก็หมดไปเอง พระอนาคามีผู้นั้นก็จะไม่มีแล้ว และจะไม่เป็นอะไรแล้ว เพราะพ้นการเปรียบเทียบ แม้จะบรรลุธรรมสูงสุดแล้วก็ไม่มีการเปรียบเทียบว่าตนเป็นพระอรหันต์ มีแต่กิจสิ้นแล้วกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปไม่มีอีกแล้ว  ไม่มีสมมุติใดแล้ว แม้ว่าท่านบรรลุอรหันต์การเปรียบเทียบว่าตนเป็นอรหันต์นั้นก็ไม่มีแล้ว
ความสำคัญแห่งการเปรียบเทียบธรรมของศิษย์คนที่สามผู้ถึงพร้อมด้วยพระอนาคามี ความสำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่ความหมายของธรรมหรือนิพพานที่เปรียบเทียบว่าถูกหรือผิด แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าการให้ความหมายเช่นนั้นทำให้ปล่อยว่างไม่ได้ เมื่อปล่อยธรรมชาติที่ตนเองเข้าไปรับรู้ไม่ได้จึงเข้าใจว่าสภาวธรรมเป็นเช่นนั้น เช่นเป็นความว่างดังศิษย์คนที่สามกล่าว
สำหรับคนธรรมดาหากเชื่อในธรรมว่าธรรมหรือนิพพานนี้เป็นความว่าง เป็นสูญตา เป็นความเป็นหนึ่ง เป็นอนัตตา ฯลฯ ธรรมที่ได้รับฟังมาจากการเปรียบเทียบนั้นย่อมเกิดการยึดมั่น หากยึดแบบพระอนาคามีธรรมที่ได้ก็เป็นอนาคามี แต่หากยึดแบบเข้าใจผิดก็จะไม่ได้ธรรมใดๆเลยหรืออาจหลงทางห่างไกลธรรมออกไปอีก
ความยุ่งยากแห่งภาษาสมมุติอาจทำให้สับสนกันได้ ผู้แสวงหาธรรมเมื่อได้ฟังธรรมแล้วพึงอย่าตีความหรือให้ความหมายใดๆแก่ธรรมที่ได้ฟัง หากพระท่านกล่าวว่าธรรมคือความว่าง ธรรมคือสูญตา ธรรมคือความเป็นหนึ่ง ฯลฯ เมื่อเราได้ฟังแล้วก็อย่าไปให้ความหมายว่าธรรมคือความว่าง ว่าธรรมคือสูญตา ว่าธรรมคือความเป็นหนึ่ง ฯลฯ  พระท่านกล่าวท่านเข้าใจ แต่เราคนฟังหากให้ความหมายจะผิดทางได้ ธรรมโดยเนื้อแท้เป็นทุกอย่างอยู่แล้วและเพราะเป็นทุกอย่างนี้ละจึงไม่ต้องเปรียบอะไรอีกแล้ว เมื่อไม่เปรียบเทียบมันจึงไม่เป็นอะไรเลย สุดท้ายก็พ้นจากการเปรียบเทียบอย่างจริงแท้ ธรรมจะเป็นอะไรก็ช่างมันเราไม่ต้องไปให้ความหมายมัน มันจะเป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรเราไม่มีสิทธิ์ไปให้ความหมายมัน
 การสำคัญมันหมายให้ความหมายเปรียบเทียบว่าสิ่งนั้นมีสิ่งนั้นไม่มีทำให้เกิดจิตที่มีอวิชชาขึ้นมา แต่เดิมในจักรวาล “จิตเดิมแท้” ดำรงอยู่โดยปราศจากการเปรียบเทียบ ในจักรวาลมีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่มากมายแต่ก็ปราศจากการเปรียบเทียบใดๆ เมื่อแสงกระทบจิตหากจิตไม่มีการเปรียบเทียบว่าตนเป็นผู้เห็นและมีสิ่งที่ตนเห็น หากไม่เกิดเปรียบเทียบว่าตนเป็นผู้รู้และแสงเป็นสิ่งที่ตนรู้  สรรพสิ่งในจักรวาลก็จะดำรงอยู่ในสภาพเดิมแท้เช่นนั้นโดยไม่ขึ้นตรงต่อสิ่งใด
ธรรมแห่งการละมานะ” นี้ หากปรากฏกับผู้ใด ผู้นั้นก็พ้นทุกข์ได้ เพราะหากพ้นการเปรียบเทียบได้ การพ้นอวิชชาย่อมเกิดขึ้นได้ในช่วงขณะจิตนั้นเช่นกัน
แม้ช่วงขณะจิตก่อนตายหากเราสามารถละ  “ มานะ ” ได้ อวิชาย่อมสิ้นลงในขณะจิตนั้น ความตายแก่เราก็สิ้นไปด้วย นิพพานแล้วในขณะจิตนั้น พ้นแล้ว กิจสิ้นแล้ว กิจอื่นที่ควรทำไม่มีอีกแล้ว ดับแล้ว  นิพพานแล้ว ในลมหายใจสุดท้ายนั้น

ปัญหาธรรมข้อที่ 55
        ตนเองมีความปรารภนาที่จะพ้นทุกข์ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถทำตนเองให้มองเห็นฝังธรรมได้เลยแม้แต่น้อย เหตุเพราะหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบนั้นยากต่อการปฏิบัติกำหนดรู้สติ จะทำเช่นไรหากต้องตายก่อนจะได้เห็นธรรม หากเป็นเช่นนั้นจริงจะต้องทำเช่นไรเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะตาย เพื่อให้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพื่อจะได้กลับมาปฏิบัติธรรมในศาสนาที่มีความพ้นทุกข์เป็นสิ่งสูงสุดอีก
ด้วยความเคารพ
 ตอบ 
สังคมในปัจจุบันนี้ดำรงชีวิตอยู่ยากลำบากมากต่อการปฏิบัติธรรม  แค่การดำรงชีวิตตามสมมติก็ยากมากแล้ว เพราะสมมุติในปัจจุบัน เป็นสมมติที่เห็นแก่ตัว หากเราทำตามสมมติมากเกินไป เราก็จะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวไปด้วย ขอให้เราอย่าได้ทำตนเป็นคนเห็นแก่ตัวเช่นนั้น แต่ขอให้เราทำหน้าที่ในงานให้สมบูรณ์เพื่อเลี้ยงชีพได้ก็พอ อย่าได้ทำเพื่อหวังวัตถุนิยมมากเกินความจำเป็น เพราะจริงๆแล้วสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์มีเพียงปัจจัยสี่เท่านั้น หากสิ่งใดมันเกินปัจจัยสี่  แล้วการทำให้ได้มาเพื่อสิ่งนั้นมันทำให้เราเกิดกิเลสเกิดความเห็นแก่ตัวก็อย่าไปทำมัน เพราะการเพิ่มกิเลสให้ตนเองมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้เราห่างไกลความเป็นมนุษย์มากเท่านั้น ห่างไกลความเป็นมนุษย์ลงสู่ภพที่ต่ำกว่ามนุษย์ หรือหากได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ห่างไกลธรรม อย่าได้ให้เพียงกิเลสในชาตินี้เป็นอุปสรรคในทางธรรมของเราในภพหน้า หากจะเลี้ยงชีพก็ขอให้ทำเพื่อเลี้ยงชีพจริงๆ  ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงกิเลส
        ความเป็นมนุษย์นั้นคืออะไร  อะไรคือมนุษย์   มนุษย์ต่างจากสัตว์อย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์บอกว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่กระดูกสันหลังของมนุษย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ความหมายความเป็นมนุษย์เช่นนั้นไม่ได้บอกในแง่ของจิตใจเลยแม้แต่น้อย
       ในทางสังคมบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐตรงที่รู้ผิดชอบชั่วดี
       พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่าผู้ครองตนอยู่ในศีลห้าเกิดในชาติใดจะไม่เกิดต่ำว่ามนุษย์
       ศีลห้าที่บริบูรณ์เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ชีวิตก็จะบริบูรณ์ไปด้วย เมื่อชีวิตที่มีความบริบูรณ์เป็นพื้นฐานจะทำการใดก็ไม่ลำบาก 
       ศีลบริบูรณ์บวกกับทานบริบูรณ์  ชีวิตนั้นย่อมมีความพร้อมที่จะทำกิจการอื่นได้อย่างง่าย
       ศีลบริบูรณ์ ทานบริบูรณ์ ภาวนาบริบูรณ์ ชีวิตนั้นย่อมพร้อมในกิจการเพื่อความหลุดพ้นได้โดยง่าย

       รักษาศีลเพื่อความเป็นมนุษย์ 
       ทานเพื่อลดความเห็นแก่ตัวเพื่อความพร้อมในการดำรงชีวิตอีกทั้งเป็นกุศลนำไปสู่ปัญญา
       ภาวนาเพื่อเป็นฐานให้ใกล้ชิดศาสนาอันมีความพ้นทุกข์เป็นจุดหมาย อีกทั้งภาวนานี้ยังเป็นกุศลใช้ชีวิตพร้อมในทุกด้านเพื่อให้มีปัญญาดำรงชีวิตง่ายต่อการปฏิบัติธรรม

       ในสังคมปัจจุบันอาจทำให้เรารู้สึกลำบากต่อการรักษาศีล เหตุเพราะกำลังทางปัญญาเรายังไม่มากพอ หากมีกำลังปัญญามากพอเราจะเห็นศีลเป็นเรื่องสำคัญ เราควรมีความรู้เรื่องศีลว่าแต่ละข้อมีประโยชน์อย่างไร และมีโทษอย่างไรหากผิดศีล
       เมื่อเรารู้ประโยชน์และโทษของศีล ปัญญาที่รู้เช่นนั้นจะทำให้เราไม่กล้าที่จะทำผิดศีลเลยแม้แต่น้อย เพราะปัญญามันเห็นว่าหากทำผิดศีลเพื่อสนองกิเลสลงไปแล้ว ผลที่ได้มันไม่คุ้มกับกรรมที่ต้องรับ เมื่อปัญญามันรู้อย่างนั้นมันจะไม่กล้าทำผิดศีล เช่นเรายืมเงินผู้อื่นมาแล้วไม่ยอมนำไปคืนหรือคืนช้ากว่าที่ได้รับปากไว้ มันจะส่งผลให้กิจการงานของเราขาดทุนไปหลายชาติ  หรือแม้แต่เราเถียงพ่อ เถียงแม่เพียงคำเดียว มันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีแต่อุปสรรคไปหลายชาติ  ในทางกลับกันผู้ที่มีความกตัญญูชีวิตมีแต่ความราบรื่น
        ปัญญาที่เห็นประโยชน์ของการทำดี และเห็นโทษของการทำชั่วนั้นทำให้เราเป็นคนมีสติที่รู้ผิดชอบชั่วดีได้ 
       อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรศึกษาเพื่อเพิ่มปัญญาให้เห็นประโยชน์และโทษของการปฏิบัติตนในทางดีและไม่ดี ควรจะศึกษาเรื่อง “มงคลชีวิตสามสิบแปดประการ” ขอแนะนำให้ศึกษาให้รู้ไว้เพราะเป็นเรื่องสำคัญแก่ชีวิตเพื่อชีวิตที่เป็นมงคล
              หากสังคมไทยทุกคนดำรงตนตามมงคลชีวิตสามสิบแปดประการ ประเทศไทยของเราย่อมเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดใดโลกแน่นอน
              หากเรารู้ว่าอะไรเป็นมงคลกับชีวิตก็ขอให้ปฏิบัติ
              ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะหาหนังสือมงคลชีวิตสามสิบแปดประการมาอ่าน เพราะราคาเล่มละไม่กี่สิบบาท หรือหาอ่านฟรีในอินเตอร์เน็ตก็ได้ เนื้อหาก็มีไม่มาก อ่านชั่วโมงเดียวก็จบ และเนื้อหาก็เข้าใจง่าย
               สำหรับการภาวนาเจริญสติ หากไม่สามารถทำการกำหนดรู้สติได้ทั้งวัน ด้วยเหตุจากกิจการงานต่างๆ  ก็ขอให้เราสละเวลาวันละหนึ่งชั่วโมง ทำจริงๆ ก่อนนอนหรือหลังตื่นนอนก็ได้  หากเราทำจริงจังอย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมงจนสติกล้าแข็งเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับสังคมเพื่อทำกิจการงานเลี้ยงชีพ สติที่เราฝึกวันละหนึ่งชั่วโมงทุกวันจะทำให้เราสามารถเจริญสติกับชีวิตในเวลาปรกติได้ และเมื่อมีสติในทุกขณะจิตย่อมเป็นหนทางสู่ธรรมได้
                                  ธรรมเมื่อเห็นแล้วต้องปล่อยธรรมที่เห็นนั้นด้วย
                            ธรรมถ้าเห็นแล้วไม่ปล่อย  ตัวรู้ย่อมเกิด
                            เมื่อตัวรู้เกิด   ของคู่เกิดขึ้นทันที
                            เมื่อของคู่เกิด   นั้นแสดงว่า “มานะ” เกิดขึ้นแล้ว
                            เมื่อ  มานะ  มี  ........อวิชชา  ย่อมมี
                            เมื่อ  อวิชชา  มี .........นิพพาน   ย่อมไม่มี
                            เมื่อ  นิพพาน ไม่มี.....โลก ย่อมมี
                            เมื่อ  โลก  มี............ทุกข์  ย่อมปรากฏ 
            ธรรมแม้จะเป็นเรื่องที่ละเอียดแต่ก็ไม่ยากเกินวิสัยของมนุษย์ที่จะเข้าถึง  เพราะธรรมอยู่กับเราตลอดเวลา เพียงแต่เราจะเข้าใจมันหรือไม่
           สิ่งใดเป็นบุญกุศลเราควรทำ เพราะบุญกุศลจะส่งเสริมให้เราอยู่ถูกที่ ถูกเวลา   ดังเช่นตัวข้าพเจ้าก็เพราะบุญกุศลแห่งความกตัญญูต่อบิดา มารดา และผู้มีพระคุณ เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้อยู่ถูกที่ ถูกเวลา จึงทำให้ได้ฟังธรรมเรื่องเดียวกันซ้ำกันสองวันต่อเนื่อง เหตุด้วยมีผู้หญิงและแม่ชีถามธรรมจากพระอาจารย์ และเนื่องมีวินัยพระวินัยกำหนดห้ามไว้ว่าพระไม่สามารถสนทนากับผู้หญิงตามลำพังได้  ข้าพเจ้าจึงถูกเรียกให้ไปทำหน้าที่เป็นพระคุมพระวินัยท่านพระอาจารย์
          กรณีของข้าพเจ้าเห็นชัดได้ว่า อยู่ถูกที่ ถูกเวลาเป็นอย่างมาก เพราะหากบวชเร็วกว่านี้ หรือบวชช้ากว่านี้ ก็คงไม่ได้ฟังธรรมที่ทำให้ตนเองเกิดปัญญาจนเห็นฝังธรรมได้
          ข้าพเจ้าตามหาธรรมอยู่ 8 ปี มีอุปสรรคมากมายจนคิดที่จะไม่บวช เพราะเห็นว่าชาตินี้เราคงหมดโอกาสบวชแล้ว ชาติหน้าเราจึงจะบวช ชาตินี้เราขอเลี้ยงดูพ่อแม่ เป็นที่พึ่งให้ท่านไปก่อน  ชาติหน้าจึงบวชจะก็ได้  ชาตินี้มีชีวิตอยู่ก็รักษาศีลไป สร้างบุญกุศลต่างๆ ไว้เพื่อเป็นฐานให้เราในชาติหน้า  ในครั้งนั้นคิดอย่างนี้จริงๆ และด้วยบุญกุศลนั้นได้ทำให้ข้าพเจ้าอยู่ถูกที่ถูกเวลา ได้ฟังธรรมเรื่องเดียวกันสองวันติดกัน และในวันที่สองนั้นเอง บุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำไว้กับบิดา มารดา ตลอดจนผู้มีพระคุณส่งผลเร็วมาก ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า  เห็นผลในชาตินี้ ซึ่งถือว่าเร็วมาก ข้าพเจ้าบวชและศึกอยู่กับพระอาจารย์ได้เพียง 1วัน ก็ได้ฟังธรรมอันลึกซึ้งจากท่านพระอาจารย์จนทำให้เห็นฝั่งธรรม ถึงแม้จะไม่สามารถทำลายอวิชชาให้สิ้นได้ แต่สำหรับชาตินี้ได้แค่เห็นฝั่งธรรมข้าพเจ้าก็ดีใจแล้ว มาถูกทางแล้ว สามารถว่ายไปถูกทางแล้ว การจะว่ายห่างออกไปจากฝั่งนั้นคงไม่มี
            ขอให้ผู้แสวงหาธรรมทั้งหลายอย่ามองข้ามบุญกุศลเล็กๆน้อยๆ  โลกปัจจุบันถึงแม้จะวุ่นวายแต่ก็เต็มไปด้วยโอกาสแห่งการสร้างบุญกุศล แม้เพียงเศษขยะที่อยู่กับพื้นเห็นแล้วเดินผ่านไปเพียงคิดว่าไม่ใช้หน้าที่ของเรา แต่สำหรับผู้มีปัญญาเห็นโอกาสในการสร้างบุญกุศลจากขยะชิ้นนั้น ขยะชิ้นนั้นหากเราเก็บด้วยหวังว่าไม่อยากให้บ้านเมืองสกปรก กุศลนั้นย่อมทำให้เราได้ไปเกิดในที่สะอาดตาได้อยู่ที่สวยสวยงาม ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่ทิ้งขยะนั้นย่อมส่งผลให้เขาผู้นั้นไปเกิดในที่สกปรกมีชีวิตอยู่ใกล้กองขยะใกล้สิ่งสกปรก
           กุศลนั้นทำง่ายมาก มีโอกาสให้ทำอยู่มากมาย ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสนอไป เรื่องฐานะการเงินไม่เป็นอุปสรรคในการสร้างบุญกุศล รักษาศีลห้าไม่ต้องใช้เงิน สมาธิก็ไม่ต้องใช้เงิน สอนให้คนรักษาศีลห้า สอนให้คนรู้จักมงคลชีวิตสามสิบแปดประการ สอนให้คนเป็นคนกตัญญู สอนให้คนทำดีไม่ทำบาป สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องใช้เงิน
         สุดท้ายนี้อยากจะให้ทุกคนเห็นประโยชน์ของบุญกุศล และเมื่อบุญกุศลพร้อม บุญกุศลนั้นจะส่งผลให้เราอยู่ถูกที่ ถูกเวลา ได้ฟังธรรมจนจิตคลายออกได้ดวงตาเห็นธรรม นี้ละคืออนุภาพแห่งบุญกุศลที่ได้ทำไว้ ข้าพเจ้าก็ได้ฟังธรรมเพราะบุญกุศลเหล่านี้เช่นเดียวกัน บุญกุศลจึงส่งผลให้ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งจากพระอาจารย์     
        บุญคุณที่พระอาจารย์มีต่อข้าพเจ้านั้นมากมายเกินที่จะพรรณนาได้ พระอาจารย์จึงเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับข้าพเจ้า 

ขอชี้แจงการนำเนื้อหาธรรมไปใช้       
          เนื่องด้วยคืนนี้(29 ส.ค.47) ข้าพเจ้าได้มีโอกาส search ค้นหาหัวข้อธรรมบ้างอย่างใน internet ก็ได้ไปพบเนื้อหาใน website ต่างๆที่เกี่ยวกับการถามและตอบปัญหาธรรม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ website ของข้าพเจ้า   ข้าพเจ้าได้อ่านดูแล้วก็ไม่ได้ถือโทษอันใด แต่รู้สึกตกใจเพราะในบางกระทู้ที่เขียนลงไปนั้นทำให้ผู้อ่านกระทู้คิดว่าข้าพเจ้าเป็นผู้โพสต์เนื้อหาลงไปด้วยตนเอง เพราะว่าเมื่อข้าพเจ้าได้อ่านดูแล้วทำให้รู้สึกว่าผู้โพสต์นี้(หมายถึงตัวข้าพเจ้า)ช่างอวดตัวเป็นอย่างมาก
           ซึ่งการทำเช่นนั้นข้าพเจ้าคิดว่าผู้โพสตัวจริงคงหวังดีที่อยากให้คนเข้ามาอ่านการตอบปัญหาธรรมในเวปของข้าพเจ้า ท่านเหล่านั้นไม่น่าจะมีประสงร้ายแต่อย่างใดแก่ข้าพเจ้า
          เพื่อไม่ให้มีการเข้าใจผิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้าขอความกรุณาจากผู้ที่นำเนื้อหาในเวปพุทธแท้ไปใช้หรือนำไปโพสต์ในที่ต่างๆ ขอให้ท่านเขียนชี้แจงลงไปด้วยว่าได้คัดลอกเนื้อหามาจาก web site ของข้าพเจ้า (http://www.reocities.com/buddhatatum ) อย่าได้ให้ผู้อ่านเข้าใจผิดคิดว่า webmaster หรือข้าพเจ้าเป็นผู้โพสต์
          ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างมากที่ทุกท่านได้ช่วยแนะนำ web site ของข้าพเจ้าในที่ต่างๆ ข้าพเจ้าไม่ได้สงวนสิทธิ์ใดๆ หากทุกท่านจะแนะนำหรือนำเนื้อหาไปใช้ ข้าพเจ้าอนุญาตและขออนุโมทนาในการให้ธรรมเป็นทานของทุกท่าน
ขอธรรมจงมีแด่ท่าน          

บทสุดท้าย
    สวัสดีครับน้อง
          พี่ได้ติดตาม web ของน้องมาระยะหนึ่งและเห็นว่าน้องเป็นคนที่กล้ามากจริงๆ ยังมีไฟหนุ่มอยู่มาก กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ  ก่อนอื่นพี่ต้องขอโทษน้องก่อน ที่พี่เป็นสาเหตุให้มีคนมาปรามาสน้อง คือพี่เองเป็นคนที่ถาม คำถามธรรมในข้อที่ 20 ที่ว่า จิตคือธาตุรู้ใช่หรือไม่เหตุที่ถามเช่นนั้นเพราะเข้าไปอ่านในกระทู้ธรรมบางกระทู้ในหลายที่ ที่มีคนตั้งกระทู้ไว้ และก็มีผู้เข้ามาตอบ บุคคลส่วนใหญ่นั้น ที่เข้ามาตอบดูน่าเชื่อถืออยู่เหมือนกัน จึงทำให้คนอ่านอาจเชื่อได้ ซึ่งเขาตอบว่า จิตนั้นคือธาตุรู้พี่ได้อ่านที่เขาอธิบาย จึงเกิดเป็นห่วงว่าอาจจะมีคนเชื่อได้ ไม่อยากให้ใครเข้าใจผิดเช่นนั้น พี่เองก็อยากจะอธิบายให้เขาฟังว่า มันไม่ใช่นะ จิตนั้นไม่ใช่ธาตุรู้นะ แต่ก็ไม่สามารถอธิบายได้ และเห็นว่าน้องน่าจะตอบปัญหาธรรมข้อนี้ได้ และหากคนที่เคยสงสัยได้เข้ามาอ่านจะได้รู้ และน้องเองก็ไม่ได้ทำให้พี่ผิดหวัง น้องตอบได้ดีและชัดเจนมาก มากถึงขนาดนึกชื่นชมในครูอาจารย์ของน้องที่สอนมาดี ธรรมที่น้องอธิบายนั้นดูแล้วคนธรรมดาคงจะเข้าใจยาก คงมีแต่ผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วเท่านั้นที่อ่านแค่ประโยคเดียวก็เข้าใจ
          พี่เห็นว่าปัญหาธรรมข้อที่20 นั้นทำให้เกิดปัญหาใน web ของน้อง และพี่ก็คิดไว้อยู่แล้วคงจะต้องมีคนไม่เห็นด้วยกับน้องอยู่มาก  เพราะในปัจจุบันนี้หาของจริงนั้นยากนัก เข้าไปติดธาตุรู้ของใจกันเป็นส่วนใหญ่
       พี่เห็นว่าการที่น้องทำ web เช่นนี้นั้นเป็นดาบสองคม คมหนึ่งเป็นการเปิดตาเปิดใจให้แก่ผู้สงสัย คมนี้ดีนัก และอีกคมหนึ่งเป็นการเพิ่มบาปให้แก่คนที่ตำหนิน้องได้ เพราะสภาวธรรมของ น้องก็ไม่ธรรมดาแล้ว พี่จึงอยากจะข้อให้น้องปิด web นี้เสีย เพื่อไม่เป็นการทำให้ใครมีบาปติดตัวได้ หวังว่าน้องคงเข้าใจ จะปิดไปเลย หรือจะเปิดไว้เฉยๆก็ได้ ไม่ต้องตอบลง web
        แค่นี้ก็ถือว่าสำเร็จแล้วละครับ เพราะคงมีคนได้ปัญญาในการมองพุทธศาสนาให้ถูกต้องกันบ้าง คิดซะว่าเป็นบุญ เป็นกรรมของเขาก็แล้วกัน ใครติดอะไรก็ไปอย่างนั้น ปล่อยวางได้ก็มีดวงตาเห็นธรรมกันเอาเอง น้องก็มีสมมุติทางโลกอยู่มากต้องเรียนหนังสือก็น่าจะเรียนหนัก และลูกศิษย์ของน้องที่ไม่ใช่มนุษย์ก็มีอยู่มาก เอาเวลาที่จะต้องมาตอบข้อสงสัยของผู้ที่ปรามาสน้องไปตอบธรรมให้ลูกศิษย์พวกนั้นจะดีกว่าครับ
        และสุดท้ายนี้หากน้องจะหยุด web นี้จริงๆ ขอให้น้องตอบคำถามพี่ซักหนึ่งข้อจะได้ไหม เป็นคำถามสำหรับผู้ที่จิตจะหลุดพ้นจากขันธ์ห้า ผู้ที่จะมีดวงตาเห็นธรรม ในวันข้างหน้า คำถามมีอยู่ว่า
"เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วเหตุใดผู้ที่จิตหลุดพ้นนั้นไม่สามารถอยู่ในที่ที่มีผู้คนมากๆได้ เช่นออกนอกบ้านก็ไม่สบาย กลับมาก็ไม่สบาย แล้วจะแก้ไขอย่างไร"
คำถามนี้น้องน่าจะตอบได้
                                                                ขอบคุณและดีใจที่ได้สนทนาธรรมกัน
ตอบ
           ผมข้อกลับไปคิดดูก่อน และหากจะหยุด web นี้จริงๆ ผมก็จะตอบทำถามนั้นให้ ตอนนี้ขอตอบเพียงสั้นๆก่อน เพราะอาจมีผู้จิตหลุดพ้นที่มีปัญหานี้เข้ามาอ่าน
" อย่าทำให้เกิดความต่างระหว่างเขากับเรา "
" อย่ามีเจตนาในการกระทำใดๆ ไม่ว่าจะฟัง จะพูดหรือจะคิด 
           แล้วจะกลับมาขยายความให้เมื่อสอบกลางภาคเสร็จสิ้น
                                        ขอบคุณครับพี่ที่เข้ามาสนทนาธรรมด้วย
                                                                                     14 ส.ค. 45

พิจารณาแล้ว
          เห็นด้วยกับพี่ครับ เป็นเอาว่าผมจะหยุดลงที่การตอบปัญหาแค่นี้ แต่คงไม่ถึงขนาดปิด web คงจะเปิดไว้ซักระยะหนึ่ง ขอบคุณมากครับพี่                      
        สุดท้ายนี้ก่อนที่จะจากลากันใน web นี้ มีอะไรจะฝากทิ้งท้ายไว้ให้กับบุคคลสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม และอีกกลุ่มสำหรับผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว
สำหรับกลุ่มแรกที่อยู่ในระหว่างศึกษาธรรม
     ธรรมนั้นมีอยู่ทุกที่ ทุกหนทุกแห่ง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา
     จงใช้กาลามะสูตร(เหตุที่ไม่ควรเชื่อถือ 10 อย่าง) ในการเชื่อถือ
      การปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะวิธีใดสุดท้ายก็คือการ ปล่อยวาง
      ธรรมนั้นไม่ได้สำเร็จได้ด้วยใจ อย่าได้คิดเหมาเอาใจเป็นประธานในทุกอย่าง
      พระพุทธเจ้าต่อสู่กับมารมากมาย แต่มารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือใจของพระองค์เอง
      ใจเป็นแค่อายตนะตัวหนึ่งเท่านั้น มีหน้าที่ตามธรรมชาติคือรับรู้อารมณ์ เวทนาเท่านั้น ใจเป็นธาตุรู้ที่ใหญ่มาก
       การที่นั่งสมาธิมากๆ อย่าหลงทางไปเพิ่มกำลัง ไปเติมความสามารถธาตุรู้ให้แก่ใจ

และสุดท้ายสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษา                        
        เมื่อปฏิบัติไปถึงขั้นที่จิตจะหลุดออกจากขันธ์ห้า บางท่านจะรู้สึกกลัวตายในอาการที่จิตจะดีดออกจากใจ เนื่องจากจิตเรารวมอยู่กับใจมานานไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ เมื่อถึงเวลาที่มันต้องแยกออกจากกัน มันก็ต้องมีความอาลัยอาวรณ์เป็นธรรมดา ถึงตรงนี้ไม่ต้องไปกลัวมัน  ถึงตรงนี้ใจมันจะหลอกเรามาก ทำให้เรากลัวตาย แต่จริงๆไม่ตาย ถึงตรงนี้ให้สู่กับมัน ตั้งใจไปเลยว่า ตายเป็นตาย เราจะสู้กับมัน ให้รู้กันไปเลย เรายอมเอาชีวิตเข้าแรกกับธรรมที่จะได้ เราจะรู้สึกหวาดกลัวในความตายมาก อย่าได้ไปกลัวมัน และเมื่อผ่านจุดนี้ไปได้ ก็จะเข้าใจเองว่าจิตและใจนั้นมันคนและตัวกัน                          
       อาการกลัวจะเกิดกับคนไม่กี่คนนะครับ ไม่ใช่ว่าจะเป็นทุกคน ส่วนผู้ที่ปฏิบัติจนปล่อยวางได้ ก็จะเข้าใจเองว่าธรรมคืออะไร ส่วนที่ปล่อยวางไม่ได้ยังไปติดในขันธ์ห้า ในธาตุรู้ของใจคนกลุ่มนี้จะไม่มีความมั่นใจในธรรมที่ตนได้ ไปคุยกับใครก็ไม่แน่ใจว่าของตนใช่หรือไม่ใช่ ก็มีแต่ทะเลาะกันว่าของตนดีกว่าของคนอื่น ทั้งที่จริงแล้วหากเข้าถึงธรรมจริงๆ ธรรมก็เป็นสิ่งเดียวกัน ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วจะรู้ด้วยตนเองว่าธรรมคืออะไร และจะเข้าใจว่าเหตุใดเราจึงไม่สามารถจะบอกได้ว่าธรรมคืออะไร ถึงจุดนี้เราจะยกย่องพระพุทธเจ้าและธรรมที่พระองค์แสดงเป็นใหญ่ไม่มีใครจะเสมอได้  (แม้ข้าพเจ้าเอง รู้ ก็รู้ไม่ถึงเส้นใยของใบไม้ในกำมือพระพุทธองค์)ส่วนผู้ที่ยังติดในขันธ์ห้า ในธาตุรู้ของใจ คนผู้นั้นจะเอาใจของตนเข้าไปตีความในธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ธรรมนั้นอาจจะผิดได้
       อย่าได้เหมาเอาว่าเราต้องรู้ทุกขณะจิตจึงจะถึงธรรม สิ่งนี้ก็ไม่ผิดหรอกครับ การทำเช่นนั้นก็เป็นทางที่ถูกแล้ว ทำไปจนความรู้เต็มรอบของมันจิตก็จะปล่อยวาง  ก็มีดวงตาเห็นธรรม จะเห็นว่าสุดท้ายก็คือการปล่อยวาง ไม่ใช่รู้แล้วไม่ปล่อยนะครับ ปล่อยวางการรู้นั้นได้ก็เห็นธรรม
       นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ไปติดที่ใจกันมาก เอาใจเป็นใหญ่เป็นประธาน และไปติดในข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ คิดว่าต้องปฏิบัติเช่นนี้ เช่นนั้นจึงจะเข้าถึงธรรมได้                                  
       ธรรมนั้นไม่เกี่ยวเนื่องด้วยของคู่ หากปฏิบัติธรรมแล้วคิดว่าตนได้ธรรม ให้พิจารณาดูว่าสิ่งที่ตนได้นั้นยังติดอยู่ในของคู่หรือเปล่า เช่นปฏิบัติแล้วได้ความสะอาด นั้นก็แสดงว่ายังมีของคู่อยู่ เพราะเราสามารถหาของคู่มันได้ ของคู่ของความสะอาดก็คือ ความสกปรก ปฏิบัติไปแล้วได้ความบริสุทธิ์ ก็ยังมีของคู่อยู่ ก็คือความไม่บริสุทธิ์                                
       ธรรมหรือมรรคผลนิพพานนั้นไม่เกี่ยวเนื่องด้วยของคู่ จะบอกว่าเมื่อมีมรรคก็มีความไม่เป็นมรรคนะซิเป็นของคู่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็แสดงว่าไม่ใช่มรรคของจริง เป็นของปลอมอยู่ เมื่อเข้าถึงจะรู้เองว่าทำไมถึงไม่เกี่ยวเนื่องด้วยของคู่ เมื่อไม่มีผู้รู้มันจะมีหรือไม่มีก็ไม่สำคัญอะไร
      อย่าได้พยายามให้ความหมายในธรรมเลย เพราะนั้นมันจะเกิดของคู่ขึ้นทันที่ หากมีคนอธิบายธรรมแล้วเราหาของคู่ที่มันตรงข้ามกับธรรมที่เขาอธิบายได้ นั้นก็ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่มรรคผลนิพพาน 
      ธรรมนั้นเป็นทางสายกลางไม่สุดโต่งในของคู่
      หากสงสัยในธรรมที่ข้าพเจ้าอธิบาย ขอให้นำธรรมที่ข้าพเจ้าอธิบาย ไปถามผู้รู้ (ผู้รู้ ที่รู้จริงๆ ไม่ใช่รู้ธรรมที่ใจ เอาใจเป็นใหญ่ เอาใจเป็นประธาน)  โดยเฉพาะผู้รู้ที่แสดงธรรมได้ถึงขั้นที่สามารถอธิบายการวนรอบของปฏิจจสมุปบาทได้ อริยะท่านนั้นจะเป็นพยานให้แก่ข้าพเจ้าเอง
                                     ขอจบแต่เพียงเท่านี้

" ท่านจะเชื่อหรือไม่ ก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรแก่เรา เพราะธรรมนั้นก็ได้แก่เราแล้ว "



" ท่านจะสงสัยหรือไม่สงสัยอะไรก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เรา เพราะธรรมนั้นก็ได้แก่เราแล้ว "
สำหรับผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว                              
          คงไม่ต้องกล่าวว่ายินดีหรืออะไรต่ออะไรด้วย เพราะท่านเองก็คงเห็นแล้วว่ามันไม่มีอะไรให้เอา และไม่มีใครจะเอาอะไรไปได้                             
        สำหรับผู้ที่มีจิตหลุดพ้นใหม่ๆ เมื่อจิตแยกออกจากใจแล้ว อย่าได้เอาจิตเข้าไปรวมกับใจอีก เพราะจะถูกมายาของใจหลอกหลอน ปรุงแต่งสิ่งต่างๆขึ้นมาได้ เช่นปรุงแต่งนรก สวรรค์ ฯลฯ
        สำหรับบางท่านเมื่อบรรลุธรรมแล้ว จะมีผู้คนมากมายมาขอเป็นศิษย์ อาจจะทำให้เราหลงไปได้ว่าเรานี้เป็นถึงครูอาจารย์ของเทพและพรหม ฯลฯ ขอให้ปฏิบัติตนไปตามสมมุติที่เรามี สมมุติทางโลกจะได้ไม่มีใครตำหนิเราได้ เพราะจะไปเพิ่มบาปให้แก่คนอื่นที่ตำหนิท่านได้ เพราะเขาไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร  อย่าได้ไปหลงในบารมีตรงนั้น ถ้าเขาถามก็ตอบไป ก็เท่านั้น อย่าได้ไปหลงว่าเราเป็นครูอาจารย์ของใครทั้งนั้น
        กล่าวขออภัยทุกท่านหากธรรมที่ได้อธิบายไปนั้นขัดแย้งกับคำสอนของครูอาจารย์ของท่าน ข้าพเจ้าต้องขออภัยไว้ในที่นี้ด้วย เพราะข้าพเจ้าอธิบายธรรมตามความเป็นจริง เมื่อความเป็นจริงเป็นเช่นนี้ จึงต้องกล่าวเช่นนี้ ธรรมนั้นหากเป็นของจริงใครเห็นก็เหมือนกัน สุดท้ายนี้ขอยกธรรมของอริยะเจ้ามาให้ทำความเข้าใจกันซักหนึ่งบท
                                        ธรรมะที่แท้จริงไม่มีธรรมะ   
                                        ไม่มีธรรมะนั้นแหละ คือธรรมะ
                                        ปัจจุบันถ่ายทอด ไม่มีธรรมะ
                                        แล้วธรรมะจะเป็นธรรมะ ไปได้อย่างไร
                                                                                        ขอธรรมจงมีแก่ท่าน
                                                                                            15  ส.ค. 45
"ขอกราบเท้าพระอาจารย์นับพันนับล้านครั้ง" 

ไม่มีความคิดเห็น: