วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร


...


โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
บันทึกธรรมโดย หลวงปู่หลุย จันทสาโร
พ.ศ. ๒๕๘๓ ณ วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
( จากหนังสือ " บูรพาจารย์ " โดยมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๔ )


@ ในโลกนี้เป็นธาตุทั้งนั้นให้รู้เท่าทันกับธาตุอย่าหลงตามธาตุ

@ ให้เห็นปัจจุบันธรรม อย่าส่งจิตอนาคตและอดีต

@ ธาตุ ๘๔,๐๐๐ ธาตุออกมาจากจิตหมด

@ นิโรธเป็นของดับเพราะรู้เท่าแล้ว จิตไม่เกิดยินดี ยินร้าย ดับไปเช่นนี้ ชื่อว่านิโรธแสดงฌานเป็นที่พักชั่วคราวแล้วเจริญต่อๆ ไป

@ ให้เอากาย วาจา ใจนี้ยกขึ้นพิจารณา อย่าเพิ่มอย่าเอาออก ให้เห็นเป็นปกติ

@ มรรค ๘ นั้น สมาธิมรรคเป็นองค์ ๑ นอกนั้นเป็นปริยาย

@ ให้รู้ธรรมะและอาการของธรรมถึงขั้นละเอียดแล้วก็จะรู้เองเห็นเอง
ถ้าส่งจิตใจต้องเด็ดเดี่ยวกล้าหาญที่สุดจึงจะรู้ธรรมเห็นธรรม

@ เกิดตาย เกิดแล้วตาย ชมแต่หนังของเก่า อย่าไปเอามา ให้รู้เฉพาะปรกติของจิตแสดงฐานของธรรมะเป็นบ่อเกิดอริยสัจของจริง

@ แสดงตนดูถูกท่านว่าท่านเป็นคนโกรธ เพราะผู้ฟังไม่เห็นตามความเป็นจริง
เพราะยุ่งแต่จิตของตัวเท่านั้น

@ เกิดความรู้อย่างพิเศษแล้วย่อมมหาอานิสงส์ประมาณไม่ได้

@ อัตฺตาหิ…. ฯลฯ เป็นของลึกลับเหลือที่สุด

@ ให้รู้ธาตุเห็นธาตุ จิตจึงไม่ติดทางราคะ

@ คนเราจะดีจะชั่วต้องเกิดวิบัติเสียก่อน

@ ท่านแสดงไม่อ้างสวรรค์ นิพพาน ไม่อ้างทุคติ อ้างความเป็นไปทางปัจจุบันอย่างเดียวเพราะชั่วดีก็ปัจจุบันที่ยังเป็นชาติมนุษย์
@ ความรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นอนันตนัย มากมายยิ่งกว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เป็นอุบายที่จะทรมานสัตว์

@ พ้นวิสัยของสาวกที่จะรู้ตามเห็นตามได้ สาวกกำหนดรู้แต่เพียง ๘๔,๐๐๐ เท่านั้นก็เป็นอัศจรรย์

@ ท่านกำชับว่าอย่าให้จิตเพ่งนอก ให้รู้ในตัวเห็นในตัว เมื่อรู้ในตัวแล้วรู้ทั่วไป เพราะตัวเป็นต้นเหตุ

@ ให้แก้ปัจจุบัน เมื่อแก้ปัจจุบันได้แล้ว ภพ ๓ นั้นหลุดหมดไม่ต้องส่งอดีต อนาคต ให้ลบอดีตภายนอกให้หมด จึงจะเข้าอารมณ์ภายในได้ เพ่งนอกเป็นตัวสมุทัย

@ เป็นทุกข์และเป็นตัวมิจฉาทิฐิ เพ่งในเป็นตัวสัมมาทิฐิ เพ่งในตัวเป็นสัมมาทิฐิ
เล่นนิมิตก็ได้ ยินดียินร้ายก็ได้ เรียกว่าคุ้มเงาตน เชื่อนิมิตเป็นบ้า


โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
ที่ให้ไว้แก่ศิษยานุศิษย์
บันทึกโดย หลวงปู่หลุย จันฺทสาโร จากสถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง


@ ธรรมะ ธัมโม เรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดความแปรปรวนของสังขารประกอบด้วยไตรลักษณ์

@ อย่าเชื่อหมอมากนัก ให้เชื่อธรรมมากจึงดี เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม

@ อรหันต์ก็เป็นคุณอนันต์ นับหาประมาณมิได้ พระอรหันต์ตรัสรู้ในตัว เห็นในตัวมีญาณแจ่มแจ้งดี ล้วนแต่เล่าเรียนธรรมชาตินั้นๆ

@ ธรรมะชี้เข้ากายกับจิตเป็นคัมภีร์เดิม

@ ภูเขาสูงที่กลิ้งมาบดสัตว์ให้เป็นจุณไปนั้นอายุ ๗๐ ปี แล้วไม่เคยเห็นภูเขา เห็นแต่ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ เท่านั้นแล ทิฐิมานะเป็นภูเขาสูงหาที่ประมาณมิได้

@ ธรรมะเป็นต้น เอโกมีอันเดียว แต่แสดงอาการโดยนัย ๘๔,๐๐๐ ธาตุ ๔ ธาตุ ๖ ธาตุ ๑๘ ให้เห็นด้วยจักษุด้วย ให้เห็นด้วยญาณ คือปัญญาด้วย นโม ดิน น้ำ บิดา มารดา ปั้นขึ้นมา

@ ๘๔,๐๐๐ เป็นอุบายที่ให้พระองค์ทรมานสัตว์ สัตว์ย่อมรู้แต่ ๘๔,๐๐๐ เท่านั้น จะรู้ยิ่งไปกว่านั้นเป็นไม่มี เว้นแต่นิสัยพุทธภูมิฯ รู้อนันตนัยหาประมาณมิได้ พ้นจากนิสัยของสาวก สาวกรู้แต่ ๘๔,๐๐๐ เท่านั้น จะรู้ยิ่งไปกว่านั้นมิได้

@ ให้รู้ นโม นะ น้ำ โม ดิน ( อิ อะ ) อิติปิโสฯ อรหํ เมื่อรุ้แล้วความรู้หาประมาณมิได้ อะ อิ สำคัญนัก เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์ฯ

@ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ นี้เองทำให้บุคคลเป็นพระอรหันต์

@ ญาณ ของพระพุทธเจ้า ท่านหมายเอา สกนธ์กาย เช่น นิมิตธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุดิน และอาการ ๓๒ เป็นนิมิต ท่านบอกว่ารู้เห็นเช่นนี้ บรรดาท่านเจ้าคุณที่หลายไม่คัดค้านเลยฯ

@ สัตว์เกิดในท้องมารดาทุกข์แสน กามเป็นของต่ำช้า เป็นของที่นำทุกข์เดือดร้อนฯ

@ โลกสันนิวาส มีความแปรปรวนตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แต่จิตของเรารักษาไว้ให้ดีอย่าให้ติด ถ้าไม่ติดก็ได้ชื่อว่าเป็นสุข ในตอนนี้ท่านแสดงทบไปทบมาเพื่อให้ศิษย์รู้

@ พิจารณาค้นกาย ตรวจกายถูกดีแล้ว ไม่เป็นปัญหาขึ้นมาได้ ถ้าไม่ถูก ย่อมเป็นปัญหาขึ้นมา

@ ค้นดูกายถึงหลัก และเห็นอริยสัจของจริงแล้ว เดินตามมรรคเห็นตัวสมุทัยเห็นทุกขสัจ

@ ต้องทำจิตให้เป็นเอก ต้องสงเคราะห์ธรรมให้เป็นเอกเสมอๆ

@ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ กาย วาจา ใจ เป็นมรรค เข้าไปดับทุกข์ ดับสมุทัย ดับนิโรธ นิโรธดับไม่เอา เอาที่ไม่ดับ คือดับนั้นยังเป็นตัวมรรค เอาสิ่งที่ไม่ดับ สิ่งที่ตั้งอยู่นั้นแหละเป็นตัวให้สิ้นทุกข์

@ ปฏิภาค นั้นอาศัยผู้ที่มีวาสนา จึงจะบังเกิดขึ้นได้ อุคหนิมิต นั้นเป็นของที่ไม่ถาวร พิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็น ปฏิภาคนิมิต ชำนาญทาง ปฏิภาค แล้วทวนเข้ามาเป็นตน ปฏิภาคนั้นเป็นส่วนวิปัสสนาฯ

@ ท่านพิจารณาร่างกระดูกได้ ๕๐๐ ชาติมาแล้ว ตั้งแต่เกิดเป็นเสนาบดีเมืองกุรุราชเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัย

@ เจริญทางจิตอย่างเดียว ตั้งแต่ อุปจารสมาธิ รู้วาระจิตของผู้อื่นได้ แก้นิวรณ์ได้แต่โมหะคุมจิต ถ้าเจริญวิปัสสนา ถึง อัปปนาสมาธิ ท่านอาจารย์บอกเช่นนั้น และบอกว่าทำความรู้ให้พอเสียก่อนจึงไม่หวั่นไหว

@ ให้รู้ที่จะแก้จิตของตน ให้รู้จักภพของตนที่จะไปเกิดฯ ท่านอาจารย์ได้พิจารณาวัฏฏะ ๕๐๐ ชาติ

@ ต้องผ่านความผิดมาเสียก่อนจึงปฏิบัติถูก ความผิดเป็นเหตุความถูกเป็นผลของความทั้งหลาย ต้องเดินมรรค ๘ ให้ถูกจึงจะแก้ได้ เดินตามสายหนทางของพระอริยเจ้า ใช้ตบะอย่างยิ่งคือ ความเพียร จึงจะสอนตนได้ โลกีย์ โลกุตระ ๒ อย่างประจำอยู่ในโลก ๓ ภพ

@ ปัญญามีสัมปยุตทุก ๆ ภูมิ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระเหล่านี้ล้วนแต่มีปัญญาประกอบ ควรที่เป็นเสียมก็เป็น ควรที่เป็นขวานก็เป็น ส่วนที่เฉย ๆ เรื่อย ๆ นั้น เช่น เหล็กเป็นแท่งกลม จะเอามาใช้อะไรก็ไม่ได้ นี้ฉันใด

@ จะบอกการดำเนิน วิปัสสนา และ สมถะ โดยเฉพาะนั้นมิได้ เพราะมันไปหน้าเดียว จริตของคนต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความฉลาดไหวพริบของใคร เพราะดำเนินจิตหลายแง่แล้วแต่ความสะดวก

@ อย่าให้จิตเพ่งนอก ให้รู้ในตัว เห็นในตัว เมื่อรู้ในตัวแล้วรู้ทั่วไป เพราะตัวเป็นต้นเหตุ

@ เทศน์เรื่องมงคลวิเสส ที่มนุษย์ เทวดามีความสงสัย มิได้แก้อัตถะแปลได้เหมือนพระพุทธองค์ มนุษย์เป็นสถานกลาง อะไรดีหรือชั่วก็ต้องกลั่นออกไปจากมนุษย์นี้ทั้งนั้น ทำให้เป็นดีก็มนุษย์ ทำให้ชั่วก็มนุษย์ จะเป็นปุถุชนก็มนุษย์ จะเป็นพระพุทธเจ้าก็มนุษย์

@ ท่านเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าตนทั้งนั้น สุกะ เป็นธาตุบูดเน่าเป็นธรรมชาติของเขา ร้ายแต่มนุษย์ จิตติดสุภะ ดื่มสุรา ท่านยกพระโพธิสัตว์ยกเป็นกษัตริย์ มีเมีย ๖ หมื่น บุตรราหุล ท่านก็ไม่เมา ไหนเรามีเมียตาเปียกคนเดียวติดกันจนตาย ธาตุเมาอันนี้เป็นธรรมชาติไม่ให้คนสิ้นสุดทุกข์ไปได้

@ บุคคลรักษาจิต ได้แล้วทั้งศีล แม่รักษาทางปัญญา ได้แล้วทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา ดุจข้าวสุกที่สำเร็จแล้ว เราจะตวงกิน ไม่ต้องไปกังวลทำนาเก็บเกี่ยว และข้าวเปลือก ข้าวสารเลย กินข้าวสุกแล้วก็เป็นพอนี้ ก็ฉันได้ เป็นสถานที่สำรวม

@ ภายนอกให้ละเอียดเสียก่อน แล้วภายในจึงละเอียด

@ ครั้งพุทธกาล บางองค์ติดทางสมาธิ ๕๐ ปี จึงสำเร็จก็มี

@ พระอานนท์ เป็นคลังแห่งพระธรรม อะไรท่านรู้หมด ทำเนิ่นช้า เพราะท่านติดพระสูตร พระอภิธรรม ไม่น้อมลงมาปฏิบัติ จึงสำเร็จช้าอายุ ๘๐ ปี หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน

@ พระอานนท์ทำความเพียรในกายวิปัสสนา กำหนดจิตโดยมิได้ละ จนขาตรงทีเดียว จึงได้ทอดกายด้วยสติ หัวยังไม่ทันถึงหมอนจิตก็เข้าสู่ภวังค์ ภวังค์หายไป เกิดความรู้ เญยธรรมทั้งหลายฯ

@ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร ล้วนแต่เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ โมคคัลลาน์สั่งสอนแม่ไม่ได้เลยทีเดียวฯ

@ เหตุปจฺจโย โหติ ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุฯ

@ อย่าเชื่ออภิญญาฯ ปฏิบัติเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นอาบัติทุกกฏ

@ ธรรมเป็นของเย็น พระกรรมฐานอยู่ที่ไหน สัตว์ป่าต้องอาศัยอยู่ หมูป่าเห็นคฤหัสถ์เป็นยักษ์เป็นมาร เบียดเบียนสัตว์ ยิงจนไม่มีเหลือ เสียภูวัว ท่านอาจารย์ทำอุโบสถ มันมาร้อง เมื่อฟังปาฏิโมกข์จบแล้วมันก็หายไป ท่านอาจารย์มั่นคุ้นเคยสัตว์เหล่านี้ ท่านรู้วาระจิตสัตว์เหล่านี้ เป็นมิตรสหายกันด้วยธรรมเครื่องเย็นใจ

@ สัตว์เดรัจฉาน เขาก็มีสัญญา ปัญญา นามธรรม รู้เหมือนกับมนุษย์ แต่เขาพูดไม่ได้

@ ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นนั้นอย่าย้าย มันเต็มแล้วมันย้ายเอง ท่านเตือนท่านมหาบัวฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้า ละกิเลสส่วนใดได้แล้วท่านไม่กลับมาละอีก เพราะมรรคประหารสิ้นไปแล้ว เดินหน้าแก้กิเลสใหม่เรื่อยไป จนละกิเลสรอบ ไม่เกิดอีก นี้ก็เป็นอัศจรรย์

@ ให้ร่างกายเป็นนิจนั้นดี อย่าให้มันหุ้ม

@ สถานที่เข็ดขวาง ท่านบบอกว่าเป็นพวกเปรต ต้องทำบุญให้ทานอุทิศถึง เขาก็ได้รับอนุโมทนา หายไปเกิด ณ ที่อื่นๆ

@ ท่านไม่ชอบฤทธิ์ ชอบภาวนาให้สิ้นกิเลส ฤทธิ์ทั้งหลายเกิดด้วยกำลังสมถะ ฌาณสมาบัติ ทั้งนั้น ใช้วิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีฤทธิ์สำเร็จอรหันต์
ฝึกหัดจิตดีแล้ว จิตเข้มแข็งมีอำนาจมาก ย่อมกระทำจิตสารพัดได้ทุกอย่าง เมื่อเห็นอำนาจของจิตแล้ว แลเห็นกายเป็นของอ่อนจิตบังคับกายได้ฯ

@ เขาโกรธเรา แต่เราอย่าตอบ ให้พิจารณาความบริสุทธิ์ละลาย แล้วยกธงชัยขึ้น และมีอะไรก็สงเคราะห์เขาผู้ประมาณ ไม่นานเขากลับคืนดี ไม่กลับคืนดีก็วิบัติถึงตายทีเดียว

@.ใครจะไปบังคับจิต นั้นไม่ได้เลย ต้องสอนจิตให้อยู่ด้วยอุบาย แม้คำสั่งสอนของพระองค์ ล้วนแต่เป็นนโยบายทั้งนั้น เหตุนั้นท่านจึงไม่ชี้อุบายตรง ๆ ลงไปทีเดียวจึงชักอื่นมาเปรียบเทียบฯ

@ นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว การภาวนาอย่าให้ทิ้งกายกับจิต นี้เป็นกรรมฐานเดิม แต่ให้จิตเด็ดเดี่ยวอย่างที่สุดจึงเป็นผู้ที่รู้ธรรมในธรรมฯ

@ ให้เป็นมหาสติ มหาปัญญา รอบกาย รอบจิต มรณะร้ายมาถึงแล้ว ต้องเข้าแย่งกันในช่องแคบ แม้โพธิสัตว์ชนะมาร ชนะในช่องแคบ

@ ปฏิภาคนิมิตเกิดเฉพาะผู้ทที่มีวาสนาอย่างเดียว การภาวนาอย่าให้ทิ้งกายกับจิต นี้เป็นกรรมฐานเดิม แต่ให้จิตเด็ดเดี่ยวอย่างที่สุดจึงเป็นผู้ที่รู้ธรรมในธรรมฯ

@ สนิมมันเกิดในเนื้อเหล็ก กิเลสมันเกิดในดวงจิต ต้องประหารจิตให้เป็นธรรม

@ ในโลกนี้เป็นอนัตตาหมด ไม่มีต้นไม้และภูเขา วิปัสสนาลบล้างหมด ไม่มีเชื้อโรคอยู่ในโลกชื่อว่า โลกุตระ

@ เรื่อง กัมมัฏฐาน ๕ ภาวนาให้มาก ในร่างกาย เห็นอสุภะเป็นยาปรมัตย์แก้จิตพระเณรที่บรรพชาอุปสมบท ล้วนแต่พระอุปัชฌายะให้กรรมฐาน ๕ มาทั้งนั้น เป็นหลักสำคัญที่กุลบุตรจะภาวนา รู้แจ้งในรูปธรรมเป็น สนฺทิฏฐิโก เห็นเอง เบื่อหน่ายรูปธรรม อรูปธรรม แลเห็นนามธรรมไปพร้อมกัน

@ การนอน การสงบเข้าฌาณ เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง สมถะ ต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วน วิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ เหนื่อยแล้วเข้าพักจิตพักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีกดังนี้ ฉะนั้นให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี จึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลายไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญา มีศีลทั้งอย่างหยาบอย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิตเจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ ๑๐ ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้ง สว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์ วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติเป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป เพราะพระอรหันต์บริสุทธิ์ กายเป็นชาตินิพพาน วาจา ใจ เป็นชาตินิพพาน นิพพานมี ๒ อย่าง นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ๑ นิพพานตายแล้ว ๑ พระอรหันต์ขึ้นรถขึ้นเรือไปนิพพานฉะนั้น

@ สุทโธทนะห้ามพระองค์ไม่ให้ไปบิณฑบาต กรุงกบิลพัสดุ์ เราไม่อด พระองค์ตอบว่าไปตามประเพณีพระพุทธเจ้า สุทโธทนะฟังโอวาทแล้วได้โสดาบัน

@ ปัญญากับสติให้รู้เท่าทันกัน พิจารณากาย จิต ความไม่เที่ยงของสังขารเป็นธรรมะสื่อให้เห็นเรื่อย ๆ ทำความรู้ในนั้น เห็นในนั้น ๆ

@ มหาสติเรียนกายจิตให้มาก ๆ ให้เห็นจริง ธรรมะจริง สมมุติ อย่าหลงรูป เสียง กลิ่น รส ของอันนี้เต็มโลกอยู่เช่นนั้นฯ

@ พระอานนท์ทรงไว้ซึ้งพระสัทธรรม ว่าเป็นของภายนอก ต่อหันเข้ามาปฏิบัติภายในจึงสำเร็จฯ

@ หนัง คนในโลกยินดีในหนังและเครื่องอุปโภคบริโภค หนังอันนี้ทำให้มนุษย์หลงยินดี พากันทุกข์กันมากฯ

@ ธรรมธาตุ สัตว์หลงธาตุ ชมธาตุ ยินดีธาตุ ยินร้ายธาตุ จึงได้ทำกรรรมไปต่างๆ ฯ

@ เรียนแบบตำราเป็นของที่ไม่แน่นอน สู้เรียนทางกายและจิตให้เป็นธรรมชาติไม่ได้ฉะนั้น ผู้เรียนกายวาจาจิตไม่ใคร่สึก ปฏิบัติแต่ธรรมที่รู้ยิ่งเห็นจริงฯ

@ ปัจจุบันให้รู้ทางจิตฯ

@ ปฏิภาคเป็นเรื่องของปัญญาฯ

@ ให้เรียนทางจิตทวนกระแส ตัดรากเหง้าเครื่องผูกดุจรื้อเครื่องฟัก

@ ปฏิภาคนิมิต เป็นปาฏิหาริย์ของจิต มีอำนาจทำให้เป็นอากาศสว่างเปล่าได้อันเป็นอัศจรรย์ใหญ่หลวงฯ

@ ผู้มีราคะ ย่อมเศร้าโศกเสียใจเพราะราคะฯ

@ ธรรมที่ลึกลับ ไม่ควรพูดให้คนอื่นรู้ เพราะคนอื่นไม่เห็นตามธรรมจะเสีย ต้องพูดต่อผู้ปฏิบัติเหมือนกัน

@ ให้ถือตามมีตามได้ หันหาธรรมชาติ อย่าก่อความกังวลนั้นดีมาก เมื่อปฏิบัติได้แล้วก็ไม่ดีใจ เสียใจ

@ มรรค โลกย์ เทวทูต ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ ให้โพธิสัตว์ออกบวชพระองค์บวชแล้ว ทำทุกรกิริยา ในวันที่ตรัสรู้ ปฐมยามราคะเกิดในดวงจิตของพระองค์ป่วนปั่น พระองค์ทวนกระแสว่า เราเห็นแล้วไม่ใช่หรือ ที่เราออกบวชเราจะไม่กลับแน่ ต่อนั้นทำจิตเข้าสู่ภวังค์ สงบ อยู่ในอัปปนาสมาธิ ต่อนั้นถึงเกิดปัญญาความรู้ขึ้นมา ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ ในมัชฌิมสมัย ต่อนั้นพระองค์ตรวจปฏิจจสมุปบาททวนไปทวนมาด้วยปัญญาอันยิ่ง จิตลงสู่ภวังค์ เกิดความรู้ขึ้นมาตรัสรู้ ดับอวิชชาตัณหา เป็นสยมภู พุทธปัจฉิมสมัยกาลครั้งนั้น

@ เพ่งนอกนั้นไม่สิ้นสงสัย เพราะยังหมายนอกหมายในอยู่ ตกอยู่ในกระแสของสมุทัย

@ ให้ระงับสังโยชน์ ที่ละเอียดสิงอยู่ในดวงจิตนั้นฯ

@ บริจาคทาน โลภนั้นคือปรารถนา เมื่อไดแล้วปรารถนาอยากได้มาก พระเวสสันดรท่านไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ท่านปรารถนาโพธิญาณ เป็นปรมัตถบารมี

@ มรรค ๘ ใครภาวนาเจริญดีแล้ว แก้โลกธรรม ๘ ประการ ฉะนั้นจิตท่านอรหันต์ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ มีไตรลักษณ์บังคับ แม้โลกีย์ทั้งหลาย มีไตรลักษณ์บังคับอยู่เสมอ ไตรลักษณ์บังคับไม่ได้นั้น มีโลกุตระเท่านั้น โลกุตระอันนี้อยู่เหนือไตรลักษณ์สถานที่เกษมบุคคลที่จะพ้นโลกโลกีย์ไปถึงโลกุตระ ต้องสร้างพระบารมีเป็นการใหญ่ บุคคล ๓ จำพวกคือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจก ๑ พระอรหันต์ ๑ พระพุทธเจ้าสร้างบารมี ๓ ชนิด ปัญญาบารมี ๔ อสงไขย แสนกำไรมหากัป ศรัทธาบารมี ๘ อสงไขย แสนกำไรมหากัป วิริยบารมี ๑๖ องไขย แสนดำไรมหากัป พระปัจเจกสร้างบารมี ๒ อสงไขย แสนกำไรมหากัป พระอรหันต์สร้างบารมี ๑ อสงไขย แสนกำไรมหากัป ดังนี้ สร้างพระบารมีมิใช่น้อยกว่าจะสำเร็จพระนิพพานได้ดังนี้ ชำนาญมากที่สุด ๑ อสงไขย เหลือที่จะนับนั้นประการหนึ่ง เอาสวรรค์ เอานรกเป็นเรือนอยู่สร้างพระบารมี พระนิพพานเป็นของที่แพงที่สุด ต้องสร้างบารมีแลกเปลี่ยนเอาจึงจะได้พระนิพพาน

@ ชิวิตและนิพพาน ธาตุขันธ์มิจิตสิงอยู่เรียกว่า ชีวิต เมื่อพิจารณาวางตามสภาพได้แล้ว จิตหดหาจิตเดิมเข้า รู้เห็นในปัจจุบันเจริญมหาสติรอบในสติ มหาปัญญารอบในปัญญาแล้วเห็นปกติ

@ อคฺคํ มนุสฺเสสุ ( มาจากประโยคเต็ม ซึ่งปรากฏในหนังสือ มุตโตทัย ว่า อคคํ ฐานํ มนุสเสสุ มคคํ สตตวิสทธิยา ) มนุษย์เลิศมนุษย์น้ำใจสูง มีทุกข์ มีสมุทัย มีมรรค มีนิโรธ ครบทุกอย่าง จึงสำเร็จนิพพานได้ พระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น บวชเป็นพระเป็นเณรไม่ได้เหมือนมนุษย์ มนุษย์เป็นธาตุพอ ดุจแม่ครัวแกงช่างเอร็ดอร่อย มันพอพริกพอเกลือ จึงให้สำเร็จมรรคผลได้ ไม่ขัดข้องด้วยประการใด ๆ ฉะนั้นมนุษย์ไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจ ปฏิบัติให้ได้สวรรค์ นิพพาน ได้ธาตุพอเป็นชนิดที่สูงสุด

@ นิพพาน นั้นคือจิตหดโดยเห็นธาตุ รู้แจ้งธาตุ จิตฐีติภูตํ รู้อยู่นั้นเป็นตัวนิพพานฯ

@ วิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้า ลึกลับสุขุมมาก ในยามที่ ๓ พระองค์ทำความรู้เท่าอย่างนั้น ยามที่ ๒ พระองค์ทำความรู้เท่านั้น นั้นยามที่ ๓ พระองค์ทำความรู้เท่าคือแก้อวิชชาและปฏิจจสมุปบาทในของจิตในช่องแคบมารแย่งไม่ได้ มีความรู้อันพิเศษขึ้นมาว่า พระองค์เป็นสยมภูความที่ท่านแก้อวิชชาเป็นของขั้นละเอียดยิ่งนัก บุคคลจะรู้เห็นตามนั้นน้อยที่สุด สุดอำนาจของจิต เมื่อกำหนดรู้ลงไปเป็นของว่างหมด ไม่ใช่ตัวตนสัตว์บุคคลเราเขา ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชาย ธาตุสุญโญ เป็นธาตุสูญ แล้วกำหนดจิต รู้จิต ตั้งอยู่ใน ฐีติธรรม

@ ธาตุกับจิตติดกัน จึงวนเวียนแก่ เจ็บ ตาย อยู่ทุกชาติหาที่สิ้นสุดมิได้ ธาตุเป็นของที่มีอยู่เช่นนั้นตั้งแต่ดั้งเดิมมา และแปรปรวนอยู่เช่นนั้น จิตของคนไม่ไปยึดไปถือ ก็เป็นจิตสิ้นทุกข์ได้ฯ

@ อายตนะภายในภายนอกแปรปรวนอยู่เป็นนิจ สว่างโร่ ทั้งภายนอกและภายในไม่ขาดระยะของ ทุกขํ อนิจจํ อนตตา ฟังเทศน์ธรรมชาติแสดงเรื่อย ๆ พระโยคาวจรฟังเทศน์ในตอนนี้ ฉลาดในตอนนี้ สิ้นกิเลสในตอนนี้ เป็น ปจฺจตฺตํ ความเพียร มรรคผล ถือสมถะพอ วิปัสสนาพอ มันผลักกิเลสมันเอง

@ บรรพชิตจะต้องปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน

@ พุทธองค์เกิดในป่าลุมพินีวัน ปลงสังขารในป่า ให้โอวาทปาติโมกข์ในป่า ตรัสรู้ในป่าเปลี่ยว นิพพานในป่าเปลี่ยว วิจัยธรรมในป่า ชนะมารในป่า ธรรมทั้งหลายล้วนแต่เกิดในป่า เป็นธรรมราคาสูง ธรรมโลกุตระเหนือโลกีย์

@ จิตตั้งจิตมิได้ ตั้งจิต ตั้งธาตุ จึงแสดงรู้เห็นด้วยกันได้ เพราะจิตมันเป็นนามธรรม

@ อย่าถอนทำความเพียร มันจะเคยตัว ให้ทำจนชิน ให้ได้เนื้อหรือคุ้นเคย จึงจะเห็นมรรคผลเห็นผล


@ ปัญจวัคคีย์นั้นทางปรมัตถ์ว่า หัว๑ แขน ๒ ขา ๒ เป็นห้า ภิกษุ แปลว่าคนต่อยกิเลส ปัญจวัคคีย์ก็เป็นภิกษุเหมือนกะเราฯ


@ วาจาของท่านเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีลาภ ยศ อามิสเจอวาจาของท่าน เทศน์จึงขลังดี พูดถูกธรรม ตรงไป ตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าบุคคลและอามิส


@ ท่านไม่ให้ศีลแก่โยมที่รู้ศีล อ้างว่าแม้พระภิกษุที่บวชนั้นก็ไม่ให้ศีล ๒๒๗ เลย ให้แต่เพียง ศีล ๑๐ ชั้นสามเณรเท่านั้น ต่อนั้นประกาศสงฆ์ตั้งสมมติให้กันเอง แล้วก็พากันรักษาพระปาฏิโมขก์ นี้ฉันใด เพียงศีล ๕ ให้เจตนารักษาแต่เฉพาะตนเอง เท่านั้นก็เป็นพอ


@ จิตนั้นเมา สุราไม่ได้เมา สุราไม่ติดคน คนติดสุราต่างหาก เมื่อคนดื่มไปแล้ว ทำให้เป็นบ้าไปต่าง ๆ ฯ


@ เรื่องของโลกย่อมมีการยุ่งอยู่เรื่อย ๆ มาตั้งแต่ไหน ๆ


@ วิธีละกิเลสฝังแน่นอยู่ในสันดานนั้น ตีลิ่มใหม่ใส่ลงไปลิ่มเก่ากระดอนออกนี้ฉันใด มรรค เข้าไปฟอกกิเลสเก่าออกมาแล้วจึงเห็นความบริสุทธิ์


@ จิตเสวยเวทนาอย่างละเอียดนั้น ให้ละลายเวทนาเข้าไปอีกเอามรรคเข้าไปฟอกแล้วทำความรู้อยู่แทนเวทนา จึงจะเห็นตน เห็นธรรม เห็นความบริสุทธิ์ฯ


@ สมณะ พราหมณ์ มีการเพ่งอยู่เป็นนิจ มันไม่รู้ไม่ฉลาดแล้ว จะไปอยู่ ณ ที่ไหนอาพาธก็หาย บุญก็ได้ด้วย พระองค์ตรัสให้พระสารีบุตรทำเช่นนั้น แท้ที่จริงพระสารีบุตรก็ทำชำนาญมาแล้ว แล้วทำอีก อาพาธก็หายฯ


@ ให้พิจารณาธาตุ เมื่อเห็นธาตุแปรปรวนอยู่เป็นนิจ เรียกว่า สัมมาทิฐิ เห็นชอบ


@ ภุมเทวดา อยากดื้อ ทดลองเสมอทีเดียว ไปอยู่ที่เข็ดขวางต้องระวัง ต้องตรวจจิตเสมอฯ

@ มนุษย์เป็นสัตว์เลิศ เป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนา ทวีปทั้ง ๓ ก็เป็นมนุษย์ เช่น อุดร กุรุทวีป แต่ไม่สมบูรณ์ พระองค์ไม่โปรดตั้งศาสนา เทวดาก็เหมือนกัน มนุษย์ที่มาเกิดในชมพูทวีปเป็นมนุษย์วิเศษ รับรัชทายาท

@ อารมณ์ภายนอกและภายใน เป็นของที่ตั้งอยู่เป็นธรรมดา แต่จิตเป็นของที่รับรู้ ฉะนั้นต้องทรมานทางจิตให้มาก ๆ แก้อวิชชา แก้อาสวะ แก้ทุกข์ แก้สมุทัย นิโรธ เกิดญาณตั้งอยู่เป็นอมตธรรมที่ไม่ตายฯ


@ แก้โทษคือแก้อาบัติ ให้แก้ปัจจุบันจิต อย่าส่งจิตอดีต อนาคต แล้วบอกจิตว่าไม่มีโทษ เมื่อท่านไปจำพรรษาอยู่เทือกเขาใหญ่ท่านเกิดอาบัติจนฉันอาหารเข้าไป ก็เป็นอันนั้นออกมา เพราะจิตวิบัติแล้ว ธาตุก็วิบัติด้วย ต่อนั้นแก้จิตได้แล้ว อาพาธ ๓ วัน หายเป็นปกติดี การอาบัติเช่น อาบัติอุกฤษฏ์ อย่าพึงล่วงง่าย ๆ เพราะมันเคยตัวฯ


@ อจินไตย เกิดความรู้ ความฉลาด นั้นหาประมาณมิได้ฯ


@ ปฏิบัติผิดนั้น ลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ไม่ได้ ประพฤติไปตามสังขาร ปฏิบัติถูกนั้น คือลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ได้


@ พวกสุทธาวาสทั้งหลาย คือ เจริญฌานและวิปัสสนาต่อไป จึงสำเร็จได้ในที่นั้น

@ ผู้ที่รู้ธรรมแล้ว เป็นผู้วิเศษ อานิสงส์หาประมาณมิได้
สกลกายอันเดียวนี้แหละเป็นตัวธรรม

@ ละกิเลสด้วยสติ สติฟอกอาสวะกิเลสเอง

@ ธรรมเป็นฐีติธรรม ตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แปรปรวนอยู่เช่นนั้น ให้รู้ให้เห็นเฉพาะที่เกิดกับจิต

@ คณาจารย์บางองค์แสดงอริยสัจ มีลาภ ยศ เจืออริยสัจ เป็นส่วนมาก

@ จิตเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ หมดจดทุกอย่าง มนุษย์ เทวดา ไม่มีที่ครหาเลย

@ บรรดานักปฏิบัติให้เฉลียวฉลาดรู้เท่าทันโจร เมื่อรู้เท่าทันโจรแล้ว โจรย่อมไม่มีโอกาสลักสิ่งองไปได้ แม้ฉันใด ปฏิบัติให้มีสติและปัญญารักษาตน กิเลสมิอาจเข้าถึงได้ฯ

@ ที่แผ่นดินย่อมเป็นฝุ่นผีทั้งสิ้น ให้จิตพิจารณาตกลงถึงฐานฯ จิตจึงไม่กังวลฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายฯ

@ มนุษย์ตาย จะเอาไปกินและเอาไปใช้ไม่ได้ ไม่เหมือนวัวควายวัวควายเนื้อกินได้

@ ในขณะที่มีชีวิตนั้นทำบุญดีมาก การทำศพถึงผู้ตายนั้นไม่ได้เป็นส่วนมาก แต่ทำตามประเพณีเท่านั้น พระอรหันต์นิพพาน ภูเขาถ้ำต่าง ๆ ใครทำศพให้ท่านเล่า---ท่านทำไมถึงนิพพาน

@ ใช้ไหวพริบเป็นอาชาไนยอยู่เนืองนิจฯ

@ ธรรมทั้งหลาย จิตประกอบกายยกขึ้นแสดง ปราศจากกายแล้วจะยกนามธรรมขึ้นแสดงไม่ได้เลย

@ เหตุเกิดก่อน ปัจจัยเกิดทีหลังฯ

@ จิตเป็นคนเรียกสมมุติเอง จิตเป็นเหตุที่กระสับกระส่าย จิตปกติดีแล้วก็เป็นอันได้รับความสุขฯ

@ ทำจิตให้สว่างโพลง กำหนดรู้ฐีติธรรม นั้นเรียกว่าปัญญาโดยแท้

@ ให้แก้อวิชชา แก้อนุสัยความไม่รู้ไม่ฉลาดนั้นให้กลับเป็นคนฉลาดฯ

@ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร พระองค์เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ ดุจดอกบัวย่อมเกิดในตมฉันใด

@ ต้องเจริญทุกข์ให้พอเสียก่อน ดับต้องอยู่ในที่นั้น ดุจตีลิ่มลงไป ลิ่มเก่าถอน ลิ่มใหม่เข้าแทน คือกิเลสออก ความบริสุทธิ์เข้าแทน ดุจของดีอยู่ในของชั่ว คืออวิชชาออกวิชชาเข้าแทนฯ

@ เดินมรรคให้เห็นทุกข์ ให้เดินมรรคเห็นสมุทัย ให้ยิ่งในมรรคให้ยิ่งมรรคนิโรธ จึงจะพ้นทุกข์ฯ

@ โลกียสัจจะคือโพธิสัตว์เห็นเทวทูต โลกุตรสัจจะคือโพธิสัตว์ตรัสรู้ฯ

@ ข้อเปรียบชั้นนิพพาน คือ นับ ๑ ไปถึง ๐ ๐ ( สูญ ) โลกเขาแปลว่าไม่มี แต่สูญมีอยู่นี้ฉันใด นิพพานเป็นของที่มีอยู่ฯ

@ ความรู้ความฉลาด มีอยู่ในสถานที่ไม่รู้

@ ธรรมทั้งหลายมาจากเหตุ คือจิตออกจากจิตเรียกเจตสิก ต่อนอกนั้นเป็นอาการทั้งหมด ดุจสันหรือหรือคมของดาบมาจากเหล็กฉะนั้นฯ

@ มีแต่จิต รูปไม่มี แสดงไม่ได้ ต้องอาศัยกันเป็นไปจึงแสดงได้ฯ

@ พระอรหันต์ทั้งหลาย จิตไม่มี มีแต่สติ เพราะจิตสังขารมันเป็นตัวสังขาร สังขารไม่มีในจิตของพระอรหันต์

@ เอกมูลา เหตุผลมาจากความที่เป็นหนึ่งของจิต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (เหตุ ปัจจโย ) ประกอบกัน จึงตั้งเป็นบทบาทคาถาฯ

@ มีนัยหลายนัย ถึงแปดหมื่นสี่พันประการฯ


@ มนุษย์วยเวียนเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด ติดของเก่ากามาวจรสวรรค์ ๑ สัตว์เดรัจฉาน ๑ มนุษย์ ๑ ท่านพวกนี้ติดของเก่า พระไตรปิฏก มีกิน ๑ มีนอน ๑ สืบพันธ์ ๑ แม้ปู่ย่าตายายของเราล้วนแต่ติดของเก่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เมื่อท่านยังไม่ตรัสรู้ก็ติดของเก่า เพลิดเพลินของเก่าในรูป เสียง กลิ่น รสของเก่าทั้งนี้ไม่มีฝั่งไม่มีแดน ไม้มีต้น ไม่มีสาย ย่อมปรากฏอยู่เช่นนั้น ตื่นนเต้นกับของเก่า ติดรสชาติของเก่า ใช้มรรค ๘ ให้ถอนของเก่า ให้อิทธิบาท ๔ ตีลิ่มสะเทือนใหญ่ปัง ๆ ลิ่มเก่าถอนคืออวิชชา ลิ่มใหม่คือวิชชาเข้าแทนดังนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านพูด ใช้ตบะความเพียรอย่างยิ่ง ที่จะถอนได้ต้องสร้างพระบารมีนมนาน จึงจะถอนได้ เพราะของเก่ามันบัดกรีกันได้เนื้อเชื้อสายของกิเลสมาพอแล้ว ย่อมเป็นอัศจรรย์ของโลกนนั้นทีเดียว


@ แก้บ้านั้น ให้ทวนกระแสเข้าจิตเดิม แก้ได้ เสือมาเฝ้าเราที่เป็นพระโยคาวจรเจ้าเป็นเทพโดยมาก ถ้าเป็นเสือ มันเอาไปกินแล้ว

@ ธรรมแสดงอยู่เรื่อย ๆ เว้นแต่นอนหลับโดยมิได้กำหนดจะไม้รู้ไม่เห็นขณะนั้น

@ ส่งจิตออกนอกกาย ทำให้เผลอสติฯ

@ มัคโคหนทางดำเนินมีที่สุด ส่วนหนทางเดินเท้าไม่มีที่สิ้นสุดฯ

@ น้ำใจของสัตว์ยุ่งด้วยธาตุ ระคนอยู่ด้วยธาตุ ธาตุไม่มีที่สิ้นสุด แม้จิตก็ไม่มีสิ้นสุดฯ

@ จิตรับธุระหมดทุกอย่าง จิตเป็นแดนเกิด รู้เท่าอาการของจิตได้แล้ว รู้ปกติของธาตุฯ

@ เอโก มคฺโค หนทางอันเอก วิสุทธิยา เป็นหนทางอันบริสุทธิ์มีทางเดียวเท่านี้ มโน ปุพฺพํ จิตเป็นบุพภาคที่จะได้เป็นใหญ่ จิตถึงก่อนสำเร็จด้วยจิตฯ ( มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนมยา)

@ จิตเป็นเครื่องบังคับกายกับวาจาให้พูดและให้ทำงานฯ

@ จิตที่ไม่ติดพัวพันในอารมณ์ทั้งปวง เรียกว่า บริสุทธิ์

@ มีแป้น ( ไม่กระดาน ) แล้วก็มีบ้าน มีบ้านแล้วก็มีแป้น พูดอย่างนี้จึงแจ่มแจ้งดี

@ พระองค์แสดงอนุปุพพิกถาไปโดยลำดับ ยกทานขึ้นก่อนดุจบันไดขึ้นต้น แม้ฉันใด โลกุตระ โลกีย์ก็ดี ก็ต้องเจริญต้นขึ้นไปก่อน ไม่เจริญขึ้นต้นไปก่อนเป็นผิด จะกระโดดขึ้นสูงทีเดียวไม่ได้ตายกัน


@ ธรรมเป็นของธรรมดาตั้งอยู่อย่างนั้น คือตั้งอยู่ด้วยความแก่ ความเจ็บ ความตาย จึงได้ชื่อว่าธรรมเป็นของจริง ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา ไม่มีขึ้น ไม่มีลง เป็นสภาพที่ตั้งไว้ดุจกล่าวไว้ ข้างต้นฯ


@ ไม่อ้างสวรรค์ นิพพาน ไม่อ้างทุคติ อ้างความเป็นไปทางปัจจุบันอย่างเดียว เพราะชั่วดีก็ปัจจุบันที่ยังเป็นชาติมนุษย์
เอาธรรมชิ้นเดียวนี้เอง คือกายนี้เองไปเจ็บ กายชิ้นเดียวนี้เองไปแก่ กายชิ้นเดียวนี้เองไปตาย เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดอีก ล้วนแต่ตื่นเต้นอยู่ด้วยธาตุอันนี้เอง หาที่จะจบไม่ได้และสิ้นสุดมิได้ฯ

@ เรื่องของโลกธาตุนั้น กระทบกระเทือนกันหมด กำหนดรู้ เฉพาะจิต ก็รู้สิ้นทางอื่นหมด

@ พระธรรมแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน อกาลิโก กำหนดกาลเวลามิได้ แสดงทั้งภายนอกและภายใน

@ ให้กำหนดจิตให้กล้าแข็ง เรียนมรรคให้แข็งแรง จึงจะเห็นทางสิ้นทุกข์ไปได้

@ ให้ปล่อยจิต อย่ากดจิต เหตุผลเคลื่อนคลื่นอยู่ใน ให้พิจารณาความรักความชัง พิจารณานิสัยของ

ตน จิตดื้อ บริษัทมากพึ่งนิสัยเดิมมิได้ ตะครุบจิตจึงมีกำลัง

@ คนในโลก หลงของเก่า คือหลวงธาตุนั้นเองแหละ ชังแล้วมารัก รักแล้วมาชัง หาที่สิ้นสุดมิได้ พระองค์ไม่หลง

@ ธาตุมนุษย์เป็นธาตุตายตัว ไม่เป็นอื่นเหมือนนาค เทวดาทั้งหลายที่เปลี่ยนเป็นอื่นได้ มนุษย์มีนิสัยภาวนาให้สำเร็จง่ายกว่าภพอื่น อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคคํ สตตวิสุทธิยา มนุษย์มีปัญญาเฉียบแหลมคมคอยประดิษฐ์ กุศล อกุศล สำเร็จอกุศลมหาอเวจีเป็นที่สุด ด้วยกุศลมีพระนิพพานให้สำเร็จได้ ภพอื่นไม่เลิศเหมือนมนุษย์ เพราะมีธาตุที่บกพร่องไม่เฉียบขาดเหมือนชาติมนุษย์ ไม่มีปัญญากว้างขวางพิสดารเหมือนมนุษย์ มนุษย์ธาตุพอหยุดทุกอย่าง สวรรค์ไม่พออบายภูมิธาตุไม่พอ มนุษย์มีทุกข์ สมุทัยฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีกุศลมรรคแปด นิโรธ รวมเป็น ๔ อย่าง มนุษย์จึงทำอะไรสำเร็จ ดังนี้ ไม่อาภัพเหมือนภพอื่น


@ สติปัฏฐานเป็นความรู้อนันตนัย หาประมาณมิได้ ไม่เหมือนความรู้ชนิดอื่น สนทิฏฐิโก เห็นด้วยเฉพาะนักปฏิบัติ ปจจตตํ รู้เฉพาะในดวงจิต รู้ธรรมลึกลับสุขุมคัมภีรภาพ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


ได้ใจแล้ว คือ ได้ธรรม
เห็นใจแล้ว คือ เห็นธรรม
รู้ใจแล้ว คือ รู้ธรรมทั้งมวล
ถึงใจตนแล้ว คือ ถึงพระนิพพาน


คติธรรมจากหลวงปู่

การรักษาศีลธรรม โดยไม่มีใจเป็นตัวประธาน ผลก็คือ
ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา และ ไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่น
ศีล คือ รั้วกั้นความเบียดเบียน ร่างกาย และจิตใจ ของกันและกัน
ศีล คือ พืชแห่งความดีงามอันยอดเยี่ยม
ร่างกายกับจิตใจ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
เมื่อจิตใจไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะแยกกันไม่ได้
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ต้องอิงอาศัยกันอยู่ฉันใดก็ดี . . . ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็อาศัยกันอยู่อย่างนั้น
สัทธรรมสามอย่างนี้ จะแยกกันไม่ได้เลย
ดีใด ไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่า ดีเลิศ
ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลกนั้น การบำรุงรักษาตน คือใจเป็นเยี่ยม
จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี
ใจนี้คือ สมบัติอันล้ำค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป
คนพลาดใจคือ คนไม่สนใจปฏิบัติต่อดวงใจดวงวิเศษในร่างนี้
แม้จะเกิดสักร้อยชาติ พันชาติ ก็คือ ผู้เกิดพลาดอยู่นั่นเอง

พัฒนาตน
คนเราทุกคน . . . . .ใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ
ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ - ความฉลาดเท่านั้น
ที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุข ทั้งกายและใจโดยถูกทาง
ตลอดจนให้ผู้อื่นได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วย
นั่นไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตด้วย
จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง
โดยไม่เลือกเพศ - วัย - ชาติ - ชั้นวรรณะ อะไรเลย

ปล่อยวาง
สิ่งที่ล่วงไปแล้ว . . . ไม่ควรทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้กระทำความผูกพันและหมายมั่นให้สิ่งนั้น
กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยความไม่สมหวังตลอดไป . . .
อนาคต ที่ยังมาไม่ถึงนั้น เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน
อดีต . . . ปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคต . . . ปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย

การรักษาศีล
ศีลนั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่าผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลง
กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่กี่กาลก็ได้ผลไม่กี่กาล ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจ กล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้มีศีลจักมั่งคั่ง ไม่อด ไม่อยาก ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวร หมดภัย

หลวงปู่ตอบคำถามเรื่องการรักษาศีล และอะไรคือศีลอย่างแท้จริง
ศีลที่แท้จริง คือความคิดในแง่ต่างๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปตามขอบเขตของศีลธรรม ที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมาชื่อว่า มีสภาพปกติไม่คะนองกายวาจาใจ ให้เป็นกิริยาน่าเกลียด นอกจากความปกติดีงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็ยากจะเรียกให้ถูกได้ว่าอะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่างที่พอแยกกันออกได้ไม่ยากนักว่า นั่นคือตัวบ้านเรือน และนั่นคือเจ้าของบ้าน ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบาก เฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้ แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกกันไม่ออก ถ้าแยกออกได้ศีลก็อาจกลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตามตลาดไปนานแล้ว และอาจมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่นๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอาที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาแล้วก็ไม่ปลอดภัย ดังนั้นความไม่รู้ "อะไรเป็นศีลธรรมแท้" จึงเป็นอุบายวิธีหลีกภัยอันเกิดแก่ผู้มีศีลได้อย่างหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยยาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกสบาย ไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใดไม่ต้องเป็นห่วงว่าศีลจะหาย ตัวจะตายจากศีล กลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีลเช่นเดียวกับคนที่เป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ไม่มีวันไปผุดไปเกิดได้

วาสนา
วาสนานั้นเป็นไปตามอัธยาศัย คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นเหมือนคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต(ผู้มีปัญญาและประพฤติดี) วาสนาก็เลื่อนขั้นขึ้นเป็นบัณฑิต ฉะนั้นบุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิตเพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น

การบำรุงรักษาตน คือใจเป็นเยี่ยมในโลก (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจตนแล้วคือเห็นธรรม

รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจตนแล้วคือถึงพระนิพพาน ใจนี้คือสมบัติอันล้ำค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป คนพลาดใจคือไม่สนใจปฏิบัติต่อใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติก็คือผู้เกิดผิดพลาดอยู่นั่นเอง ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ

: หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต

การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง

ธรรมคำสอน...หลวงปู่มั่น

อย่าสำคัญว่าตนเอง เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง จนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร

เมื่อมีผู้เตือนสติ ควรยึดมาเป็นธรรมคำสอน จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ทำตามความอยาก เมื่อพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้จะประสบผลคือความสุขในปัจจุบันทันตา แม้จะมิได้เป็นเจ้าของเงินล้าน แต่มีทางได้รับความสุขจากสมบัติและความประพฤติดีของตน

การบำรุงรักษาสิ่งใด ๆ ในโลก...
การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยื่ยม
จุดที่เยี่ยมยอดของโลก คือ ใจ
ควรบำรุงรักษาด้วยดี
ได้ใจแล้ว คือ ได้ธรรม
เห็นใจแล้ว คือ เห็นธรรม
รู้ใจแล้ว คือ รู้ธรรมทั้งมวล
ถึงใจตน แล้วคือ ถึงพระนิพพาน

ใจนี้ คือ สมบัติอันล้ำค่า
จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป
คนพลาดใจ คือ คนไม่สนใจปฏิบัติต่อดวงใจดวงวิเศษในร่างนี้
แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ ก็คือผู้เกิดพลาดอยู่นั่นเอง


*******


ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะแยกกันไม่ได้
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ต้องอิงอาศัยกันอยู่ฉันใดก็ดี
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็อาศัยกันอยู่อย่างนั้น
สัทธรรมสามอย่างนี้ จะแยกกันไม่ได้เลย

*******
ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ ตนว่าเสวย เป็นอันผิดทั้งนั้น
*******

ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก

ธรรมคำสอน...หลวงปู่มั่น 

ไม่มีความคิดเห็น: